7 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นดีปลากั้ง ! (บีปลากั้ง)

ดีปลากั้ง

ดีปลากั้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlogacanthus pulcherrimus T.Anderson (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cystacanthus pulcherrimus C.B.Clarke) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1]

สมุนไพรดีปลากั้ง มีชื่อเรียกอื่นว่า “บีปลากั้ง[1]

ลักษณะของต้นดีปลากั้ง

  • ต้นดีปลากั้ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 0.5-1.5 เมตร[1]

ต้นดีปลากั้ง

  • ใบดีปลากั้ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร[1]

ต้นบีปลากั้ง

ใบดีปลากั้ง

  • ดอกดีปลากั้ง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูประฆัง ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเป็นสีม่วงอมแดง เชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท หลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก[1]

บีปลากั้ง

ดอกดีปลากั้ง

  • ผลดีปลากั้ง ผลเป็นแบบแคปซูล ยาวได้ประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะแตกออก เมล็ดจะเกิดที่ช่วงปลายของผล มีก้านตะขอดีดเมล็ด[1]

ผลดีปลากั้ง

สรรพคุณของดีปลากั้ง

  • ตำรายาพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหารจะใช้สมุนไพรดีปลากั้งเป็นยาบำรุงกำลัง (ยอดอ่อน)[1],[3]
  • ใบมีรสขมหวาน มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด แก้เบาหวาน (ยอดอ่อน)[4]
  • ยอดอ่อนมีรสขมอ่อน ๆ ใช้รับประทานเป็นอาหาร มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ยอดอ่อน)[1]
  • ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ส่วนของลำต้นดีปลากั้ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด (ลำต้น)[1]
  • ยอดใช้นึ่งรับประทานเป็นยาแก้ปวดหลัง (ยอดอ่อน)[3]

ประโยชน์ของดีปลากั้ง

  • ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริกและลาบได้[1],[2]
เอกสารอ้างอิง
  1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “บีปลากั้ง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [13 ก.ย. 2015].
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ดีปลากั้ง”.  อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th.  [13 ก.ย. 2015].
  3. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “พืชอาหารกับความยั่งยืนของสภาพนิเวศเกษตรในเขตพื้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา Foodplants and Sustainable Agro – Ecosystem at Phufa Patana Center, Nan Province”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : rdi.ku.ac.th.  [13 ก.ย. 2015].
  4. ผู้จัดการออนไลน์.  “สุดยอดผักสุขภาพ เครื่องเคียงลาบ-น้ำตก”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th.  [13 ก.ย. 2015].

ภาพประกอบ : www.phargarden.com (by Sudarat Homhual), www.flickr.com (by jawkancha, Khajornsak W), www.biogang.net (by 0NAN0)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด