ถอบแถบ
ถอบแถบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Connarus ferrugineus Jack จัดอยู่ในวงศ์ถอบแถบ (CONNARACEAE)[1]
สมุนไพรถอบแถบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สุบูกาเยาะ (มลายู-นราธิวาส), ถอบแถบ (ปัตตานี) เป็นต้น[1]
ลักษณะของต้นถอบแถบ
- ต้นถอบแถบ จัดเป็นพรรณไม้เถาที่มักเลื้อยพาดกันตามต้นไม้ใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มักพบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำลำคลอง หรือมักขึ้นตามสวนริมคูคลองในกรุงเทพฯ[1]
- ใบถอบแถบ แผ่นใบเป็นสีเขียวแก่และหนา มีใบย่อยประมาณ 3 ใบ ลักษณะคล้ายกับใบถั่ว แต่ใบถอบแถบจะมีลักษณะกลมและโต ส่วนปลายใบจะแหลม[1]
- ผลถอบแถบ ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปกลมและแบน ลักษณะคล้ายกับฝักประดู่[1]
สรรพคุณของถอบแถบ
- ทั้งต้นรากใบมีรสเบื่อเอียน ใช้เป็นยารักษาพิษตานซาง ตัดรากตานขโมย (ทั้งต้นรากใบ)[1]
- ทั้งต้นรากใบมีสรรพคุณช่วยถ่ายเสมหะ ส่วนเถามีสรรพคุณเป็นยาถ่ายเสมหะเน่า (ทั้งต้นรากใบ, เถา)[1]
- เถามีสรรพคุณช่วยขับผายลม (เถา)[1]
- ทั้งต้นรากใบใช้กินเป็นยาระบาย ถ่ายอุจจาระตามปกติ ให้ใช้ใบประมาณ 3 ใบ นำมาต้มใส่เกลือเล็กน้อย แล้วต้มกินเป็นยาระบายท้องให้เป็นปกติได้ดี หรือจะนำเถาแก่มาต้มให้เด็กกินเป็นยาระบายอ่อน ๆ มีฤทธิ์เป็นยาระบายได้แรงและดีกว่าใบมาก (ทั้งต้นรากใบ, เถา)[1]
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ถอบแถบ”. หน้า 323.
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)