พุทรา
พุทราจีน ชื่อสามัญ Jujube, Chinese date, Red date
พุทราจีน ชื่อวิทยาศาสตร์ Ziziphus jujuba Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ziziphus mauritiana Lam.) จัดอยู่วงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1]
สมุนไพรพุทราจีน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะตัน มะตันหลวง นางต้มต้น (ภาคเหนือ), บักทัน หมากกระทัน (ภาคอีสาน) เป็นต้น เป็นผลไม้ที่ใช้รับประทานมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนตอนใต้[1]
ต้นพุทราจีน เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหนาม ในผลมีเมล็ดเดียว ผิวเรียบ เมื่อผลสุกจะเป็นสีเหลืองหรือบางสายพันธุ์จะเป็นสีแดงเข้ม[1] ส่วนสายพันธุ์ที่มีการเพาะปลูกในประเทศไทยได้แก่[3]
- พันธุ์พื้นเมือง แบ่งออกเป็นพันธุ์ลูกเกดและพันธุ์ไข่เต่า ผลมีลักษณะรีหรือกลมแป้น เปลือกผลบาง เนื้อหยาบมีสีเหลือง รสชาติเปรี้ยวและฝาดอมหวาน
- พันธุ์สามรส ผลมีลักษณะกลมแป้น เปลือกบาง เนื้อละเอียดมีสีขาวกรอบ
- พันธุ์เจดีย์หรือพันธุ์ปากน้ำ เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองกับพันธุ์อินเดีย มีต้นกำเนิดในจังหวัดสมุทรปราการ
- พันธุ์บอมเบย์ ผลมีลักษณะยาวรี เปลือกบางเป็นมัน เนื้อละเอียดมีสีหลือง รสชาติหวานกรอบ
- พันธุ์เหรียญทอง ผลมีลักษณะคล้ายแอปเปิ้ล มีเปลือกหนา ผิวหยาบ เนื้อละเอียดมีสีขาว มีรสหวานกรอบ และมีกลิ่นหอม
- พันธุ์แอปเปิ้ล ผลมีลักษณะกลมแป้น เปลือกหนาใสสีเขียวเข้ม เนื้อมีสีขาว กรอบละเอียด มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว
- พันธุ์สาลี่หรือพันธุ์บอมเบย์ยักษ์ ผลมีลักษณะคล้ายสาลี่และมีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์อื่น ๆ เปลือกผลบาง ผิวเหลือง เนื้อในค่อนข้างหยาบมีสีเหลือง เนื้อมาก มีรสหวานกรอบ
- พันธุ์บอมเบย์ ผลมีลักษณะยาวรี เปลือกบางเป็นมัน เนื้อละเอียดสีเหลือง มีรสชาติหวานกรอบ
สรรพคุณของพุทราจีน
- ผลมีรสหวานมันและฝาด ช่วยบำรุงร่างกาย (ผล)[1]
- ผลช่วยบำรุงกำลัง[2] หรือสำหรับคนที่ผอมแห้งแรงน้อยหากรับประทานผลพุทราจะช่วยทำให้มีเรี่ยวแรงมากขึ้น (ผล)[5]
- พุทราจีนอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)[1],[4]
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผิวมีสุขภาพดีและแข็งแรง และป้องกันโรคเกี่ยวกับผิวพรรณได้ (ผล)[2]
- ช่วยบำรุงประสาทและสมอง (ผล)[1],[2],[4]
- ช่วยแก้โรคนอนไม่หลับ (ผล)[1],[2],[4]
- สรรพคุณของพุทราจีน ผลช่วยบำรุงโลหิต (ผล)[1],[2]
- ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)[4]
- ช่วยบำรุงม้ามและตับ (ผล)[4]
- ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง (ผล)[2],[4]
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด (ผล)[2],[4]
- ช่วยเสริมฤทธิ์ป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตันและเส้นเลือดในสมองตีบ (ผล)[1]
- ช่วยป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว เส้นเลือดหัวใจตีบตัน และเส้นเลือดในสมองแตกได้ (ผล)[2],[4]
- ผลพุทราจีนอุดมไปด้วยวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการบำรุงสายตา ตาไม่ฟาง ป้องกันอาการตาบอดตอนกลางคืน (ผล)[1],[2]
- เมล็ดเมื่อนำมาป่นทำเป็นยาลดไข้ แก้อาการหวัดในเด็กได้ (เมล็ด)[2]
- เปลือกมีสารแทนนิน ใช้เป็นยาแก้อาการท้องเสียได้เป็นอย่างดี (เปลือกพุทรา)[2],[4]
- ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)[4]
- เมล็ดเมื่อนำมาป่น ใช้เป็นยารักษาอาการชักในเด็กได้เป็นอย่างดี (เมล็ด)[2]
- ใบช่วยแก้อาการผื่นคันตามผิวหนังต่าง ๆ (ใบ)[2]
- ใบมีคุณสมบัติช่วยลดพิษจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)[2]
- ผลใช้รับประทานเป็นยาบำรุง ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียของสตรีหลังคลอดบุตร (ผล)[5]
ประโยชน์ของพุทราจีน
- ประโยชน์พุทราจีน ช่วยลดผลข้างเคียงของกรดซิตริกในกระเจี๊ยบแดง เมื่อใช้ทำน้ำกับกระเจี๊ยบแดง (ผล)[1]
- ใช้ประกอบในอาหารต่าง ๆ หรือนำไปแปรรูป เมนูพุทราจีน เช่น พุทราจีนแห้ง พุทราจีนเชื่อม น้ำกระเจี๊ยบพุทราจีน แกงจืดเห็ดหูหนูพุทราจีน ไก่ตุ๋นพุทราจีน พุทราจีนทอด ถั่วเขียวต้มพุทราจีน พุทราจีนต้มหัวหอม ไข่ต้มเก๋ากี้พุทราจีน ฯลฯ
คุณค่าทางโภชนาการของพุทราจีนดิบ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 79 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 20.23 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- โปรตีน 1.2 กรัม
- น้ำ 77.86 กรัม
- วิตามินเอ 40 ไมโครกรัม 5%
- วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 3 0.9 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 6 0.081 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินซี 69 มิลลิกรัม 83%
- ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.48 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.084 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุฟอสฟอรัส 23 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุโพแทสเซียม 250 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.05 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คุณค่าทางโภชนาการของพุทราจีนแห้ง ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 287 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 73.6 กรัม
- ไขมัน 1.1 กรัม
- โปรตีน 3.7 กรัม
- น้ำ 19.7 กรัม
- วิตามินบี 1 0.21 มิลลิกรัม 16%
- วิตามินบี 2 0.36 มิลลิกรัม 24%
- วิตามินบี 3 0.5 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 13 มิลลิกรัม 22%
- ธาตุแคลเซียม 79 มิลลิกรัม 8%
- ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม 14%
- ธาตุแมกนีเซียม 37 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุฟอสฟอรัส 100 มิลลิกรัม 14%
- ธาตุโพแทสเซียม 531 มิลลิกรัม 11%
- ธาตุโซเดียม 9 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.19 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
เอกสารอ้างอิง
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaihealth.or.th. [19 ต.ค. 2013].
- GotoKnow. “น้ำกระเจี๊ยบแดงกับพุทราจีน“. (แพรภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org. [19 ต.ค. 2013].
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org. [19 ต.ค. 2013].
- นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 148 เมษายน 2556. ปุยฝ้าย.
- ข่าวการเกษตร. “พุทราจีน ผลไม้บำรุงสุขภาพ“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaiagrinews.com. [19 ต.ค. 2013].
ภาพประกอบ : www., www.flickr.com (by theroadhere, Vietnam Plants & The USA. plants), www.bloggang.com (by NGAKPW)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)