NAC เป็นยาที่มีใช้มาหลายปีแล้ว หลายคนมีไว้ติดบ้านและใช้มันด้วยเหตุผลหลายประการ ตั้งแต่เพื่อบรรเทาและละลายเสมหะในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ อย่างไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ใช้บรรเทาความผิดปกติทางจิต ไปจนถึงเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเล่นกีฬา
ในบทความนี้จะกล่าวถึงการใช้ยานี้ ข้อบ่งใช้ ประโยชน์ทางการแพทย์ด้านอื่น ๆ รวมถึงผลข้างเคียงในการใช้ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
NAC คือยาอะไร ?
NAC หรือ N-acetylcysteine / N-acetyl-L-cysteine (เอ็น-อะเซทิลซิสเทอีน) หรือ Acetylcysteine (อะเซทิลซิสเทอีน) เป็นยาอนุพันธ์ของกรดอะมิโนแอลซีสเทอีน (L-Cysteine) ซึ่งเกิดจากการนำกรดอะมิโน Cysteine คือ?Cysteine เป็นกรดอะมิโนไม่จำเป็นที่ร่างกายสร้างเองได้ โดยสร้างจากกรดอะมิโน Methionine โดยปกติร่างกายของเราจะได้รับกรดอะมิโน Cysteine จากการรับประทานอาหารจำพวกโปรตีน เช่น หมู เป็ด ไก่ ไข่ ชีส โยเกิร์ต เมล็ดทานตะวัน และพืชตระกูลถั่ว มาเติม acetyl group ลงไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความสามารถของ NAC ในการละลายไขมันเพื่อการดูดซึมที่ดีขึ้นและมีความเป็นพิษน้อยกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม NAC จึงเป็นที่นิยมมากกว่าอาหารเสริม L-Cysteine แบบเดี่ยว ๆ
เมื่อเรารับประทาน NAC เข้าไป ร่างกายจะแปลงเป็นกรดอะมิโน L-Cysteine แล้วร่างกายจะใช้ L-Cysteine เพื่อสร้างหรือสังเคราะห์กลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง (การเสริม NAC สามารถช่วยเพิ่มระดับกลูตาไธโอนให้กับร่างกายได้ดีกว่าการรับประทานกลูตาไธโอนเข้าไปโดยตรง)
NAC เป็นยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปและสั่งจ่ายโดยแพทย์ (มิใช่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม) โดยมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบเม็ด แคปซูล ยาน้ำเชื่อม แบบผงแห้ง แกรนูลสำหรับผสมก่อนใช้ แบบฉีด และแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ 600 มก. ที่เป็นที่นิยมมากที่สุด
ข้อบ่งใช้ของ NAC
ข้อบ่งใช้สำหรับ NAC ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย คือ
- ใช้เป็นยาละลายเสมหะในผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวข้นจากโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ
- ใช้เป็นยาถอนพิษที่เกิดจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
สำหรับข้อบ่งใช้โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) คือ การใช้เป็นยาละลายเสมหะและรักษาภาวะแทรกซ้อนต่อระบบทางเดินหายใจของโรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) ส่วนการใช้นอกเหนือจากข้อบ่งใช้ คือ การใช้ถอนพิษที่เกิดจากยาพาราเซตามอลและการใช้เพื่อป้องกันภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี
ประโยชน์ของ NAC (N-Acetylcysteine)
จากการศึกษาเราพบถึงประโยชน์ของ N-Acetylcysteine หรือ NAC ในการช่วยป้องกันและรักษาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ในหลายประเด็น ดังนี้
1. ช่วยละลายและขับเสมหะ โดยตัวยาจะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้มูกเหลวตัวและร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น NAC จึงเหมาะกับผู้ป่วยในโรคของระบบทางเดินหายใจที่มีเสมหะอย่างไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ โรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ วัณโรค ช่องคออักเสบ หอบหืด หรือผู้ป่วยที่เจาะคอ ฯลฯ มันออกฤทธิ์อย่างไร?ฤทธิ์ละลายเสมหะของ NAC สามารถออกฤทธิ์ได้ทั้งเสมหะที่เกิดจากการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ, มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งต่างจากยาละลายเสมหะชนิดอื่น ๆ, ออกฤทธิ์ได้โดยตรงต่อโครงสร้างเสมหะ, ช่วยเพิ่มการทำงานของขนกวัดของเยื่อบุทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ กระตุ้นการทำงานของปอด กระเพาะอาหาร (จึงช่วยให้เสมหะถูกขับออกจากหลอดลมและปอดได้มากขึ้น), มีประสิทธิภาพในการทำลายและยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์ม (Biofilm) จึงช่วยลดการมีชีวิตของเชื้อแบคทีเรียในไบโอฟิล์ม (ไบโอฟิล์มเป็นสารที่สร้างโดยเชื้อแบคทีเรียเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเชื้อได้โดยง่ายและปกป้องเชื้อยาต้านจุลชีพ ทำให้การติดเชื้อนั้นเป็นเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ) รวมทั้งช่วยลดการเกาะติดเชื้อแบคทีเรียกับเซลล์เยื่อบุชั้นผิวของทางเดินหายใจ ดังนั้น เมื่อให้ NAC ร่วมกับยาต้านจุลชีพ จะช่วยทำให้ยาสามารถผ่านเข้าไปในชั้นลึกที่สุดของไบโอฟิล์มและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ทำให้ปัญหาที่เชื้อดื้อต่อยานั้นหมดไป
2. จำเป็นต่อการสร้างกลูตาไธโอน กล่าวคือ NAC เป็นสารตั้งต้นในการผลิต L-Cysteine ให้กับร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสังเคราะห์กลูตาไธโอน โดยกลูตาไธโอนนั้นเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในร่างกายของคุณ เป็นสารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย กำจัดสารพิษ จำเป็นต่อสุขภาพภูมิคุ้มกันและสู้กับความเสียหายของเซลล์ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ NAC อาจช่วยรักษารักษาผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดจากอนุมูลอิสระ และนักวิจัยบางคนเชื่อว่ากลูตาไธโอนอาจช่วยให้อายุยืนขึ้น [1]
3. ต้านสารอนุมูลอิสระ/เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จากความสามารถของ NAC ในการเพิ่มระดับกลูตาไธโอน (สารต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน) จึงช่วยปรับปรุงทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ ได้ โดยมีการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เช่น การเสริม NAC อาจช่วยปรับปรุงและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้ม [2],[3], การเสริม NAC ในผู้ติดเชื้อ HIV ที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องช่วยเพิ่ม Cysteine ให้กับร่างกายและการทำงานของภูมิคุ้มกันดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ [4],[5], ระดับ NAC ในร่างกายที่สูงขึ้นอาจช่วยยับยั้งเชื้อ HIV-1 [6] เป็นต้น
4. ต้านเชื้อไวรัส NAC มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสต่าง ๆ อย่างไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) [7],[8] รายละเอียดไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) ที่ติดต่อระหว่างคนสู่คนผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ และเชื้อไวรัสสามารถสร้างอนุมูลอิสระแล้วไปทำลายเนื้อเยื่อปอดได้ โดยจากการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ได้รับ NAC วันละ 1,200 มก. นาน 6 เดือน มีความถี่ของการเกิดโรค ความรุนแรงของโรค และระยะเวลาที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (7) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่พบว่า NAC อาจช่วยยับยั้งการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัสเชื้อไวรัส Influenza A (H5N1) ได้ จึงอาจช่วยลดอาการและระยะเวลาของการเจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดนกได้ (8) และโควิด-19 (COVID-19) [9] รายละเอียดในโรคโควิด-19 ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนอ้วน ฯลฯ NAC อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงของโรคนี้ได้ เพราะจากการศึกษาเราพบว่า NAC มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิกันภายในร่างกาย (โดยการเพิ่มกลูตาไธโอนและลดการอักเสบผ่านการยับยั้ง NF-kB ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ), ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส (การที่ไวรัสจะเพิ่มจำนวนได้จะต้องผ่านการกระตุ้นตัวควบคุมการอักเสบที่เรียกว่า NF-kB ซึ่ง NAC สามารถยับยั้ง NF-kB ได้), ลดการเกิดโรคปอดอักเสบ (งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 37% ของผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจปกติจะเกิดโรคปอดอักเสบ เมื่อผู้ป่วยได้รับ NAC 600 มก. วันละ 2 ครั้ง พบว่าช่วยลดการเกิดโรคปอดอักเสบได้อย่างมีนัยสำคัญ), เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดและลดการอักเสบในปอด ช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้น ลดความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดการอักเสบในระดับที่รุนแรง ซึ่งช่วยลดอัตราการตายได้ (โดยลดการเกิดภาวะ Cytokine strom จากกระบวนการอักเสบที่ทำอวัยวะหลายระบบทำงานล้มเหลวจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิต) โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่การให้ NAC ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดในผู้ป่วยปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง หลังได้รับยา 3 วัน ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น ใช้เครื่องช่วยหายใจน้อยลง และมีอัตราการเสียชีวิตลดลงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการทดลองให้ NAC ชนิดฉีดร่วมกับยาต้านไวรัสและยาชนิดอื่นในผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) จากไข้หวัดใหญ่ แล้วพบว่าภาวะและปอดของผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว
5. ต้านการอักเสบ เนื่องจาก NAC มีคุณสมบัติต้านการอักเสบในระบบทางเดินหายใจที่พิสูจน์ได้จากหลายงานวิจัย เช่น การศึกษาในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ปอดมีการอักเสบจากอนุมูลอิสระจากการสูบบุหรี่ รายละเอียดเมื่อเสริม NAC 600 มก. วันละ 2 ครั้ง พบว่าช่วยทำให้สมรรถภาพปอดทำงานดีขึ้นและผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น เช่นเดียวกับอีกการศึกษาที่ NAC ช่วยลดโอกาสเกิดโรคปอดบวมในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น (ดูเพิ่มเติมในข้อถัดไป)
6. บรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) [10],[11] รายละเอียดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) แบ่งเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังและโรคถุงลมโป่งพอง มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ เพราะทำให้มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นและกระตุ้นให้เกิดสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ส่งผลทำลายเยื่อบุหลอดลมและถุงลม โดยจากการทบทวนการศึกษารวม 39 ชิ้น พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NAC วันละ 1,200 มก. เป็นระยะเวลา 3-6 เดือน มีอัตราการกำเริบของโรคลดลง ปอดทำงานดีขึ้น และอาการของโรคลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ NAC ก็ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (10) และขนาดการใช้ NAC ที่สูงขึ้นจะมีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่าขนาดต่ำ (11), โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) [10,][12] รายละเอียดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) เป็นการอักเสบหรือบวมของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้นและหลั่งเมือมากกว่าปกติจนอุดกั้นทางเดินหลอดลมให้แคบลง ส่งผลให้มีอาการไอ เสมหะเหนียวข้นมาก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด ด้วยเหตุนี้ NAC จึงถูกนำมาใช้กับโรคนี้ เพราะช่วยละลายเสมหะ เพิ่มระดับกลูตาไธโอน และอาจช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการไอ หายใจลำบาก และหายใจมีเสียงหวีด การอักเสบหรือบวมของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือก (mucous gland) โตขึ้นและหลั่งเมือกออกมามากกว่าปกติ อุดกั้นให้ช่องทางเดินหลอดลมแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอ มีเสมหะเหนียวมากขึ้น บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย, โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic fibrosis) [13], โรคหอบหืด [14], โรคหลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis), โรคพังพืดที่ปอด (Interstitial lung disease) อย่างเช่นพังผืดที่ปอดไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic pulmonary fibrosis) และไข้หวัดใหญ่ (Influenza) [15] เนื่องจาก NAC มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ (เพิ่มระดับกลูตาไธโอนและลดการอักเสบในหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด) รวมถึงความสามารถในการขับเสมหะของ NAC จึงทำให้อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ มีอาการน้อยลง สมรรถภาพปอดดีขึ้น และลดการกำเริบของโรคได้
7. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea: OSA) โดยพบว่า NAC สามารถช่วยเพิ่มอัตราการหลับลึก เพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ ลดโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจ ฯลฯ ในผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ได้ [16] รายละเอียดมีการศึกษาการใช้ NAC ในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 20 คน นาน 30 วัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับ NAC วันละ 1,800 มก. และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (วัดผลด้วยการตรวจการนอนหลับหรือ Sleep test ก่อนและหลังจบการทดลอง) พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NAC มีอัตราการหลับลึกและประสิทธิภาพการนอนหลับดีขึ้นมาก, ดัชนีภาวะหยุดหายใจ การตื่นจากการหยุดหายใจ ระยะเวลาที่หยุดหายใจนานที่สุด ระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำลง รวมทั้งความง่วงของผู้ป่วยทั้งหมดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนจำนวนครั้งที่กรนและระยะเวลาที่นอนกรนก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกันเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก
8. อาจดีต่อสุขภาพสมอง การทบทวนการศึกษาอย่างเป็นระบบ พบว่า NAC อาจช่วยให้การรู้คิดหรือการเรียนรู้ของมนุษย์ดีขึ้น [17] โดยอาจเกิดจากการที่ NAC ช่วยเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนให้กับร่างกาย (กลูตาไธโอนช่วยลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระของเซลล์สมองที่เกี่ยวข้องกับอายุ) และช่วยควบคุมระดับกลูตาเมต คือ?กลูตาเมตเป็นกรดอะมิโนที่พบได้มากที่สุดในสมองของมนุษย์ ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทและตัวส่งสัญญาณหลักของระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ พฤติกรรม และความจำ ด้วยเหตุนี้ การเสริม NAC จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีภาวะทางระบบประสาทและสมองบางอย่าง เช่น โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) [18] รายละเอียดการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า NAC อาจช่วยชะลอการสูญเสียความสามารถในการคิดของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) [19] รายละเอียดการศึกษาพบว่า NAC อาจช่วยปรับปรุงการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีนและอาการของโรคนี้ เช่น อาการสั่น แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
9. อาจปรับปรุงสภาพสุขภาพจิตและการติดสารเสพติด เนื่องจาก NAC ช่วยควบคุมระดับกลูตาเมตซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญที่สุดในสมอง (ระดับกลูตาเมตที่มากเกินไปพร้อมกับการลดลงของกลูตาไธโอนในร่างกายอาจส่งผลต่อสมองและนำไปสู่ปัญหาภาวะสุขภาพทางจิตต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคจิตเภท โรคดึงผมตนเอง พฤติกรรมชอบกัดเล็บ และการติดสารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน กัญชา นิโคติน รวมถึงการติดการพนัน เป็นต้น) โดยแพทย์อาจนำ NAC มาใช้เป็นการรักษาเสริมในโรคซึมเศร้า [20] รายละเอียดการเสริมการรักษาด้วย NAC สามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและเพิ่มความสามารถในการทำงานโดยรวมในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าและโรคไบโพลาร์, โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) [21],[22] รายละเอียดการศึกษาพบว่า NAC มีประสิทธิภาพในการใช้เสริมการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำระดับปานกลางถึงรุนแรง (21) รวมถึงโรคย้ำคิดย้ำทำในเด็กที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา (22), ใช้ลดผลกระทบของโรคจิตเภท [23] รายละเอียดการศึกษาในหลอดทดลองที่พบว่า NAC อาจช่วยลดผลกระทบด้านลบของโรคจิตเภทได้ เช่น แยกตัวออกจากสังคม ขาดความสนใจ เมินเฉย ไม่มีอารมณ์ร่วม, โรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania) [24],[25] รายละเอียดโรคดึงผมตนเอง (Trichotillomania) พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NAC วันละ 1,200-2,400 มก. มีอาการดึงผมลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (56% ต่อ 16%), พฤติกรรมชอบกัดเล็บ (Nail biting) [26] รายละเอียดการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ได้ NAC วันละ 800 มก. มีเล็บยาวเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (5.21 มม. ต่อ 1.18 มม.) สอดคล้องกับการศึกษาของ Berk และคณะ (ปี 2009) ที่การให้ NAC วันละ 2,000 มก. สามารถช่วยให้ผู้ป่วยงดการกัดเล็บเป็นเวลาหลายเดือน), และนำมาใช้ลดสิ่งเสพติดและสารเสพติด (เช่น ลดการดื่มแอลกอฮอล์ [27] ลดการติดโคเคน [28] กัญชา [29] นิโคติน [30] รวมถึงการติดการพนัน [31])
10. อาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซล์มะเร็งและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง [32],[33],[34],[35],[36] รายละเอียดการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า NAC ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็ง (32),(33) ส่วนการศึกษาขนาดเล็กในคนพบว่าการเสริม NAC อาจช่วยยับยั้งการพัฒนาของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคมะเร็ง (34) แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าสามารถป้องกันมะเร็งได้ เพราะในการศึกษาขนาดใหญ่นั้นกลับพบว่า NAC ไม่ได้ช่วยยับยั้งการก่อตัวของโรคมะเร็งศีรษะและลำคอหรือมะเร็งปอด (ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของการรอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น) (35) และการศึกษาหนึ่งในสัตว์ทดลองที่เสริม NAC ดูเหมือนจะเร่งการเติบโตของมะเร็งปอดแทน (36) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงความปลอดภัย ความเป็นไปได้ และประสิทธิภาพ, ป้องกัน DNA จากการทำลายของรังสีในระหว่างการรักษามะเร็ง [37], ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากโรคมะเร็งบางอย่าง (เช่น ความเป็นพิษต่อตับ [38] ระบบประสาท [39] เยื่อเมือกอักเสบ [40],[41] หรือการทำงานของเม็ดเลือดไม่ดี [42])
11. ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ NAC อาจช่วยลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นต่อหัวใจที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และอาการร้ายแรงอื่น ๆ [43],[44],[45] รายละเอียดมีการศึกษาที่เกี่ยวข้อง คือ การศึกษาที่พบว่า NAC สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจที่เกิดจากเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการยับยั้งการผลิตอนุมูลอิสระ (ROS) และการเกิดพังผืดต่อเนื้อเยื่อหัวใจ (43), การศึกษาที่พบว่า NAC อาจช่วยให้เส้นเลือดขยายตัวและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจวาย (44) และการศึกษาในหลอดทดลองที่พบว่าการใช้ NAC ร่วมกับชาเขียว ที่เหมือนว่าจะช่วยลดความเสียหายจากคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ที่ถูกออกซิไดซ์ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ (45)
12. อาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ การศึกษาพบว่า NAC อาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลินและบรรเทาภาวะดื้อต่ออินซูลิน เนื่องจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านการตายของเซลล์ จึงอาจใช้เสริมการรักษาในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป [46]
13. ช่วยในการเจริญพันธุ์ จากข้อมูลเราพบว่า NAC อาจช่วยในการเจริญพันธุ์ในเพศชายได้โดยการลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่เป็นตัวทำลายหรือฆ่าเซลล์สืบพันธุ์ [47],[48] รายละเอียดภาวะมีบุตรยากในเพศชาย NAC อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่ใช้เสริมการรักษาภาวะมีบุตรยากในเพศชายร่วมกับการรักษามาตรฐาน เพราะจากการศึกษาในผู้ชาย 468 คนที่มีภาวะมีบุตรยาก พบว่าการเสริม NAC 600 มก. และซีลีเนียม 200 มคก. ทุกวัน เป็นเวลา 26 สัปดาห์ สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีขึ้นได้ (47) สอดคล้องกับอีกการศึกษาในผู้ชายจำนวน 35 คนที่มีภาวะหลอดเลือดอัณฑะขอด (Varicocele) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีบุตรยาก (อัณฑะผลิตน้ำเชื้อได้น้อยและมีคุณภาพต่ำ) พบว่าการเสริมการรักษาด้วยการรับประทาน NAC วันละ 600 มก. เป็นเวลา 3 เดือนหลังการผ่าตัดรักษาภาวะนี้ (Varicocelectomy) สามารถช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของน้ำเชื้อและเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ของคู่นอนได้ 22% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (48) และยังอาจช่วยให้เกิดภาวะเจริญพันธุ์ในสตรีที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) [19],[49],[50],[51] รายละเอียดการศึกษาในผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบในเพศหญิง (PCOS) จำนวน 910 คน พบว่า NAC สามารถช่วยกระตุ้นการตกไข่และเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก แม้ว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม (49) สอดคล้องกับข้อมูลอื่น ๆ ที่พบว่า NAC อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย PCOS และอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วย PCOS ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจาก NAC เป็นยาละลายเสมหะเพิ่มความไวต่ออินซูลิน (19) และสามารถใช้เป็นการรักษาเสริมในผู้ป่วย PCOS ที่ดื้อต่อยารักษา Clomiphene citrate (50),(51)
เรื่องที่เกี่ยวข้อง : สรุปประโยชน์ของซีลีเนียม (Selenium) จากงานวิจัย !
14. ลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด สำหรับสตรีที่เคยคลอดก่อนกำหนดและมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย [19],[52] รายละเอียดการศึกษาพบว่าการรับประทาน NAC 600 มก. ร่วมกับโปรเจสเตอโรนหลังจากสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ สามารถช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำของการคลอดก่อนกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ต้องปรึกษาแพทย์ถึงความปลอดภัยก่อนใช้ NAC เสมอ
15. ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (Sudden sensorineural hearing loss : SSHL) คือ?ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันหรือโรคหูตึงเฉียบพลัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัส การอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน การบวมน้ำของหูชั้นใน การมีรูรั่วของท่อหูชั้นใน ฯลฯ การศึกษาพบว่า NAC ช่วยให้ผู้ป่วยมีระดับการได้ยินดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐาน [53] รายละเอียดจากการศึกษาประสิทธิภาพของ NAC ในการรักษาผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NAC วันละ 1,200 มก. นาน 3 เดือน เมื่อตรวจระดับการได้ยินและการทำงานของระบบประสาททรงตัวหลังการรักษา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีระดับการได้ยินดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐาน (ยาสเตียรอยด์, การให้สารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อขยายหลอดเลือด และการกินสารสกัดจากแป๊ะก๋วย)
16. ประสาทหูเสื่อมจากการได้ยินเสียงดังเป็นเวลานาน (Noise-induced hearing loss: NIHL) เสียงที่ดังสามารถสร้างอนุมูลอิสระมาทำลายเซลล์ประสาทหูชั้นในได้ ทำให้ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในหูชั้นใน และสารกลูตาไธโอนลดลง กระตุ้นให้เซลล์ประสาทหูชั้นในตาย ซึ่ง NAC สามารถป้องกันหรือรักษาภาวะนี้ได้โดยการให้สารตั้งต้น Cysteine ในการผลิตกลูตาไธโอน กำจัดอนุมูลอิสระ และยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทหูชั้นใน [54],[55] รายละเอียดโดยการศึกษาในคนงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงระดับเกือบ 90 เดซิเบล วันละ 6 ชั่วโมง ทุกวัน โดยไม่มีเครื่องป้องกันเสียงดัง พบว่ากลุ่มที่รับประทาน NAC วันละ 1,200 มก. นาน 2 สัปดาห์ สามารถลดการสูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุมาจากเสียงดังได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (54) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่ศึกษาประสิทธิภาพของ NAC ในการป้องกันประสาทหูเสื่อมในกลุ่มทหารที่ใช้อาวุธปืนโดยไม่มีเครื่องป้องกันเสียงดัง พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NAC 800 มก. หลังการฝึก 1 ชั่วโมง มีอาการประสาทหูเสื่อมน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (55)
17. ประสาทหูเสื่อมจากการใช้ยาที่เป็นพิษต่อประสาทหู เช่น ยาต้านจุลชีพกลุ่ม Aminoglycoside ที่เมื่อใช้ NAC ร่วมด้วยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดประสาทหูเสื่อมจากยานี้ได้ 80% [56] รายละเอียดการศึกษาพบว่า NAC เป็นยาที่ปลอดภัย และเมื่อใช้ NAC ร่วมกับยาต้านจุลชีพกลุ่ม Aminoglycoside จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดประสาทหูเสื่อมจากยานี้ได้ 80%
18. ล้างพิษเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายของตับและไต NAC สามารถช่วยกำจัดสารพิษและอนุมูลอิสระได้โดยการเปลี่ยนสารพิษและอนุมูลอิสระให้เป็นน้ำ และโดยการเป็นสารตั้งต้นของกลูตาไธโอนที่เป็นตัวช่วยปกป้องเซลล์ กำจัดสารพิษ และอนุมูลอิสระหลายทั้งที่เกิดภายในร่างกาย (เช่น ของเสียที่เกิดจากกระบวนเมตาบอลิซึมของเซลล์) และภายนอกร่างกาย (เช่น มลพิษ ฝุ่น ควันบุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาบางชนิด สารปรอท [57]) และด้วยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ NAC จึงอาจมีประโยชน์สำหรับโรคตับอื่น ๆ ด้วย [58] เช่น ภาวะพิษต่อตับจากแอลกอฮอล์ [59] รายละเอียดในปี ค.ศ. 2011 Nguyen-Khae และคณะได้ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจากแอลกอฮอล์ชนิดรุนแรง พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Prednisolone ร่วมกับการให้ NAC ทางเส้นเลือด มีอัตราส่วนของการรอดชีวิตใน 1 เดือนแรกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยา Prednisolone เพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่หลังจาก 1 เดือนไปแล้ว อัตราส่วนการรอดชีวิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังแสดงให้เห็นได้ว่า NAC ช่วยบรรเทาความรุนแรงของการเกิดพิษต่อตับเนื่องจากแอลกอฮอล์ได้, ภาวะพิษต่อตับจากการกินยาพาราเกินขนาด [19] รายละเอียดปกติเมื่อเราทานยาพาราเซตามอลเข้าไป ส่วนใหญ่จะถูกตับเปลี่ยนเป็นสารที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย แต่มีส่วนน้อยประมาณ 5% จะถูกตับเปลี่ยนเป็นสารพิษและอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ (ปกติร่างกายจะมีกลูตาไธโอนช่วยกำจัดสารพิษนี้ แต่เมื่อรับประทานยาพาราเกินขนาด ปริมาณของกลูตาไธโอนจะไม่เพียงพอที่จะกำจัดสารพิษดังกล่าวให้หมดไป ทำให้ตับทำงานได้ไม่ปกติ ตาย และเกิดภาวะตับวาย แต่การเสริม NAC เข้าไปจะช่วยเพิ่มสารตั้งต้นในการผลิตกลูตาไธโอน ในปริมาณที่มากพอจึงช่วยกำจัดสารพิษดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรรับประทาน NAC ภายใน 8 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาพาราเกินขนาด (NAC แบบรับประทานและแบบฉีดมีประสิทธิภาพเท่ากันในการป้องกันความเป็นพิษต่อตับ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วในการรักษาแพทย์จะให้ NAC แบบฉีดทางหลอดเลือดมากกว่า โดยปัจจัยที่สำคัญต่อประสิทธิภาพของ NAC ก็คือระยะเวลาที่เริ่มให้การรักษา ซึ่งถ้าหากให้ภายใน 8 ชั่วโมงส่วนใหญ่ก็มักจะหายดีและมีอัตราการเกิดพิษต่อตับน้อยกว่า 10% และไม่เกิดภาวะตับวายหรือเสียชีวิต), ภาวะพิษต่อตับจากการใช้ยาบางชนิด [60] รายละเอียดภาวะพิษต่อตับจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค จากการศึกษาผลของ NAC ในการปกป้องพิษต่อตับที่เกิดจากการใช้ยารักษาวัณโรค 3 ชนิด คือ Isoniazid, Rifampicin และ Pyrazinamide พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NAC วันละ 1,200 มก. เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เมื่อเจาะเลือดดูค่าเอนไซม์ของตับพบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีค่าเอนไซม์ตับสูงขึ้น นี่จึงแสดงให้เห็นว่า NAC สามารถป้องกันพิษต่อตับจากการใช้ยาต้านวัณโรคได้, ภาวะไตวายเนื่องจากการฉีดสารทึบรังสี (Contrast media) [61] รายละเอียดการศึกษาพบว่า NAC สามารถป้องกันภาวะนี้ได้จากฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ (กำจัดอนุมูลอิสระในเลือดเพื่อไม่ให้ไปทำลายไต) และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อไต โดยจากการศึกษาประสิทธิภาพของ NAC ในการป้องกันภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี (เพื่อตรวจเส้นเลือดหัวใจและใช้บอลลูนถ่างขยายหลอดเลือด) ในผู้ป่วยเส้นเลือดตีบจำนวน 354 คน พบว่ากลุ่มที่ได้ NAC สามารถลดการเกิดภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี ลดอัตราการตาย ลดอัตราการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน และลดอัตราการใช้เครื่องช่วยหายใจลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับ NAC ในขนาดที่สูงกว่า จะยิ่งมีผลในการลดตัวชี้วัดดังกล่าวได้มากขึ้น
19. เสริมฤทธิ์การกำจัดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะอาหารอักเสบ [62] รายละเอียดการศึกษาในประเทศอิหร่านที่ติดเชื้อ H. pylori จำนวน 63 ราย เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ แล้วพบว่ากลุ่มที่ได้รับการเสริมด้วย NAC 600 มก. ร่วมกับยารักษาหลัก (Tetracycline, Metronidazole, Bismuth และ Pantoprazole) มีอัตราการกำจัดเชื้อมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริม NAC อย่างมีนัยสำคัญ (67.7% ต่อ 48.15%)
20. อาจเพิ่มประสิทธิภาพของนักกีฬา การศึกษาในนักไตรกีฬาพบว่า การรับประทาน NAC สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปั่นจักรยานของนักกีฬาที่อยู่ระหว่างการฝึกซ้อมอย่างหนักได้ [63] เพราะ?NAC ช่วยเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระทั้งหมดหลังการออกกำลังกาย ลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระที่เกิดจากการออกกำลังกาย และลดการอักเสบ
ข้อควรระวังในการใช้ NAC
- ไม่ควรใช้ยานี้เด็กที่อายุน้อยกว่า 14 ปี
- ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้สูงอายุ เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
- ควรระมัดระวังในการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือมีประวัติเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยานี้อาจทำให้เกิดการระคายเคือง มีผลต่อแผล และกระตุ้นให้เกิดอาการอาเจียน อย่างไรก็ตาม หากเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว แนะนำให้ทาน NAC หลังอาหาร หรือหลีกเลี่ยงช่วงเวลากำเริบ หรือให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้
- ในผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือมีประวัติเป็นโรคนี้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เมื่อมีอาการหลอดลมบีบเกร็งให้หยุดใช้ยานี้
- ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ Acetylcysteine
- ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ซื้อ NAC จากร้านขายยาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงความจำเป็นในการเสมอเพื่อความปลอดภัย และหากใช้ NAC แล้วยังไม่ได้ผลในการรักษา หรืออาการที่เป็นอยู่ไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ตรงจุดต่อไป
ขนาดและวิธีใช้ NAC
ด้วย NAC มีหลายรูปแบบและมีคำแนะนำในการใช้ยาที่แตกต่างกันไปในแต่ละสาเหตุ ก่อนใช้ NAC คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เสมอถึงประโยชน์ ความจำเป็นในการใช้ ทางเลือกอื่น ๆ และขนาดการใช้ยาที่แน่นอน โดยตัวอย่างขนาดการใช้ NAC ในแต่ละโรคนั้นมีดังนี้
- ละลายเสมหะ (ในโรคระบบทางเดินหายใจทั่วไป) : สำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปให้ใช้ NAC ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ (ขนาด 600 มก./เม็ด) ครั้งละ 1 เม็ด ละลายในน้ำเปล่าครึ่งแก้ว (สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร) หรือขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ
- ไข้หวัดใหญ่ / โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง / ประสาทหูเสื่อม / ป้องกันพิษต่อตับจากยารักษาวัณโรค : NAC 600 มก. วันละ 2 ครั้ง (1,200 มก./วัน)
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ : NAC 600 มก. วันละ 3 ครั้ง (1,800 มก./วัน)
- ถอนพิษจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด : ทั้ง NAC แบบรับประทานและแบบฉีดเข้าเส้นเลือด แพทย์จะเป็นผู้บริหารขนาดยาที่ใช้เอง แต่จำเป็นต้องได้รับภายใน 8 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาพาราเกินขนาด
- ภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี : ในครั้งแรกแพทย์จะให้ NAC กับสารน้ำเข้าทางหลอดเลือดก่อนการฉีดสารทึบรังสี 12 ชั่วโมง (ในขนาด NAC 600-1,200 มก.) ส่วนในครั้งที่ 2-5 จะให้ NAC ขนาด 600-1,200 มก. หลังจากครั้งแรก ทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง
วิธีการใช้ : การใช้ NAC ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ให้ละลายลงในน้ำเปล่าปริมาตรประมาณครึ่งแก้ว แล้วรอให้เม็ดยาละลายจนหมดก่อนรับประทาน เพื่อลดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารและลดกลิ่นฉุน (หากกังวลเรื่องรสชาติ อาจเลือกยี่ห้อที่มีรสชาติที่ดีได้)
ยาที่ควรระวังเมื่อทานร่วมกับ NAC
- ยาปฏีชวนะเตตราไซคลีน (Tetracycline) ควรรับประทานให้ห่างจาก NAC อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ยารักษาภาวะความดันโลหิตสูงไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) และยาอื่นที่เกี่ยวข้องในกลุ่ม Nitrates เพราะ NAC อาจเสริมฤทธิ์ของยาดังกล่าวให้เข้มข้นขึ้น จนทำให้ความดันโลหิตต่ำมาก หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ และเป็นลมได้
- ยาผงถ่านหรือถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) เพราะจะลดการดูดซึมของ NAC
- ยาอื่น ๆ เช่น ยารักษาเบาหวาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์เสมอ
- ไม่ใช้ยานี้ร่วมกับยาบางชนิด เพราะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือเกิดอันตรายได้ เช่น ยาขยายหลอดเลือดกลุ่มไนเตรต ยากันชัก Carbamazepine เป็นต้น ก่อนใช้จึงควรปรึกษาแพทย์หากคุณใช้ยาใด ๆ อยู่
NAC เม็ดฟู่ละลายเสมหะ
NAC เม็ดฟู่เป็นผลิตภัณฑ์ยาที่มีส่วนประกอบของสาร Acetylcysteine ขนาด 600 มิลลิกรัม เป็นรูปแบบเม็ดฟองฟู่ใช้ละลายกับน้ำดื่ม สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยหลัก ๆ แล้วใช้เพื่อช่วยละลายและขับเสมหะจากโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ฯลฯ รวมไปถึงจากปัญหามลพิษฝุ่นควันต่าง ๆ อย่างฝุ่นละออง PM 2.5 (ที่อาจทำให้ร่างกายเสมหะขึ้นมาได้มากกว่าปกติและอาจทำให้เกิดอาการไอระคายคอตามมาได้) ซึ่งนี่ยังไม่นับรวมประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของ NAC เช่น การต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ กำจัดหรือล้างสารพิษต่าง ๆ ในร่างกาย ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ NAC จึงเหมาะเป็นหนึ่งในไอเทมแนะนำเพื่อเสริมการรักษาควบคู่ไปกับการรักษาปกติ
สำหรับสาเหตุของการเกิดเสมหะหรือเสลดนั้น นอกจากจะเกิดได้จากเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียอย่างที่เราเข้าใจกันแล้ว สิ่งแปลกหรือปัญหามลพิษฝุ่นควันต่าง ๆ รวมถึงพฤติกรรมบางอย่างเช่น การรับประทานอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่บ่อย ฯลฯ ก็อาจกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งเสมหะออกมาเคลือบในลำคอได้เช่นกัน และเมื่อหลั่งออกมามากก็จะมีความเหนียว ติดคอ ระคายเคืองคอ และสร้างความรำคาญได้ ส่วนคำแนะนำทั่วไปก็คือการดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ วันละ 8-10 แก้ว ใช้น้ำเกลือกลั้วคอ งดอาหารบางประเภท (เช่น ของทอด กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม และสูบบุหรี่) ทานยาแก้ไอ และ/หรือร่วมไปกับทาน NAC (N-Acetylcysteine) เม็ดฟู่ละลายเสมหะครับ
ในการใช้ “แนค N-Acetylcysteine เม็ดฟู่ละลายเสมหะ” นั้น เมื่อเริ่มรู้สึกระคายคอหรือเริ่มมีเสมหะใส ๆ ก็สามารถใช้ได้ทันที ไม่ต้องให้รออาการแย่ลง (ทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง) โดยตัวยาจะออกฤทธิ์โดยตรงต่อโครงสร้างเสมหะ มีประสิทธิภาพในการทำลายและยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันของเชื้อแบคทีเรีย (จึงมีผลช่วยลดการมีชีวิตของเชื้อ) รวมทั้งยังช่วยลดการเกาะติดเชื้อแบคทีเรียกับเซลล์เยื่อบุชั้นผิวของทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มการทำงานของขนกวัดในการกำจัดเสมหะ กระตุ้นปอด/กระเพาะอาหาร ทำให้เสมหะถูกขับออกจากหลอดลมและปอดได้มากขึ้น (ถ้าร่างกายมีเสมหะมากเกินไปหรือขนกวัดทำงานได้ไม่ดีก็จะทำให้เสมหะอุดตัน หายใจติดขัด และอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายลงปอด ถุงลม และเป็นที่มาของเชื้อลงปอดนั่นเอง)
ส่วน NAC เม็ดฟู่ละลายเสมหะยี่ห้อที่หมอหรือเภสัชกรมักจะแนะนำก็เป็นของแบรนด์เยอรมัน (ขนาด 600 มก./เม็ด) เพราะเม็ดฟู่ละลายตัวได้เร็ว ละลายแล้วใสไม่ขุ่นไม่เป็นก้อน ทานง่ายรสจะออกเปรี้ยว ๆ คล้ายรสส้ม (ตรงนี้แล้วแต่คนครับ บางคนก็ชอบ บางคนก็ไม่ชอบ) พกพาได้สะดวก เพราะหลอดยามีขนาดเล็กมาก (ยา 1 หลอด มี 10 เม็ดฟู่) แต่ข้อเสียก็คือราคาต่อหลอดอาจจะแพงไปหน่อยครับ
“สรุป NAC เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้โดยตรงในการละลายเสมหะและขับเสมหะ แต่ด้วยความพิเศษของโมเลกุล NAC จึงทำให้มีงานวิจัยถึงประโยชน์ในการรักษาโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่การช่วยกำจัดสารพิษและอนุมูลอิสระ, การใช้ต้านเชื้อไวรัสอย่างไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมถึงโรคโควิด-19, การใช้บรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ, ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, ปรับปรุงสุขภาพจิต, การช่วยลดการใช้สารเสพติด, ช่วยในการเจริญพันธุ์ เป็นต้น โดย NAC จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัยสูง มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย และในบ้านเรานิยมใช้ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ 600 มก.”
งานวิจัยและเอกสารอ้างอิง
- Free Radical Biology and Medicine. “S-linolenoyl glutathione intake extends life-span and stress resistance via Sir-2.1 upregulation in Caenorhabditis elegans”. (2014)
- Frontiers in Immunology. “Glutathione Fine-Tunes the Innate Immune Response toward Antiviral Pathways in a Macrophage Cell Line Independently of Its Antioxidant Properties”. (2017)
- Nutrients. “Immunomodulatory Effects of Glutathione, Garlic Derivatives, and Hydrogen Sulfide”. (2019)
- Immunology Today. “HIV-induced cysteine deficiency and T-cell dysfunction–a rationale for treatment with N-acetylcysteine”. (1992)
- AIDS. “Glutathione depletion in HIV-infected patients: role of cysteine deficiency and effect of oral N-acetylcysteine”. (1992)
- Virus Research. “Influence of glutathione availability on cell damage induced by human immunodeficiency virus type 1 viral protein R”. (2016)
- European Respiratory Journal. “Attenuation of influenza-like symptomatology and improvement of cell-mediated immunity with long-term N-acetylcysteine treatment”. (1997)
- Biochemical Pharmacology. “N-acetyl-L-cysteine (NAC) inhibits virus replication and expression of pro-inflammatory molecules in A549 cells infected with highly pathogenic H5N1 influenza A virus”. (2010)
- Therapeutics and Clinical Risk Management. “N-Acetylcysteine to Combat COVID-19: An Evidence Review”. (2020)
- European Respiratory Journal. “The effect of oral N-acetylcysteine in chronic bronchitis: a quantitative systematic review”. (2000)
- Multidisciplinary Respiratory Medicine. “N-acetylcysteine in COPD: why, how, and when?”. (2016)
- Drug Safety. “Safety of N-Acetylcysteine at High Doses in Chronic Respiratory Diseases: A Review”. (2021)
- Journal of Cystic Fibrosis. “Long-term treatment with oral N-acetylcysteine: affects lung function but not sputum inflammation in cystic fibrosis subjects. A phase II randomized placebo-controlled trial”. (2015)
- Pharmacological Research. “Effectiveness of oral N -acetylcysteine in a rat experimental model of asthma”. (2002)
- Drug Safety. “Safety of N-Acetylcysteine at High Doses in Chronic Respiratory Diseases: A Review”. (2021)
- The Indian Journal of Chest Diseases and Allied Sciences. “Anti-oxidant treatment in obstructive sleep apnoea syndrome”. (2011)
- Neuroscience & Biobehavioral Reviews. “The effect of N-acetylcysteine (NAC) on human cognition – A systematic review”. (2017)
- Chemico-Biological Interactions. “N-acetylcysteine protects memory decline induced by streptozotocin in mice”. (2016)
- Cell Journal. “A Review on Various Uses of N-Acetyl Cysteine”. (2017)
- Journal of Clinical Psychiatry. “N-Acetylcysteine in depressive symptoms and functionality: a systematic review and meta-analysis”. (2016)
- Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. “N-acetylcysteine augmentation therapy for moderate-to-severe obsessive-compulsive disorder: randomized, double-blind, placebo-controlled trial”. (2016)
- Journal of Child and Adolescent Psychopharmacology. “N-acetylcysteine (NAC) for Pediatric Obsessive-Compulsive Disorder”. (2019)
- Translational Psychiatry. “Synaptic and cellular changes induced by the schizophrenia susceptibility gene G72 are rescued by N-acetylcysteine treatment”. (2016)
- Archives Of General Psychiatry. “N-acetylcysteine, a glutamate modulator, in the treatment of trichotillomania: a double-blind, placebo-controlled study”. (2009)
- International Journal of Trichology. “N-acetylcysteine in the Treatment of Trichotillomania”. (2012)
- The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology. “The Potential Uses of N-acetylcysteine in Dermatology: A Review”. (2019)
- Drug and Alcohol Dependence. “The Effect of N-Acetylcysteine on Alcohol Use during a Cannabis Cessation Trial”. (2018)
- Neuropsychopharmacology. “N-Acetylcysteine Normalizes Glutamate Levels in Cocaine-Dependent Patients: A Randomized Crossover Magnetic Resonance Spectroscopy Study”. (2012)
- American Journal on Addictions. “N-Acetylcysteine (NAC) in Young Marijuana Users: An Open-Label Pilot Study”. (2010)
- Biological Psychiatry. “The Role of Cystine-Glutamate Exchange in Nicotine Dependence in Rats and Humans”. (2010)
- Journal of Clinical Psychiatry. “A randomized, placebo-controlled trial of N-acetylcysteine plus imaginal desensitization for nicotine-dependent pathological gamblers”. (2014)
- Molecular Carcinogenesis. “N-acetyl cysteine and penicillamine induce apoptosis via the ER stress response-signaling pathway”. (2010)
- European Journal of Gastroenterology & Hepatology. “N-acetyl cysteine inhibits human signet ring cell gastric cancer cell line (SJ-89) cell growth by inducing apoptosis and DNA synthesis arrest”. (2007)
- Cancer Epidemiology, Biomarkers & Prevention. “Effects of oral administration of N-acetyl-L-cysteine: a multi-biomarker study in smokers”. (2002)
- Journal of the National Cancer Institute. “EUROSCAN, a randomized trial of vitamin A and N-acetylcysteine in patients with head and neck cancer or lung cancer. For the EUropean Organization for Research and Treatment of Cancer Head and Neck and Lung Cancer Cooperative Groups”. (2000)
- Science Translational Medicine. “Antioxidants accelerate lung cancer progression in mice”. (2014)
- Mutation Research/Genetic Toxicology and Environmental Mutagenesis. “N-acetyl cysteine protects against ionizing radiation-induced DNA damage but not against cell killing in yeast and mammals”. (2009)
- Advances in Hematology. “Vitamin e and N-acetylcysteine as antioxidant adjuvant therapy in children with acute lymphoblastic leukemia”. (2009)
- Supportive Care in Cancer. “N-acetylcysteine has neuroprotective effects against oxaliplatin-based adjuvant chemotherapy in colon cancer patients: preliminary data”. (2006)
- Bone marrow transplant. “N-acetyl cysteine for prevention of oral mucositis in hematopoietic SCT: a double-blind, randomized, placebo-controlled trial”. (2014)
- Mayo Clinic Proceedings. “N-Acetylcysteine Rinse for Thick Secretion and Mucositis of Head and Neck Chemoradiotherapy (Alliance MC13C2): A Double-Blind Randomized Clinical Trial”. (2019)
- BMC Medicine. “Prophylactic NAC promoted hematopoietic reconstitution by improving endothelial cells after haploidentical HSCT: a phase 3, open-label randomized trial”. (2022)
- BMC Cardiovascular Disorders. “N-Acetyl Cysteine improves the diabetic cardiac function: possible role of fibrosis inhibition”. (2015)
- European Journal of Clinical Investigation. “N-acetyl-L-cysteine exerts direct anti-aggregating effect on human platelets”. (2001)
- European Journal of Pharmacology. “Green tea polyphenols inhibit human vascular smooth muscle cell proliferation stimulated by native low-density lipoprotein”. (2002)
- Clinical Biochemistry. “A review on the possible molecular mechanism of action of N-acetylcysteine against insulin resistance and type-2 diabetes development”. (2015)
- The Journal of Urology. “Efficacy of selenium and/or N-acetyl-cysteine for improving semen parameters in infertile men: a double-blind, placebo controlled, randomized study”. (2009)
- International Journal of Fertility and Sterility. “A Preliminary Study: N-acetyl-L-cysteine Improves Semen Quality following Varicocelectomy”. (2016)
- Obstetrics and Gynecology International. “N-Acetylcysteine for Polycystic Ovary Syndrome: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Clinical Trials”. (2015)
- Journal of Gynecology Obstetrics and Human Reproduction. “Comparison of metformin and N-acetyl cysteine, as an adjuvant to clomiphene citrate, in clomiphene-resistant women with polycystic ovary syndrome”. (2017)
- Fertility and Sterility. “N-acetyl-cysteine is a novel adjuvant to clomiphene citrate in clomiphene citrate–resistant patients with polycystic ovary syndrome”. (2015)
- International Journal of Gynecology & Obstetrics. “Effect of oral N-acetyl cysteine on recurrent preterm labor following treatment for bacterial vaginosis”. (2009)
- Acta Oto-Laryngologica. “N-acetylcysteine as a single therapy for sudden deafness”. (2017)
- Hearing Research. “N-Acetyl-cysteine against noise-induced temporary threshold shift in male workers”. (2010)
- Noise Health. “The efficacy of N-acetylcysteine to protect the human cochlea from subclinical hearing loss caused by impulse noise: a controlled trial”. (2011)
- Thorax. “A systematic review and meta-analysis of the efficacy and safety of N-acetylcysteine in preventing aminoglycoside-induced ototoxicity: implications for the treatment of multidrug-resistant TB”. (2015)
- Environmental Health Perspectives. “N-acetylcysteine as a potential antidote and biomonitoring agent of methylmercury exposure”. (2008)
- International Journal of Molecular Sciences. “Oxidative Stress and Inflammation in Hepatic Diseases: Therapeutic Possibilities of N-Acetylcysteine”. (2015)
- The New England Journal of Medicine. “Glucocorticoids plus N-acetylcysteine in severe alcoholic hepatitis”. (2011)
- European Journal of Gastroenterology & Hepatology. “Protective effect of N-acetylcysteine on antituberculosis drug-induced hepatotoxicity”. (2010)
- Journal of the American Heart Association. “Effectiveness of N-Acetylcysteine for the Prevention of Contrast-Induced Nephropathy: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials”. (2016)
- SN Comprehensive Clinical Medicine. “The Effect of N-Acetylcysteine on the Treatment of Persistent Helicobacter pylori Infection”. (2021)
- Medicine & Science in Sports & Exercise. “Effect of N-acetylcysteine on cycling performance after intensified training”. (2014)
ตรวจสอบทางการแพทย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 01 ก.พ. 2023