ขี้อ้ายดง สรรพคุณของต้นขี้อ้ายดง ! (คัดลิ้น)

ขี้อ้ายดง

ขี้อ้ายดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Walsura villosa Wall. ex Hiern จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน (MELIACEAE)[1]

สมุนไพรขี้อ้ายดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลำไยป่า (เชียงใหม่), เฟียง (เลย), ขัดลิ้น (อุทัยธานี), คัดลิ้น (กาญจนบุรี), ขี้อ้ายแดง ขี้อ้ายนา (ราชบุรี), ขี้ล้อ ขี้อ้าย (ภาคเหนือ), ข่าลิ้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กัดลิ้น คัดลิ้น (ตามตำรายาเรียก) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของขี้อ้ายดง

  • ต้นขี้อ้ายดง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 5-8 เมตร พบขึ้นในป่าเบญจพรรณและตามป่าราบทั่ว ๆ ไป[1],[2]
  • ใบขี้อ้ายดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ แผ่นใบหนา ใบมีขนาดประมาณ 4 นิ้วฟุต ท้องใบเป็นสีน้ำตาล และมีขนบาง ๆ อ่อน ๆ ขึ้นเล็กน้อย[1],[2]
  • ดอกขี้อ้ายดง ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกที่ง่ามใบและปลายยอด ดอกมีกลิ่นหอม[1]
  • ผลขี้อ้ายดง ออกผลเป็นแบบช่อ ผลมีลักษณะกลมรี ผิวผลเกลี้ยง มีสันตื้น ๆ ปลายผลมีติ่งแหลม ผนังผลบางคล้ายหนัง[1]

สรรพคุณของขี้อ้ายดง

  • รากขี้อ้ายดงมีรสร้อนจัด ใช้เป็นยารักษาเส้นเอ็นพิการและบำรุงเส้น (ราก)[2]

ข้อห้ามใช้ : ห้ามใช้ยานี้กับบุคคลที่เป็นโรคดีเดือดและโรคเส้นประสาทพิการ[2]

เอกสารอ้างอิง
  1. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  “ขี้อ้ายดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.  [21 ม.ค. 2015].
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “คัดลิ้น”.  หน้า 180.

ภาพประกอบ : biodiversity.forest.go.th

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด