รู้จัก ‘Plant Based’ อาหารจากพืช ทางเลือกใหม่สำหรับคนรักสุขภาพ !

เอนชัวร์ โกลด์ Plant Based

กระแสการทาน Plant Based ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารมากมายเพื่อตอบโจทย์คนรักสุขภาพ และสามารถเข้าถึง อาหาร Plant Based ได้สะดวกขึ้น นอกจากได้สุขภาพดีแล้ว อาหารที่ทำจากพืชยังช่วยรักษาระบบนิเวศของโลก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากระบวนการผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์ จึงยิ่งทำให้กระแส Plant Based ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทั่วโลก

การทาน Plant Based เป็นรูปแบบการทานอาหารที่ยืดหยุ่น ไม่ได้งดทานเนื้อ นม ไข่ แต่จะเลือกทานอาหารที่ทำมาจากพืชมากกว่าสัตว์ โดยสัดส่วนอย่างน้อย 70-95% มาจากผัก ผลไม้ และธัญพืชเป็นหลัก และที่เหลือมาจากสัตว์ เน้นอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อย และควรเลือกทานอาหารที่มีความหลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในแต่ละวัน การทาน Plant Based จึงเป็นรูปแบบการทานที่ง่ายและยืดหยุ่นมากกว่าการทานมังสวิรัติหรือเจ และเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารน้อยกว่า

บางคนอาจยังกังวลว่า การทาน Plant Based ที่เป็นโปรตีนจากพืช อย่างถั่วชนิดต่าง ๆ จะได้คุณค่าโปรตีน และกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนเทียบเท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรือไม่ เนื่องจากการได้รับกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วนนั้นสำคัญกับร่างกาย เพื่อนำไปฟื้นฟูและเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีที่สุด มีการศึกษาพบว่าพืชบางชนิด อย่างถั่วเหลือง ให้โปรตีนคุณภาพดีเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ โดยเมื่อเปรียบเทียบค่า PDCASS ซึ่งเป็นดัชนีตัวบอกคุณภาพของโปรตีน การดูดซึมและการนำไปใช้ในร่างกาย พบว่าถั่วเหลืองให้ค่า PDCASS สูงสุดเท่ากับ 1 ซึ่งเทียบเท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ดังนั้น ถั่วเหลืองจึงควรมีอยู่ในมื้ออาหารของการทาน Plant Based

สำหรับพืชอื่น ๆ แม้พบว่ามีกรดอะมิโนจำเป็นหลายตัวในปริมาณสูง แต่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบทุกตัว เหมือนกับถั่วเหลืองและเนื้อสัตว์ ดังนั้น การทานโปรตีนจากพืช จึงควรผสมทั้งธัญพืชไม่ขัดสี และเต็มเมล็ด (Whole grain, Grain), ถั่วเมล็ดซีก (Legume), ถั่วเปลือกแข็ง (Nuts), เมล็ดพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง (Seed) ในแต่ละมื้อ เมื่อทานรวมกันแล้ว จะสามารถให้กรดอะมิโนจำเป็นครบทุกตัวได้ไม่ต่างจากถั่วเหลืองและเนื้อสัตว์

ตัวอย่างพืชที่มีคุณสมบัติโดดเด่นด้านโปรตีนและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น

  • ควินัว เป็นพืชที่ให้โปรตีนและใยอาหารสูงมากที่สุดในกลุ่มธัญพืช และยังให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนรวม 9 ชนิด แม้ค่าคุณภาพโปรตีนและการดูดซึมจะไม่เทียบเท่าถั่วเหลือง แต่ถือว่าเป็นพืชที่ให้โปรตีนแน่นชนิดหนึ่ง
  • ข้าว โปรตีนจากข้าวสามารถดูดซึมได้รวดเร็ว เทียบเท่ากับเวย์โปรตีน และสามารถกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อได้ดี เช่นเดียวกับเวย์โปรตีนที่ใช้ในกลุ่มผู้ออกกำลังกาย
  • ถั่วเหลือง ให้โปรตีนคุณภาพดีเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ ใยอาหารสูง แร่ธาตุสูง และมีไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม สามารถแปรรูปทำอาหารได้หลากหลาย เช่น เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงพืชที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เนื้อมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว และกะทิ และควรทานอาหารที่ให้วิตามินบี 12 และแคลเซียม ซึ่ง 2 สารอาหารนี้จะพบมากในกลุ่มเนื้อสัตว์และนมวัวมากกว่าพืช ดังนั้น การทาน Plant Based ร่วมกับการทานเนื้อสัตว์บ้าง จึงตอบโจทย์ของการมีสุขภาพดีแบบยืดหยุ่นไม่เสี่ยงขาดสารอาหาร

แอ๊บบอต แลบอราตอรี่ ได้เห็นประโยชน์ของอาหาร Plant Based จึงได้มีการคิดค้นพัฒนา “เอนชัวร์ โกลด์ Plant Based สูตรโปรตีนจากธัญพืช 3 ชนิด กลิ่นอัลมอนด์” เพื่อให้มีทางเลือกเครื่องดื่มเสริมที่ให้สารอาหารครบถ้วน และใช้แหล่งโปรตีนหลักจากธัญพืช ที่มาจากถั่วเหลือง ควินัว และข้าว พร้อมเสริม HMB สารอาหารสำคัญต่อกล้ามเนื้อ มีกรดไขมันดีจากพืชอย่างโอเมก้า 3 6 9 ชงดื่มง่าย เอนชัวร์ โกลด์ Plant Based ตอบโจทย์สำหรับคนที่รักสุขภาพ คนที่ไม่ค่อยชอบทานเนื้อสัตว์ คนที่แพ้แลคโตสในนม หรือคนที่ไม่ชอบรสชาติของนม ทางเลือกใหม่ของเครื่องดื่มเสริมที่ดีต่อสุขภาพและปลอดภัยตามมาตรฐานของแอ๊บบอต แลบอราตอรี่

ข้อมูลโดย พญ. วีรนุช โรจน์ยินดีเลิศ

ข้อมูลอ้างอิง
  1. BLT. “เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bltbangkok.com. (19 พ.ค. 2023)
  2. Cambridge Dictionary. “plant-based”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: dictionary.cambridge.org. (19 พ.ค. 2023)
  3. ชีวิตดีดี. “8 โปรตีนจากพืช ทดแทนเนื้อสัตว์ สุดยอดประโยชน์ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.gedgoodlife.com. (19 พ.ค. 2023)
  4. พบแพทย์. “โปรตีนจากพืช แหล่งอาหารทางเลือกกับประโยชน์ด้านสุขภาพ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.pobpad.com. (19 พ.ค. 2023)
  5. Journal of Parenteral and Enteral Nutrition. “Year-long changes in protein metabolism in elderly men and women supplemented with a nutrition cocktail of beta-hydroxy-beta-methylbutyrate (HMB), L-arginine, and L-lysine” (2009)

ตรวจสอบทางการแพทย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 05 พ.ค. 2023

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด