เอนไซม์ และ Bacteriocin กับการบำบัดมะเร็ง !

เอนไซม์ และ Bacteriocin กับการบำบัดมะเร็ง !

เอนไซม์เป็นสารในร่างกายที่มีบทบาทสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน การกำจัดสารพิษ และอื่น ๆ มีการศึกษาและทดลองใช้เอนไซม์ในการบำบัดโรคมาอย่างยาวนาน รวมถึงในโรคมะเร็งเอง ก็มีการวิจัยกันมาหลายสิบปีแล้ว เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีบำบัดจากธรรมชาติที่ให้ผลดี และมีผลข้างเคียงน้อย ส่วน Bacteriocin นั้นก็มีความสำคัญในอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ คือใช้ยับยั้งแบคทีเรียต่าง ๆ และปัจจุบันมีการศึกษามากมายที่พบว่าสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน

เอนไซม์ และ Bacteriocin คืออะไร ?

เอนไซม์เป็นโปรตีนมีชีวิต (Active & Kinetic) ที่มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกาย เอนไซม์แต่ละชนิดจะมีรูปร่างที่จำเพาะ และเร่งปฏิกิริยาที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่น เอนไซม์ Protease ก็มีหน้าที่ย่อยโปรตีนชนิดอื่น เป็นต้น ในร่างกายเรามีเอนไซม์กว่า 3,000 ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่าง ๆ มากกว่า 7,000 ปฏิกิริยาเลยทีเดียว นอกจากเอนไซม์จะถูกสร้างขึ้นในร่างกายเองแล้ว ก็ยังได้มาจากอาหารที่เรากินเข้าไปด้วย เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ อาหารหมัก และอาหารเสริม ซึ่งล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังให้ผลดีในการต่อต้านมะเร็งด้วย

ส่วน Bacteriocin เป็นโปรตีนที่แบคทีเรียสังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียชนิดอื่น โดยเฉพาะแบคทีเรียที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกัน หรืออยู่ในแหล่งอาศัยเดียวกัน แต่ไม่เป็นอันตรายต่อคน Bacteriocin สร้างได้จากแบคทีเรียหลายชนิด ที่ผ่านมาจะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นหลัก อย่างเช่น เป็นสารกันบูดชีวภาพ หรือใช้หมักนมเปรี้ยว

โครงสร้างเอนไซม์
IMAGE SOURCE : www.ncbi.nlm.nih.gov (โครงสร้างของเอนไซม์ Serine protease)

เอนไซม์และ Bacteriocin ต่อต้านมะเร็งได้อย่างไร ?

อ่านมาถึงตรงนี้อาจสงสัยกันว่า แล้วสารทั้งสองอย่างช่วยบำบัดมะเร็งได้ยังไง ? … ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า เซลล์มะเร็ง คือเซลล์ผิดปกติที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ แถมยังเป็นอมตะ (คือไม่ยอมตายตามกระบวนการปกติ) และเพิ่มจำนวนต่อไปไม่สิ้นสุด ส่วนหนึ่งที่ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ยอมตายง่าย ๆ เพราะมีโปรตีนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า fibrin ปกคลุมรอบ ๆ เซลล์อยู่ fibrin หนา ๆ เป็นเหมือนเกราะที่ป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันร่างกายมาทำลายเซลล์มะเร็งได้ รวมถึง ถ้าต้องการฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยยาเคมีบำบัด ก็ต้องใช้ยา dose สูง ๆ จึงจะสามารถทลายเกราะ fibrin เข้าไปทำลายเซลล์ได้ ทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงในผู้ป่วย เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย จนบางทีผู้ป่วยเองก็ทนฤทธิ์ยาไม่ไหว ดังนั้น หน้าที่สำคัญของเอนไซม์ ก็คือเข้าไปย่อยสลาย fibrin รอบ ๆ เซลล์มะเร็ง และเปิดโอกาสให้ภูมิคุ้มกัน หรือยาที่รับเข้าไป สามารถจัดการกับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดได้อีกด้วย

เอนไซม์
IMAGE SOURCE : National Institutes of Health (NIH)

นอกจากนี้ สำหรับคนที่ผ่านการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายรังสี มักจะเกิดแผลเป็นขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เอนไซม์จะช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็น โดยไปสลายโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพังผืด (fibrosis) และยังช่วยลดระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดด้วย

ข้อดีของเอนไซม์บำบัดยังไม่หมดเท่านี้ บางคนอาจจะทราบมาบ้างว่า ปัจจัยที่ทำให้เซลล์ปกติกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เกิดจากสารอนุมูลอิสระซึ่งถูกกระตุ้นโดยสารเคมี รังสี UV การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรืออื่น ๆ เข้าไปทำลายเซลล์จนเกิดความเสียหาย และการอักเสบเรื้อรัง หากเซลล์นั้นโชคร้าย เกิดการซ่อมแซมตัวเองที่ผิดพลาดขึ้น ก็อาจกลายร่างเป็นเซลล์มะเร็ง และเพิ่มจำนวนไปเรื่อย ๆ ได้ ดังนั้น เอนไซม์ที่มีหน้าที่กำจัดสารอนุมูลอิสระ และเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ จะช่วยยับยั้งการบาดเจ็บเสียหายของเซลล์ และช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง รวมถึงป้องกันการแพร่กระจายลุกลามของมะเร็งได้ด้วย

แต่บางครั้งการรักษามะเร็งก็อาจยุ่งยากกว่าที่คิด ถึงแม้ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปจัดการกับเซลล์มะเร็งโดยตรงได้แล้ว แต่หลาย ๆ ครั้ง เซลล์ปกติก็โดนลูกหลงถูกกำจัดไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ Bacteriocin จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้จำเพาะเจาะจงมากขึ้น ดังที่รู้กันแล้วว่า Bacteriocin จะไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ปกติของคน แต่เซลล์มะเร็งนั้นต่างออกไป เนื่องจากเยื่อหุ้มของเซลล์มะเร็งจะมีสัดส่วนของ phospholipid ไม่เหมือนเซลล์ทั่วไป ทำให้มีประจุเป็นลบมาก Bacteriocin ซึ่งมีประจุบวกโดยธรรมชาติ จึงเข้าจับกับเซลล์มะเร็งได้อย่างง่ายดาย และทำลายเซลล์อย่างจำเพาะ โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ปกติ การใช้เอนไซม์ร่วมกับ Bacteriocin ในการต่อต้านมะเร็ง จึงช่วยยกระดับการรักษามะเร็งให้ดีขึ้น รวดเร็วขึ้น และเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยลงนั่นเอง

กลุ่มเอนไซม์ และ Bacteriocin บำบัดมะเร็ง

เอนไซม์ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการต่อต้านมะเร็งมีหลายชนิดด้วยกัน โดยกลุ่มเอนไซม์ที่โดดเด่นที่สุดก็คือ Protease ซึ่งมีหน้าที่ย่อยโปรตีนชนิดอื่นๆ เอนไซม์กลุ่ม protease จะช่วยย่อยสลายเกราะโปรตีนที่ล้อมรอบเซลล์มะเร็งอยู่ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา ยาเคมีบำบัด และ Bacteriocin สามารถเข้ากำจัดเซลล์มะเร็งได้โดยง่าย นอกจากนี้ ยังมีเอนไซม์กลุ่มอื่น ๆ ที่สำคัญอีก เช่น เอนไซม์ที่ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระ อย่าง superoxide dismutase และ catalase ซึ่งจะยับยั้งไม่ให้เซลล์ถูกทำลายและกลายร่างเป็นเซลล์มะเร็งได้ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ซึ่งช่วยกระตุ้นการกำจัดเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม รวมถึงเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร และเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมทาโบลิซึ่ม ซึ่งจะช่วยให้ระบบย่อยอาหาร การขับถ่าย และสมดุลพลังงานเป็นปกติ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งตับ ตับอ่อน ลำไส้ กระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยและการผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารโดยตรง

DETOKA
DETOKA เสริมภูมิต้านมะเร็ง

ส่วน Bacteriocin ที่พบว่าช่วยต่อต้านมะเร็งได้ก็มีหลายชนิดเช่นกัน เช่น Nisin จากเชื้อ Leuconostoc mesenteroides, Toxin Killer จากเชื้อ Pichia fanirosa และ Pediocin จากเชื้อ P.acidilactici และ P.pentosaceus ซึ่งสามารถยับยั้งแบคทีเรีย เชื้อรา สารอะฟลาท็อกซิน ที่กระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง และยังช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งได้ โดย Bacteriocin แต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติ และกลไกในการกำจัดมะเร็งแตกต่างกันไป

โดยสรุปแล้ว ทั้งเอนไซม์และ Bacteriocin เป็นสารที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และทำให้การรักษามะเร็งได้ผลดีขึ้น มีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยน้อยลง และยังกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะเจาะจงมากขึ้น โดยไม่ไปทำลายเซลล์ปกติในร่างกาย ปัจจุบัน สารทั้งสองอย่างที่ใช้เพื่อยับยั้งมะเร็งมักอยู่ในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งหากสนใจอยากซื้อมาลองทาน ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยและน่าเชื่อถือเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง
  • Kamenícek V, Holán P, Franĕk P. [Systemic enzyme therapy in the treatment and prevention of post-traumatic and postoperative swelling]. Acta Chir Orthop Traumatol Cech. 2001;68(1):45-9.
  • Scott Gavura Science-Based Medicine: Systemic Enzyme Therapy. 2012
  • Leipner J, Saller R. Systemic Enzyme Therapy in Oncology
  • Sumanpreet K and Sukhraj K. Bacteriocins as Potential Anticancer Agents Front Pharmacol. 2015 6: 272.
เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด