บอระเพ็ด สรรพคุณและประโยชน์ของบอระเพ็ด 51 ข้อ !

บอระเพ็ด

บอระเพ็ด ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)

สมุนไพรบอระเพ็ด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เจตมูลหนาม (หนองคาย), ตัวเจตมูลยานหรือเถาหัวดำ (สระบุรี), หางหนู (อุบลราชธานี), จุ่งจิงหรือเครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เป็นต้น

บอระเพ็ด เป็นไม้เลื้อยที่พบได้ตามป่าดิบแล้ง จัดเป็นสมุนไพรไทยบ้าน ๆ ที่มีสรรพคุณทางยาสารพัด

โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ทำเป็นยาจะคือส่วนของ “เถาเพสลาก” เพราะมีลักษณะไม่แก่หรืออ่อนเกินไปนัก และมีรสชาติขมจัด แต่ถ้าเป็นเถาแก่จะแตกแห้ง รสเฝื่อน ไม่ขม หรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะมีรสไม่ขมมาก

บอระเพ็ดสรรพคุณของบอระเพ็ดบอระเพ็ดสรรพคุณ

สรรพคุณของบอระเพ็ด

  1. บอระเพ็ดช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส หน้าตาสดชื่น (ใบ)
  2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
  3. ประโยชน์ของบอระเพ็ด ช่วยให้ผมดกหนาขึ้นและอาการผมหงอก ผมร่วงก็จะลดน้อยลง ซึ่งจะได้ผลดีอย่างมากกับผู้ที่มีอาการผมหงอกก่อนวัย หากรับประทานผงบอระเพ็ดวันละ 600 mg. เป็นเวลา 1 เดือน
  4. แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค ชันนะตุ
  5. ใช้แก้อาการกระหายน้ำ (เถา, ต้น)
  6. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย (ต้น, ใบ)
  7. บอระเพ็ดสรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น, ใบ) ด้วยการใช้บอระเพ็ด / เมล็ดข่อย / หัวแห้วหมู / เมล็ดพริกไทย / เปลือกต้นทิ้งถ่อน / เปลือกต้นตะโกนา ในสัดส่วนเท่ากันนำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานก่อนนอนครั้งละ 2-3 เม็ด หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาหั่นตากแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
  8. ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทาน (ราก)
  9. บอระเพ็ดลดความอ้วน (ใบ)
  10. ใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ราก)
  1. สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็น (เถาสด, ทุกส่วน)
  2. มีสารลดความดันโลหิต ได้แก่ อะดีโนซีน(adenosine), ซาลโซลีนอล(salsolinol), ไฮเจนนามีน (higenamine) (ต้น)
  3. แก้โรคดีซ่าน (ทุกส่วน)
  4. ช่วยรักษาอาการโลหิตคั่งในสมอง (ใบ)
  5. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, ต้น)
  6. แก้อาการร้อนใน (เถา, ต้น)
  7. สรรพคุณบอระเพ็ดช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ราก)
  8. ช่วยขับเหงื่อ (เถา)
  9. ช่วยฆ่าแมลงในหู (เถา)
  10. แก้รำมะนาด (เถา)
  11. แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้จับสั่น (ราก, ต้น, ใบ)
  12. ใช้ถอนพิษไข้ (ราก)
  13. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (เถา, ผล) ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือใช้วิธีต้มเคี่ยว (ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน) แบ่งครั้งละ 2-3 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารวันละ 2-3 ครั้งเมื่อตอนมีไข้ หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
  14. แก้ไข้มาลาเรียด้วยการกินบอระเพ็ดวันละ 2 องคุลีทุกวัน (เถา)
  15. แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ (ต้น)
  16. แก้อาการแทรกซ้อนขณะเป็นไข้ทรพิษ (ต้น)
  17. ช่วยให้เสียงไพเราะ (ใบ)
  18. แก้อาการเสมหะเป็นพิษ (ผล)
  19. ช่วยรักษาฟัน (ทุกส่วน)
  20. แก้อาการปวดฟัน (เถา)
  21. แก้สะอึก (ต้น, ผล)
  22. แก้โรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน / มะขามเปียก 7 ส่วน / เกลือ 3 ส่วน / น้ำผึ้งพอควร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา
  23. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก)
  24. รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทุกส่วน)
  25. รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ทุกส่วน)
  26. แก้อาการมดลูกเสีย (ราก)
  27. ช่วยบำรุงน้ำดี (เถา)
  28. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
  29. ช่วยฆ่าพยาธิไส้เดือน (เถา)
  30. ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน และในหู (ดอก)
  31. แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ทุกส่วน)
  32. แก้อาการเกร็ง (ทุกส่วน)
  33. ดับพิษปวดแสบปวดร้อน (เถา)
  34. ใช้ล้างแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส (เถา)
  35. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เถา,ใบ)
  36. รักษาผดผื่นตามร่างกาย (ใบ)
  37. รักษาบาดทะยัก (ทุกส่วน)
  38. แก้อาการปวดฝี (ใบ)
  39. แก้พิษฝีดาษ (ต้น)
  40. แก้ฝีมดลูด ฝีมุตกิด (ทุกส่วน)
  41. นำมาแปรรูปเป็นบอระเพ็ดแคปซูล

แม้บอระเพ็ดจะมีสรรพคุณในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ มากมาย แต่ก็ยังมีงานศึกษาวิจัยที่สนับสนุนสรรพคุณดังกล่าวอยู่น้อย ซึ่งสรรพคุณทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากบทเรียนที่ใช้ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน จึงเกิดเป็นความเชื่อถือและใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตบอระเพ็ดแคปซูลออกมาจำหน่ายเพื่อใช้เป็นยาช่วยในการเจริญอาหาร

สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, www.rspg.or.th (ขอขอบคุณเจ้าของรูปภาพตามเครดิต)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด