พลองใบใหญ่
พลองใบใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Memecylon myrsinoides Blume จัดอยู่ในวงศ์โคลงเคลง (MELASTOMATACEAE)[1],[2]
สมุนไพรพลองใบใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เหมือดดง (หนองคาย), พลองแก้มอ้น (ชุมพร), เปลือกบาง (นราธิวาส), พลอง (นครศรีธรรมราช), พลองใบเอียด (ตรัง), กำชำ (ภาคใต้), นิปิกูเละ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของพลองใบใหญ่
- ต้นพลองใบใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 3-8 เมตร[1],[2]
- ใบพลองใบใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปวงรี รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน[1],[2]
- ดอกพลองใบใหญ่ ออกดอกเป็นช่อเชิงหลั่นตามซอกใบและกิ่งก้าน ลักษณะเป็นรูปครึ่งทรงกลม ดอกย่อยนั้นมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีม่วงแกมชมพู[1],[2]
- ผลพลองใบใหญ่ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลเป็นสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ[1],[2]
สรรพคุณของพลองใบใหญ่
- ตำรายาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะใช้ลำต้นพลองใบใหญ่ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี[1],[2]
เอกสารอ้างอิง
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “พลองใบใหญ่”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com. [01 ต.ค. 2015].
- ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “พลองแก้มอ้น”. อ้างอิงใน : หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน หน้า 167. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org. [01 ต.ค. 2015].
ภาพประกอบ : www.phargarden.com (by Sudarat Homhual)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)