10 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกระดูกไก่ขาว !

10 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกระดูกไก่ขาว !

กระดูกไก่ขาว

กระดูกไก่ขาว ชื่อสามัญ Willow-leaved justicia

กระดูกไก่ขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Justicia gendarussa Burm.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gendarussa vulgaris Nees, Justicia gandarussa L.f.) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)[1]

สมุนไพรกระดูกไก่ขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปีกไก่ขาว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กระดูกขาว กระดูกไก่ขาว (ภาคกลาง) เป็นต้น[1]

ลักษณะของกระดูกไก่ขาว

  • ต้นกระดูกไก่ขาว จัดเป็นพรรณไม้ที่มีลำต้นเป็นพุ่มขนาดย่อม ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 3-4 ฟุต มีขนาดโตเท่าหัวนิ้วมือ ลำต้นและแผ่นใบสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด[1]

ต้นกระดูกไก่ขาว

  • ใบกระดูกไก่ขาว ออกใบดกเป็นพุ่ม ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบเล็ก ส่วนกลางใบกว้าง ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก[1]

ใบกระดูกไก่ขาว

  • ดอกกระดูกไก่ขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก เป็นสีขาว[1]

ดอกกระดูกไก่ขาว

รูปกระดูกไก่ขาว

สรรพคุณของกระดูกไก่ขาว

  • ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับเหล้าแล้วบีบเอาน้ำมาดื่ม หรืออาจใช้กากพอกแผล เป็นยาแก้พิษงูหรือแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบสด)[1]
  • ศรีลังกาจะใช้ใบของสมุนไพรชนิดนี้เป็นยาแก้ปวดเพื่อรักษาอัมพาตครึ่งซีก โรคไขข้ออักเสบ ปวดศีรษะและปวดหู (ใบ)[2]
  • ในอินเดียจะใช้ใบเป็นยารักษาโรคไขข้ออักเสบเรื้อรัง อาการปวดศีรษะ ไอและหลอดลมอักเสบ (ใบ)[3]
  • เวสต์อินดีสจะใช้ยาต้มจากสมุนไพรชนิดนี้นำมาอาบเพื่อรักษาโรคริดสีดวงทวารและมีไข้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[4]
  • บราซิลจะใช้สมุนไพรนี้ในการรักษาอาการปวดไข้ แก้ไข้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[5
  • ใบใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือใช้ใบสดกินเป็นประจำ จะมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษมึนเมาและโรคอาหารเป็นพิษ (ใบ)[6]
  • ใบสดใช้เป็นบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก กระดูกร้าวหรือกระดูกหัก (ใบ)[6]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “กระดูกไก่ขาว”.  หน้า 18-19.
  2. Ratnasooriya WD, Deraniyagala SA, Dehigaspitiya DC. “Antinociceptive activity and toxicological study of aqueous leaf extract of Justicia gendarussa Burm. F. in rats”.  Pharmacognosy Magazine, 3(11): 145-155, 2007.
  3. Arokiyaraj S, Perinbam K, Agastian P, Balaraju K.  “Immunosuppressive effect of medicinal plants of Kolli hills on mitogen-stimulated proliferation of the human peripheral blood mononuclear cells in vitro”.  Indian Journal of Pharmacology, 39(4): 180-183, 2007.
  4. Gurib-Fakim A, Sewraj MD, Gueho J and Dulloo E.  “Medicinal Plants of Rodrigues”.  Pharmaceutical Biology, 34(1): 2-14, 1996.
  5. De Albuquerque UP, Monteiro JM, Ramos MA, de Amorim ELC.  “Medicinal and magic plants from a public market in northeastern Brazil”.  Journal of Ethnopharmacology, 110(1): 76-91, 2007.
  6. Sarawak Forestry. www.forestry.sarawak.gov.my/forweb/ourfor/flora/plantmv/gvulg.htm

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Alka Khare, Dinesh Valke, 阿橋)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด