แสงสีฟ้าคืออะไร
แสงสีฟ้า หรือ Blue Light มีชื่อทางการเต็ม ๆ ว่า High Energy Visible Light (เรียกย่อ ๆ ว่า HEV หรือ HEVIS Light) คือ แสงพลังงานสูงที่ผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาวที่มนุษย์มองเห็น โดยแสงสีขาวนั้นแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ซึ่งแสงสีฟ้าจะผสมอยู่ในช่วงครามกับน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 400-500 นาโนเมตร
โดยแสงสีฟ้านั้นมีอยู่รอบตัวเราและส่งผลต่อผิวพรรณของเราได้อย่างคาดไม่ถึง เพราะเป็นแสงที่สามารถพบได้ทั้งในแสงแดด (เช่นเดียวกับรังสี UVA และ UVB) จากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ จากจอโทรศัพท์ จอคอมพิวเตอร์ จอทีวี หรือจากจอแอลอีดี ดังนั้นหากใครคิดว่าการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งเล่นโทรศัพท์ อยู่ในบ้านหรือในออฟฟิศ หรือใช้ครีมกันแดดอยู่เป็นประจำอย่างครีมกันแดดทั่วไปที่ไม่มีคุณสมบัติป้องกัน HEVIS Light แล้วจะปลอดภัยจากแสงสีฟ้าได้คงต้องคิดทบทวนใหม่แล้วล่ะค่ะ
หมายเหตุ : ในแสงอาทิตย์ที่ส่องมานั้นจะประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet : UV) ประมาณ 5% ซึ่งแบ่งเป็นรังสี UVA และ UVB, รังสีที่มองเห็น (Visible light) 50% และรังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรด (Infrared) อีก 45%
ผลกระทบจากรังสี UV และ HEVIS
- ทำให้เกิดอนุมูลอิสระบนผิวที่กระตุ้นการสร้าง Enzyme ทำลายคอลลาเจน (Collagen) และอีลาสติน (Elastin) ในชั้นผิว ทำให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้ง่าย เกิดความหย่อนคล้อย ผิวขาดความชุ่มชื้น และเกิดผิวแก่กว่าวัย (Photo-aging) ตามมา
- จากการศึกษาของทีมวิจัยพบว่า ในเวลากลางคืนแสงสีฟ้าจะรบกวนวงจรนาฬิกาของร่างกายทำให้ผิวทำงานผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็น แล้วส่งผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูตามธรรมชาติของผิว ทำให้ผิวดูแก่กว่าวัยในที่สุด เนื่องจากแสงสีฟ้าเป็นตัวการทำให้เกิดการรับรู้ที่ผิดไปว่าขณะนั้นเป็นเวลากลางวัน
- กระตุ้นให้เกิดฝ้า กระ ฝ้าแดดฝังลึก จุดด่างดำ ผิวหมองคล้ำ ได้เช่นเดียวกับรังสี UVA และ UVB
- การศึกษาในปี 2014 ก็พบว่าแสงสีฟ้าเป็นตัวกระตุ้นให้ผิวอักเสบและนำไปสู่การเกิดจุดด่างดำ
- ทำให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอลง เกิดสีผิวไม่สม่ำเสมอ (การศึกษาในปี 2008 ของนักวิจัยญี่ปุ่นในหนูทดลองพบว่า แสงสีฟ้าไปขัดขวางการฟื้นตัวของปราการผิว)
- รบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่ช่วยให้นอนหลับ ทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิทและส่งผลเสียทางอ้อมซ้ำเติมผิวเราได้
สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าในผู้ที่ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำ ไม่ค่อยออกแดด แต่ผิวหน้ากลับแก่กว่าวัย ฝ้ากระไม่จางลงหรือเข้มมากขึ้น หรือมีจุดด่างดำหมองคล้ำ นั่นเป็นเพราะ HEVIS Light นั้นเป็นแสงที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณ ไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ หน้าจอโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์
“แสงแดดคือศัตรูตัวฉกาจเมื่อเราอยู่กลางแจ้ง แต่จริง ๆ แล้วแสงแดดที่มีทั้งรังสี UV และ HEVIS สามารถตามมาทำร้ายผิวเราได้แม้ตอนอยู่ในร่ม อีกทั้งไล์สไตล์ที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น เราก็ต้องเริ่มระวังเรื่องแสงจากหน้าจอต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวด้วย”
หมายเหตุ : นอกจากแสงสีฟ้าจะเป็นอันตรายต่อผิวแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสายตาด้วย เพราะเป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) โดยทำให้มีอาการตาแห้ง ปวดตา ตาพร่า และน้ำตาไหล นอกจากนี้การเผชิญแสงสีฟ้าเป็นเวลานานยังอาจทำเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-Related Macular Degeneration : AMD) ได้ด้วย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงนี้จะเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลง ส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
วิธีป้องกันรังสี UV และ HEVIS
- ลดการเล่นโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนให้น้อยลงบ้าง โดยเฉพาะเวลากลางคืน (ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะว่าคนไทยติดมือถือมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยใช้โทรศัพท์มือถือเฉลี่ยถึงวันละ 4.2 ชั่วโมง !)
- ปรับแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือให้น้อยลงไม่ให้สว่างจ้าจนเกินไป
- ติดฟิล์มป้องกันแสงสีฟ้าบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ และจอแท็บเล็ต เช่น ฟิล์มตัดแสงสีฟ้า (Blue Light Cut)
- หากิจกรรมยามว่างอื่น ๆ แทนการอยู่หน้าจอ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา
- ใช้สกินแคร์หรือครีมบำรุงที่ส่วนผสมของลูทีน เบต้าแคโรทีน วิตามินซี หรือสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) เพื่อช่วยปกป้องผิว และกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้กับผิว
- ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีคุณสมบัติปกป้องผิวจากรังสี UV และ HEVIS ได้
วิธีเลือกครีมกันแดด
เมื่อถึงคราวต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด ไม่ว่าจะเป็นแบบครีม เจล โลชั่น หรือแบบสเปรย์ นอกจากคุณสมบัติพื้นฐานอย่างการป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้ดี เหมาะกับสภาพผิวหน้า เนื้อบางเบาแล้ว ควรจะเป็นกันแดดคุมมันได้ดี ที่สำคัญคือในยุคนี้คุณควรเลือกครีมกันแดดที่มีคุณสมบัติในการลดผลกระทบ HEVIS ได้ด้วย
กล่าวคือ ในยุคปัจจุบันที่งานวิจัยระบุว่า HEVIS ส่งผลกระทบต่อผิวมากกว่าที่เราคิด กันแดดที่ดีจึงต้องมีคุณสมบัติสำคัญดังต่อไปนี้ คือ
- กันแดดได้ดีเยี่ยม โดยควรมีค่า SPF ที่ 30+ และ PA+++
- มีคุณสมบัติป้องกันแสงสีฟ้า (HEVIS) สาเหตุทำให้เกิดผิวแก่กว่าวัย และปัญหาฝ้า กระ จุดด่าง ผิวหมองคล้ำ
- เหมาะกับสภาพผิวหน้า โดยเฉพาะสาวชาวเอเชียผิวมันและมีแนวโน้มเป็นสิวง่ายอย่างเรา ต้องมีคุณสมบัติควบคุมความมัน ใช้ได้แม้ในผิวบอบบางแพ้ง่าย
- เนื้อบางเบา เกลี่ยง่าย ซึมไว ไม่หนักผิว เหนอะหนะ หรือทิ้งคราบ
ด้วยเหตุนี้ กันแดดที่ดีจึงควรมีคุณสมบัติปกป้องทั้งรังสี UV และ HEVIS ตัวอย่างเช่น ยูเซอริน ซัน แอคเน่ ออยล์คอนโทร SPF 50+ PA+++ (Eucerin Sun Dry Touch Acne Oil Control Face SPF 50+ PA+++) ผลิตภัณฑ์กันแดดคุมมันที่เหมาะสำหรับผู้ที่ผิวมัน เป็นสิว แพ้ง่าย ไวต่อแดด โดยมีคุณสมบัติสำคัญครบ 4 ข้อดังกล่าว ได้แก่
- ปกป้องผิวจากรังสี UVA หรือ UVB ด้วย Broad-Spectrum Oxidant Filter
- ลดผลกระทบที่เกิดจาก HEVIS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมี HEVIS Light Defense Technology ซึ่งมีส่วนผสมของสาร High Potent Antioxidant ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าสามารถเข้าไปทำลายอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ผิวแก่กว่าวัย (Photo-aging)
- สารคาร์นิทีนควบคุมความมันได้ยาวนานถึง 8 ชม. จึงช่วยลดโอกาสเกิดสิวอุดตันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เนื้อครีมกันแดดเป็นแบบดรายทัช (Dry touch) จากการทดสอบพบว่าเนื้อครีมกันแดดตัวนี้ค่อนข้างบางเบา เกลี่ยได้ง่าย ซึมเข้าผิวได้เร็วกว่าที่คิด ให้สัมผัสที่แห้งสบาย ใช้แล้วไม่รู้สึกหนักผิว เหนอะหนะ หรือทิ้งคราบใด ๆ และไม่ทำให้ Makeup เยิ้มด้วยค่ะ จึงเหมาะกับผู้หญิงทั่วไปที่ต้องแต่งหน้าเป็นประจำอย่างมาก
- ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดสิว (Non-acnegenic) เหมาะกับสภาพผิวหน้าทั้งผิวมัน ผิวผสม มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย
- ปราศจากส่วนผสมของน้ำหอม ซิลิโคน สีสังเคราะห์ และสารพาราเบน ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่ายสามารถใช้ได้แม้ในผิวบอบบาง แพ้ง่าย
“Eucerin Sun Dry Touch Acne Oil Control Face SPF 50+ PA+++ เหนือกว่าการปกป้องรังสี UVA/UVB ด้วยเทคโนโลยีป้องกัน HEVIS Light ตัวช่วยลดการทำร้ายผิว หมดปัญหาผิวหมองคล้ำ ผิวแก่กว่าวัย ฟ้าแดด แม้อยู่ในที่ร่ม”
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามหรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Eucerin
เอกสารอ้างอิง
- Darvin ME, Schanzer S, Lademann J, Tesch M, Buerger A, Rippke F, Meinke MC. Protective efficacy of a licochalcone A containing sunscreen in the high energy visible spectral range in vivo (abstr.). Exp. Dermatol. 2016, 25: E32
- Cosmetics & Toiletries. “A Melanin Derivative to Shield the Skin from High Energy Visible Light”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.cosmeticsandtoiletries.com. [18 ก.พ. 2020].
- ELLE. “Is Your IPhone Ruining Your Skin?”. (Kristina Rodulfo). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.elle.com. [18 ก.พ. 2020].
- โรงพยาบาลกรุงเทพ. “แสงสีฟ้า ตัวการทำร้ายทำลายสายตา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.bangkokhospital.com. [18 ก.พ. 2020].
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)