ปัญหาที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญ
ปัญหาที่ผู้สูงวัยถึง 1 ใน 3 ต้องเผชิญ คือ ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ทำให้ความแข็งแรงและมวลของกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้แขน-ขาลีบ ยืนทรงตัวไม่ดี ลุกนั่งลำบาก หกล้มบ่อยเสี่ยงต่อการพลัดตกหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น [1]
เพราะเมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากกว่าการสร้างกล้ามเนื้อ จึงทำให้กล้ามเนื้อในร่างกายลดลงไปเรื่อย ๆ แม้ว่าโดยปกติแล้วมวลกล้ามเนื้อจะมีการสร้างและสลายตลอดเวลา แต่เมื่อเรามีอายุ 40 ปีขึ้นไป ร่างกายจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อประมาณ 8% ในทุกๆ 10 ปี และเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงมากถึง 15% ในทุก ๆ 10 ปี มีผลทำให้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40-80 ปี มวลกล้ามเนื้อของเราจะลดลงถึง 1 ใน 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้ออกกำลังกาย หรือมีการเจ็บป่วยต่าง ๆ ร่วมด้วยก็จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อได้เร็วมากขึ้น
ดังนั้น การดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรจะละเลยได้อีกต่อไป ! มาทำความรู้จักกับ HMB สารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ ทำให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรง
HMB คืออะไร ?
HMB (เอชเอ็มบี) คือ สารที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ [2] โดยสาร HMB นั้นย่อมาจาก beta-hydroxy-beta-methylbutyrate (เบต้า-ไฮดรอกซี เบต้า-เมทิลบูทิเรท) เป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติในปริมาณเล็กน้อยจากกระบวนการสังเคราะห์กรดอะมิโนลิวซีนในกล้ามเนื้อ* ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่เราจะได้รับจากการรับประทานอาหารจำพวกไข่ไก่ อกไก่ อะโวคาโด กะหล่ำดอกปรุงสุก ฯลฯ [3]
อย่างไรก็ตาม ร่างกายคนเราก็ผลิตสาร HMB ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังไม่มากพอที่จะช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อได้ (ต้องได้รับอย่างน้อย 1.5 กรัม) ประกอบกับเมื่อมีอายุมากขึ้น ความเครียด หรือเมื่ออาการเจ็บป่วย ก็อาจทำให้ปริมาณ HMB ในร่างกายลดลงด้วย ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดการเร่งสลายตัวของมวลกล้ามเนื้อสูงขึ้นและสมดุลของกล้ามเนื้อเสียไปนั่นเอง ในขณะที่ HMB และโปรตีนคุณภาพดีหลายชนิดจะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้
แต่เดิม HMB ถูกพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยการศึกษาในนักกีฬาแสดงให้เห็นผลในเชิงบวกของ HMB ต่อการเสริมสร้างการฟื้นตัว การเพิ่มของมวลน้ำหนักตัวที่ไม่รวมไขมัน (Lean Body Mass) และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ [4] ด้วยเหตุนี้ HMB จึงถูกนำมาพัฒนาและใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง [5] เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรครบถ้วนที่มีส่วนประกอบสำคัญของสาร HMB
ร่างกายคนเราสามารถผลิต HMB ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเมื่ออายุมากขึ้นปริมาณ HMB ในร่างกายก็ยิ่งลดลง การบริโภคอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB และโปรตีนคุณภาพดีที่หลากหลายเป็นส่วนประกอบ จะช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อได้
หมายเหตุ : ลิวซีน (Leucine)* เป็นกรดอะมิโนจำเป็นในกลุ่ม Branched Chain Amino Acids (BCAAs) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และส่วนใหญ่จะได้จากอาหารจำพวกโปรตีน
ประโยชน์ของ HMB ตามงานวิจัย
จากการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้ HMB อาจเกี่ยวข้องกับประโยชน์หลายอย่าง โดยผลการศึกษาทางด้านโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้สูงอายุ (SHIELD) [6] ที่ได้ทำการวิจัยด้านโภชนาการในผู้สูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป) จำนวน 1,211 คน โดยทำการศึกษาเป็นระยะเวลา 6 เดือน และแบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสาร HMB และกลุ่มควบคุม ผลการศึกษาพบว่า
- มีผลชี้วัดสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ปกติสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3.8 เท่า
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น อย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
- เส้นรอบวงน่องมากขึ้น อย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
- แรงบีบมือสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
- มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่ำกว่า อย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
สอดคล้องกับการงานวิจัยและการศึกษาอื่น ๆ ที่พบว่าสาร HMB สามารถช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของกล้ามเนื้อได้ ดังนี้
- ช่วยชะลอและป้องกันการเสื่อมสลายของมวลกล้ามเนื้อ โดยมีการศึกษาที่เกี่ยวข้องดังนี้
- การวิเคราะห์การศึกษา 15 ชิ้น ที่ทำการศึกษาผลของการใช้ HMB ในผู้เข้าร่วม 2,137 ราย ที่มีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะทุพโภชนาการ พบว่าการใช้วันละ HMB 3-4 กรัม ในช่วง 7 วัน ถึง 6 เดือน HMB มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเสื่อมสลายของมวลกล้ามเนื้อได้มากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ [7]
- การทบทวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) 9 เรื่อง ในผู้เข้าร่วมที่ได้รับ HMB วันละ 1-3 กรัม พบว่า ความเสียหายของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมากและการฟื้นตัวดีขึ้น [8]
- ช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ และรักษาความแข็งแรงและการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยมีการศึกษาที่เกี่ยวข้องดังนี้
- การศึกษาในผู้สูงอายุที่ได้รับ HMB ร่วมกับการฝึกความต้านของกล้ามเนื้อ พบว่าการเติบโตของมวลกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกความต้านของกล้ามเนื้ออย่างเดียว [13]
- การศึกษาในผู้สูงอายุพบว่า HMB สามารถช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อไม่รวมไขมัน (Lean Body Mass) และรักษาความแข็งแรงและการทำงานของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุที่มีภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ได้ [14]
- การทบทวนการศึกษา 7 เรื่องในผู้สูงอายุจำนวน 287 ราย ที่ได้รับ HMB วันละ 2-3 กรัม เป็นเวลา 8-12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ HMB มีมวลกล้ามเนื้อเฉลี่ย 0.355 กิโลกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นและมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก [15]
- การศึกษาในผู้สูงอายุที่รับประทาน HMB ร่วมกับวิตามินดี (Vitamin D) อาจช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ แม้จะไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำก็ตาม [12]
- ช่วยลดไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะเมื่อมีการออกกำลังกายร่วมด้วยจะส่งผลให้มวลไขมัน (Fat mass) ลดลงมากขึ้น [2] สอดคล้องกับ
- การศึกษาในนักกีฬาชาย 39 ราย และหญิง 36 ราย เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ HMB มีปริมาณไขมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่ม HMB ลดลง 1.1%, กลุ่มควบคุมลดลง 0.5%) [11]
- การรับประทาน HMB วันละ 3 กรัม สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) และคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และความดันโลหิตช่วงบนได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม [10]
โดยรวมแล้ว HMB สามารถช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของมวลกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หากทานควบคู่กับโปรตีนคุณภาพดีจะยิ่งส่งเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย และอาจช่วยลดไขมันในร่างกายได้
HMB เหมาะกับใคร ?
- ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เพราะอายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณ HMB ในร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายเกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและมีการเร่งสลายตัวของมวลกล้ามเนื้อสูงขึ้น
- ผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหาร หรือเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนน้อย
- ผู้ที่เจ็บป่วย รวมถึงผู้ป่วยในระยะพักฟื้นหรือผู้ที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน เพราะอาการเจ็บป่วยเป็นหนึ่งในตัวเร่งที่ทำให้เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อเร็วขึ้น
ปริมาณ HMB ที่แนะนำ
HMB เป็นสารที่มีความปลอดภัยและเป็นที่ยอมรับ โดยอาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยเกิดขึ้นได้หรือแทบไม่มีเลย [9] จากงานวิจัยพบว่าการใช้ HMB ในปริมาณวันละ 1.5-3 กรัม คือขนาดที่แนะนำและมีประสิทธิภาพดี
อย่างไรก็ตาม การจะได้รับลิวซีนจากอาหารปกติเพื่อให้ร่างกายสังเคราะห์เป็น HMB ขนาด 1.5 กรัมนั้น เราจะต้องรับประทานอาหารที่ให้ลิวซีนในปริมาณมากถึง 30 กรัม ซึ่งถ้าเทียบกับอาหารที่ให้ปริมาณลิวซีนสูงสุดเหล่านี้ [3] เราจะต้องทานให้ได้ในปริมาณที่ระบุไว้ด้านล่างเพื่อให้ได้ HMB ปริมาณ 1.5 กรัม
- ไข่ไก่ 50 ฟอง
- อกไก่ 7 ชิ้น
- อะโวคาโด 3,000 ลูก
- กะหล่ำดอกปรุงสุก 3,500 ถ้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะได้รับ HMB อย่างเพียงพอจากอาหารปกติ จึงแนะนำให้รับประทาน HMB ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างอาหารสูตรครบถ้วนจะเหมาะสมและมีความสะดวกมากกว่า โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร HMB ก็มีหลายรูปแบบ เช่น แบบผง หรือนมพร้อมดื่ม หรือแบบเม็ด/แคปซูล สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้าเพื่อสุขภาพและทางออนไลน์ โดยควรเลือกจากยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญเพื่อความปลอดภัยและให้ได้ปริมาณสารออกฤทธิ์ที่เพียงพอและตรงกับที่ระบุไว้ในฉลาก
สรุปเรื่อง HMB
HMB เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูงที่ช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ ดังนั้น HMB จึงมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (ที่ปกติจะมวลกล้ามเนื้อจะน้อยลงไปตามอายุ) เพราะช่วยทำให้ยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ และใช้ชีวิตได้ตามปกติ
- รู้จัก HMB เพิ่มเติมได้ที่ FB : Abbott Nutrition Care
- เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB คลิก https://bit.ly/3yH543Z
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยอ้างอิง
- Springer Link. “Socioeconomic Disadvantage is Associated with Probable Sarcopenia in Community-Dwelling Older Adults: Findings from the English Longitudinal Study of Ageing“. https://link.springer.com/article/10.14283/jfa.2022.32
- NIH. “International Society of Sports Nutrition Position Stand: beta-hydroxy-beta-methylbutyrate (HMB)“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23374455/
- MY FOOD DATA. “Top 10 Foods Highest in Leucine“. https://www.myfooddata.com/articles/high-leucine-foods.php
- NIH. “A double-blind placebo controlled trial into the impacts of HMB supplementation and exercise on free-living muscle protein synthesis, muscle mass and function, in older adults“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30360984/
- NIH. “Beta-hydroxy-beta-methylbutyrate supplementation in health and disease: a systematic review of randomized trials“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24057808/
- NIH. “Impact of specialized oral nutritional supplement on clinical, nutritional, and functional outcomes: A randomized, placebo-controlled trial in community-dwelling older adults at risk of malnutrition“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33268143/
- The American Journal of CLINICAL NUTRITION. “β-Hydroxy-β-methylbutyrate and its impact on skeletal muscle mass and physical function in clinical practice: a systematic review and meta-analysis“. https://academic.oup.com/ajcn/article/109/4/1119/5455602
- NIH. “β-hydroxy-β-methylbutyrate free acid supplementation may improve recovery and muscle adaptations after resistance training: a systematic review“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29037326/
- NIH. “Supplementation with a combination of beta-hydroxy-beta-methylbutyrate (HMB), arginine, and glutamine is safe and could improve hematological parameters“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15080599/
- NIH. “beta-hydroxy-beta-methylbutyrate (HMB) supplementation in humans is safe and may decrease cardiovascular risk factors“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10917905/
- NIH. “Nutritional supplementation of the leucine metabolite beta-hydroxy-beta-methylbutyrate (hmb) during resistance training“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10978853/
- NIH. “Effect of Calcium β-Hydroxy-β-Methylbutyrate (CaHMB), Vitamin D, and Protein Supplementation on Postoperative Immobilization in Malnourished Older Adult Patients With Hip Fracture: A Randomized Controlled Study“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26965178/
- NIH. “Effect of leucine metabolite beta-hydroxy-beta-methylbutyrate on muscle metabolism during resistance-exercise training“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8941534/
- NIH. “A double-blind placebo controlled trial into the impacts of HMB supplementation and exercise on free-living muscle protein synthesis, muscle mass and function, in older adults“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30360984/
- NIH. “Effect of beta-hydroxy-beta-methylbutyrate supplementation on muscle loss in older adults: a systematic review and meta-analysis“. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26169182/
ตรวจสอบทางการแพทย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 08 ก.ค. 2022