ผักขี้มด สรรพคุณของผักขี้มด ! (ชุมเส็ด,ไคร้เส็ด)

ผักขี้มด สรรพคุณของผักขี้มด ! (ชุมเส็ด,ไคร้เส็ด)

ผักขี้มด

ผักขี้มด ชื่อวิทยาศาสตร์ Glochidion zeylanicum var. tomentosum (Dalzell) Trimen (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Glochidion hirsutum (Roxb.) Voigt) จัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)

สมุนไพรผักขี้มด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ชุมเส็ด (ตราด), ไคร้เส็ด (เพชรบูรณ์), ไคร้ป่าปิ้น (พิษณุโลก), ตานเข้า (เลย) ส่วนทางแพร่เรียก “ผักขี้มด” เป็นต้น[1]

ลักษณะของผักขี้มด

  • ต้นผักขี้มด จัดเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร[1]

ต้นผักขี้มด

  • ใบผักขี้มด ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก รูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร ผิวใบมีขนนุ่มละเอียดทั้งสองด้าน[1]

ใบผักขี้มด

  • ดอกผักขี้มด ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ มีดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว ขนาดเล็ก[1]

รูปดอกผักขี้มด

ดอกผักขี้มด

  • ผลผักขี้มด ผลเป็นผลแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสีเขียว มีหลายพู[1]

ผลผักขี้มด

เมล็ดผักขี้มด

สรรพคุณของผักขี้มด

  • ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นผักขี้มด ผสมกับเปลือกต้นมะขาม และโกฐทั้งห้า นำมาบดให้เป็นผง ละลายกับน้ำร้อนดื่มเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ผักขี้มด”.  หน้า 116.

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Apurba Kumar)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด