ลดน้ำหนักอย่างยั่งยืนด้วยโพรไบโอติก
จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี และยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือแม้แต่โรคมะเร็งก็ตาม แต่ถ้าหากเราสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ ตามไปด้วย
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วนนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งเรื่องของพันธุกรรม พฤติกรรมการกิน รวมไปถึงจุลินทรีย์ในร่างกาย และเพื่อให้การลดน้ำหนักสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อร่างกายมากที่สุด จำเป็นต้องสร้างสมดุลด้วยการใช้พลังงานให้สอดคล้องกับระบบเผาผลาญและระบบขับถ่าย โดยใช้ตัวขับเคลื่อนสำคัญอย่างพวกเหล่าจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ ที่เป็นเสมือนแม่ทัพที่คอยช่วยควบคุมให้การลดความอ้วนป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจนที่สุด
การเลือกรับประทาน โพรไบโอติก (Probiotic) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่ร่างกายต้องการจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม ซึ่งหากได้รับเข้าไปในปริมาณที่พอดีจะสร้างประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้จะเข้าไปช่วยสร้างเสริมให้ร่างกายทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะโดยปกติแล้วในร่างกายของคนเรานั้นมีจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณลำไส้ที่มีการรวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น
มีผลงานวิจัยจำนวนมากที่ยืนยันถึงประโยชน์จากจุลินทรีย์ในลำไส้ของเรา ว่ามีผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ทั้งระบบภูมิคุ้มกัน ระบบไหลเวียน การขับถ่ายของเสีย ระบบย่อยอาหาร ระบบการเผาผลาญ ระบบสมอง ไปจนถึงระบบการควบคุมน้ำหนัก และถึงแม้ว่าจุลินทรีย์ในร่างกายจะมีอยู่มากมาย แต่จะมีเพียงจุลินทรีย์ชนิดดีเท่านั้นที่จะช่วยดูแลสุขภาพของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น
ความอ้วนและจุลินทรีย์ในลำไส้
ผลการวิจัยยังพบอีกว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ยังมีบทบาทอย่างมากต่อระบบการเผาผลาญของร่างกาย เพราะช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุ อีกทั้งยังช่วยในการสังเคราะห์วิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่สำคัญจุลินทรีย์อย่างโพรไบโอติกนั้น ส่งผลต่อการอยากอาหาร โดยเฉพาะโพรไบโอติกกลุ่มตระกูลแล็กโตบาซิลลัสที่จะมีผลต่อการดูดซึมสารอาหาร และการขับของเสียออกจากร่างกาย อีกทั้งกลไกโพรไบโอติกยังส่งผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหาร โดยจะเข้าไปลดการหลั่งฮอร์โมนจีแอลพี1 (GLP-1) อันเป็นกลุ่มฮอร์โมนในทางเดินอาหารที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และเพิ่มระดับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการเผาผลาญไขมัน ด้วยการเพิ่มกลุ่มโปรตีนที่จะช่วยในการลดการเก็บสะสมไขมัน (ANGPTL1) อีกด้วย
จุลินทรีย์ในลำไส้ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนัก
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักในร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกันไปนั่นคือเหล่าจุลินทรีย์ในร่างกายของแต่ละคน เพราะถึงแม้ว่าเราจะทำกิจกรรมเหมือนกันก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายอย่างการวิ่งหรือเล่นกีฬาประเภทต่างๆ แต่ใช่ว่าน้ำหนักตัวของแต่ละคนจะลดหรือเพิ่มได้เท่ากัน เพราะเรื่องของน้ำหนักตัวมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเรื่องของลักษณะทางพันธุกรรม พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ไปจนถึงจุลินทรีย์ในร่างกายของแต่ละคนด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิธีการที่เราจะสามารถทำได้ง่ายและยั่งยืนที่สุดในการควบคุมน้ำหนักตัว คือการปรับสมดุลให้กับจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง
การเสริมโพรไบโอติกให้ลำไส้ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก
ร่างกายจะรับจุลินทรีย์ที่ดีเข้าไปได้ก็ต่อเมื่อมีจุดเริ่มต้นที่ดี การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกที่ดีนั้น ควรที่จะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุสายพันธุ์คุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงมีการการันตีว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะช่วยให้คุณได้รับโพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับคัดเลือกมาแล้วว่ามีความแข็งแรง สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงในกระเพาะอาหารได้ อีกทั้งตัวโพรไบโอติกยังต้องสามารถยึดเกาะกับผนังลำไส้ได้อย่างดี ไม่ถูกขับถ่ายออกไปได้ง่าย เพื่อให้ลำไส้ของเรามีปริมาณจุลินทรีย์ดีที่มีคุณภาพรวมถึงผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่คุณเลือกใช้จะต้องมีอินูลิน ที่เป็นอาหารโพรไบโอติกหล่อเลี้ยง เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ มีชีวิตอยู่รอดและแข็งแรง
นอกจากนี้ การปรับสมดุลของช่องท้องยังถือเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่แข็งแรง อย่างที่มีคำกล่าวไว้ว่า ‘สุขภาพที่ดีเริ่มต้นที่ลำไส้’ ฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารเสริมอย่างโพรไบโอติก จึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นดูแลสุขภาพที่ดี เพราะเป็นจุลินทรีย์ชนิดดี ที่จะเข้าไปช่วยสร้างสมดุลใหกับร่างกาย และเมื่อร่างกายสามารถปรับสมดุลได้ พฤติกรรมต่างๆ อย่างการรับประทานอาหารและการขับถ่าย ก็จะถูกปรับเปลี่ยนไปด้วยอย่างอัตโนมัติ ทำให้แนวโน้มการลดน้ำหนักเกิดผลสำเร็จอย่างดีอีกด้วย
แหล่งอ้างอิง
- Europe PMC.Retrieved November 30, 2020 from https://europepmc.org/article/med/26029487
- Ley RE, Turnbaugh PJ, Klein S, Gordon JI. Microbial ecology: human gut microbes associated with obesity. Nature. 2006;444(7122):1022–1023.
- Ley RE, Backhed F, Turnbaugh P, Lozupone CA, Knight RD, Gordon JI. Obesity alters gut microbial ecology. Proc Natl Acad Sci U S A. 2005;102(31):11070–11075.
- Million M, Angelakis E, Maraninchi M, Henry M, Giorgi R, Valero R, et al. Correlation between body mass index and gut concentrations of Lactobacillus reuteri, Bifidobacterium animalis, Methanobrevibacter smithii and Escherichia coli. International journal of obesity. 2013;37(11):1460–1466. [Europe PMC free article][Abstract] [Google Scholar]
- B;, W. (n.d.). Probiotics for the Treatment of Overweight and Obesity in Humans-A Review of Clinical Trials. Retrieved November 30, 2020, from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32751306/
สนับสนุนข้อมูลโดย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์