มะระขี้นก สรรพคุณและประโยชน์ของมะระขี้นก 55 ข้อ !

มะระขี้นก สรรพคุณและประโยชน์ของมะระขี้นก 55 ข้อ !

มะระขี้นก

มะระขี้นก ชื่อสามัญ Bitter gourd

มะระขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)

ผลของมะระขี้นกจะมีรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา โดยผลอ่อนจะมีสีเขียว แต่ถ้าเป็นผลแก่จะออกสีเหลืองอมแดง ปลายของผลจะแตกเป็น 3 แฉก ถามว่าทำไมถึงเรียกว่ามะระขี้นก ? คำตอบก็คือว่านกมันชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อนี้

สรรพคุณของมะระขี้นก

  1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ชราได้
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)
  3. ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
  4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
  5. ช่วยป้องกันการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
  6. ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV (ผล)
  7. ช่วยรักษาโรคหอบหืด
  8. ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ 60 นาที (ผล)
  9. ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)
  10. ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขม ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยให้ออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล, ราก, ใบ)
  11. ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม (ผล, เมล็ด, ใบ)
  12. แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล, ใบ)ประโยชน์ของมะระ
  13. ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)
  14. ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)
  15. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตาบวมแดง (ผล)
  16. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)
  17. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล, ใบ)
  18. ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบกันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล, ราก, ใบ)
  19. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)
  20. ช่วยลดเสมหะ (ราก)
  21. แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล, ใบ)
  22. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ราก, เถา)
  23. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล, ราก, ใบ, เถา)
  24. ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
  25. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)
  26. ช่วยรักษาอาการบิด ถ้าถ่ายเป็นเลือดให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัมต้มกับน้ำดื่ม ถ้าถ่ายเป็นเมือก ๆ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ, ดอก, เถา)
  27. ช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใช้แก้อาการบิดเลือดด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล้าต้มดื่ม (ราก, เถา)
  28. แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล, ใบ)
  29. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 3 เมล็ดรับประทาน
  30. ช่วยขับพยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล, ใบ, ราก, เมล็ด)
  1. ช่วยขับระดู (ใบ)
  2. ช่วยบำรุงระดู (ผล)
  3. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
  4. มะระขี้นกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล, ราก, ใบ)
  5. ช่วยขับลม (ผล, ใบ)
  6. แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล, ราก, ใบ)
  7. ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล, ราก, ใบ)
  8. แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)
  9. ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล, ราก, ใบ, เถา)
  10. ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็นฝี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล, ใบ, ราก, เถา)
  11. ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้ง บดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)
  12. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล, ราก, ใบ)
  13. ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)
  14. ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)
  15. แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่าง ๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คันหรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ผลแห้ง)
  16. ช่วยดับพิษฝีร้อน (ใบ)
  17. ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล, ราก)
  18. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)
  19. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล, ราก)
  20. แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล, ใบ)
  21. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)
  22. ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เมล็ด)
  23. มะระขี้นกสามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพื่อลดความขม หรือจะนำมาทำเป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน
  24. ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสด ๆ เพราะมีรสขม)
  25. ประโยชน์มะระขี้นก แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะระขี้นกต่อ 100 กรัม

  • มะระขี้นกพลังงาน 19 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม
  • น้ำตาล 1.95 กรัม
  • เส้นใย 2 กรัม
  • ไขมัน 0.18 กรัม
  • โปรตีน 0.84 กรัม
  • น้ำ 93.95 กรัม
  • วิตามินเอ 6 ไมโครกรัม 1%
  • เบตาแคโรทีน 68 ไมโครกรัม 1%
  • ลูทีนและซีแซนทีน 1,323 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.051 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 2 0.053 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 3 0.28 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.193 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 6 0.041 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 9 51 ไมโครกรัม 13%สรรพคุณมะระขี้นก
  • วิตามินซี 33 มิลลิกรัม 40%
  • วิตามินอี 0.14 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินเค 4.8 ไมโครกรัม 5%
  • ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.38 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 16 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุแมงกานีส 0.086 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโพแทสเซียม 319 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.77 มิลลิกรัม 8%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้ลดความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย

มะระที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุก ๆ

ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก

ได้แก่ ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ, www.gotoknow.org, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด