ก้อนที่เต้านม อาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป
“มะเร็งเต้านม” หนึ่งในปัญหาหนักอกของผู้หญิง ที่ทำให้สาว ๆ ต้องหมั่นเช็คความผิดปกติของเต้านมอยู่เสมอ นั่นเพราะมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่ว่า ความผิดปกติ หรือก้อนที่เต้านม 80 – 90% ไม่ใช่มะเร็ง เพราะบางทีก็เป็นแค่ก้อนเนื้อที่ไม่ร้ายแรง เป็นถุงน้ำ พังผืด ก้อนไขมัน หรือมาจากการเจ็บป่วยอื่น แต่ถึงอย่างนั้น สาวๆที่รักสุขภาพก็ไม่ควรวางใจ ปล่อยจอย จนเกิดความผิดปกติของเต้านม เพราะนั่นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งอาจทำให้สูญเสียเต้านม สูญเสียความมั่นใจของผู้หญิงได้
สำรวจความผิดปกติของเต้านม
อาการผิดปกติของเต้านมเป็นสิ่งที่ตรวจพบได้ไม่ยาก คุณผู้หญิงสามารถตรวจดูเบื้องต้นด้วยตัวเองที่บ้าน หากพบมีความผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- คลำพบก้อนเนื้อ เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด อาจรู้สึกเหมือนคลำพบก้อนแข็ง ๆ หรือเป็นไตแข็ง ๆ ทั้งที่บริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้
- การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเต้านม ผิวหนังอาจดูย่นคล้ายเปลือกส้ม มีรอยบุ๋ม หรือมีผื่นแดง
- หัวนมเปลี่ยนแปลง หัวนมอาจบุ๋ม มีแผลเรื้อรัง มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกจากหัวนม
- การเปลี่ยนแปลงของขนาดหรือรูปร่างเต้านม เต้านมข้างใดข้างหนึ่งอาจมีขนาดโตหรือเล็กกว่าปกติ หรือมีรูปร่างเปลี่ยนไป
- รู้สึกเจ็บเต้านม อาจรู้สึกเจ็บเฉพาะที่หรือเจ็บทั่วทั้งเต้านม โดยอาจสัมพันธ์กับรอบเดือนหรือเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการคันเต้านม อาจรู้สึกคันเล็กน้อยหรือคันมากจนรบกวนการนอนหลับ
- มีตุ่มใสหรือตุ่มหนองบริเวณเต้านม อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือยีสต์
- รู้สึกตึงหรือบวมที่เต้านม อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือการใช้ยาบางชนิด
- เส้นเลือดบริเวณเต้านมขยายใหญ่ มักพบในผู้หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- มีน้ำนมไหลจากหัวนมโดยไม่ได้ให้นมบุตร อาจเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล หรือยาบางชนิด
ทั้งหมดนี้คือวิธีสังเกตดูเต้านมแบบเบื้องต้น จะเห็นว่ามีความผิดปกติอยู่หลายลักษณะ แต่ว่าทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่อาการชี้ชัดของโรคมะเร็ง ถ้าพบความผิดปกติ แนะนำให้เช็คอย่างละเอียดด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล ( Digital Mammogram) และอัลตร้าซาวด์ ซึ่งที่เป็นวิธีตรวจที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม
ตัวอย่างการรักษาความผิดปกติของเต้านม
อย่างที่บอกว่าความผิดปกติของเต้านมอาจไม่ใช่มะเร็งเสมอไป หากตรวจพบก้อนเนื้อ แพทย์ก็จะตรวจดูว่าก้อนเนื้อนั้นไม่เป็นเนื้อร้าย หรือมีความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง ก่อนที่จะเลือกวิธีการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดโดยการฉีดยาชา วิธีนี้สามารถเอาก้อนเนื้อออกได้หมดทั้งก้อน โดยเริ่มจากอัลตราซาวด์เพื่อกำหนดจุดอย่างแม่นยำ แล้วจึงผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก และคอนเฟิร์มอีกครั้งด้วยการอัลตราซาวด์ เพิ่มความมั่นใจ หรือการรักษาด้วยการใช้ความเย็นติดลบ เพื่อทำลายตัวเซลล์และก้อนเนื้อ วิธีนี้แผลผ่าตัดจะค่อนข้างเล็ก ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ใครบ้างควรตรวจคัดกรองเต้านม
เมื่อเข้าสู่วัยสาว การตรวจเต้านมจำเป็นมากสำหรับคุณผู้หญิง แม้ยังไม่มีอาการใดก็ให้เริ่มสังเกตจากความเปลี่ยนแปลงของเต้านมด้วยตัวเองก่อน และเมื่อถึงช่วงอายุที่เหมาะสมควรตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยเทคนิคแมมโมแกรมระบบดิจิตอล และอัลตร้าซาวด์ เพราะความผิดปกติของเต้านมรวมถึงมะเร็งเต้ามนมอาจตรวจคลำ ไม่พบหรือไม่แสดงอาการให้เห็น การตรวจเต้านมเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งเต้านม โรคหนักอกหมายเลขหนึ่งของคุณผู้หญิงได้
การตรวจคัดกรองเต้านม สาว ๆ แต่ละคน แต่ละช่วงวัยจะมีการตรวจที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ดังนี้
- ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน
- ผู้หญิงอายุ 30-35 ปี แพทย์จะแนะนำให้ตรวจด้วยอัลตราซาวด์ (Breast Ultrasound) เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว การเตรียมตัวไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาตรวจไม่นาน
- ผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 1-2 ปี ด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอล (Digital Mammogram) ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ (Breast Ultrasound) เป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็วเช่นกัน แต่มีจุดเด่นที่ให้รายละเอียดสูงกว่า และตรวจพบโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งได้ด้วย รับรองว่าความผิดปกติเล็ก ๆ เช่น จุดหินปูนหรือเนื้อเยื่อผิดปกติที่มีขนาดเล็ก หรือก้อนเนื้อขนาดจิ๋ว ก็ไม่อาจหลุดรอดไปได้ จึงเป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพสูงในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และช่วยให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดและแม่นยำมากขึ้น เพิ่มโอกาสรักษาให้หายขาดได้
- ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ ควรตรวจทุก 1 ปี และอาจต้องตรวจเต้านมด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Breast MRI) เพิ่มเติมด้วย คนกลุ่มนี้ได้แก่
- ผู้ที่มีประวัติมะเร็งเต้านมในเต้านมอีกข้างหรือเคยเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดเต้านม
- ไม่เคยตั้งครรภ์หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
- คนในครอบครัวโดยเฉพาะญาติสายตรงมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม และ/หรือมะเร็งรังไข่
- ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนวัยทองเป็นเวลานานกว่า 5 ปี
- ผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับเต้านม เช่น คลำเจอก้อน เจ็บเต้านม เต้านมรูปร่างเปลี่ยน ผิวหนังเต้านมบุ๋ม น้ำเหลืองหรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม มีแผลที่หัวนมหรือเต้านม
- ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือผู้ที่สงสัยหรือรู้ว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้วต้องเข้ารับการรักษา
- ผู้หญิงที่ใส่ใจสุขภาพหรือเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจคัดกรองด้วยเครื่องแมมโมแกรมระบบดิจิตอลและอัลตร้าซาวด์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
ข้อดีของการตรวจคัดกรองเต้านม
การเข้ารับตรวจคัดกรองเต้านมเป็นประจำมีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น…
- ตรวจพบโรคหรืออาการผิดปกติได้ไว ปัจจุบันแพทย์สามารถตรวจพบความผิดปกติหรือมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกอย่างรวดเร็วและแม่นยำ เมื่อตรวจพบได้ไว ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
- ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจยิ่งขึ้น เพราะการตรวจคัดกรองเต้านมและการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจและมีความมั่นใจมาก
ขึ้นว่าจะสามารถเอาชนะโรคได้ - เพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาด เพราะหากตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้แพทย์สามารถ ให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสรักษาโรคให้หายขาดได้สูงกว่าการตรวจพบในระยะลุกลาม
- ลดขนาดของก้อนเนื้อ มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็ก จึงทำให้การรักษา ด้วยการผ่าตัดมีความเสี่ยงน้อยลง และอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติมที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การฉายรังสี หรือการให้ยาเคมี
- ลดผลข้างเคียงจากการรักษา โดยเฉพาะการรักษามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก มักมีผลข้างเคียงน้อยกว่า การรักษาในระยะลุกลามมาก
- ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตและการแพร่กระจายของมะเร็ง ในกรณีของมะเร็งเต้านม การรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก สามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้มากและป้องกันไม่ให้มะเร็งแพร่กระจาย ไปยังอวัยวะอื่น
- เพิ่มโอกาสในการรักษาเต้านมแบบสงวนเต้านมเอาไว้ ลดความเสี่ยงจากการตัดเต้านมข้างที่พบมะเร็ง เพิ่มความมั่นใจให้ผู้หญิงกลับไปใช้ชีวิตตามปกติหลังรับการรักษา
- ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา การรักษาอาการผิดปกติในะยะเริ่มแรก มักจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาโรคในระยะลุกลาม
- ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยไม่ต้องกังวลกับความผิดปกติหรือโรคมะเร็ง
- อื่น ๆ เช่น การได้รู้จักวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง รู้จักสัญญาณเตือนของมะเร็งเต้านม เข้าใจทางเลือกในการรักษามากขึ้น และได้พูดคุยกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความกังวลใจต่าง ๆ
ความผิดปกติของเต้านมมีหลายอาการ และอาจลามไปถึงโรคมะเร็งเต้านมด้วย โชคดีที่ทุกวันนี้มีศูนย์เต้านมที่ทันสมัยพร้อมดูแลสาว ๆ อย่างครบวงจร อย่างศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคมะเร็งมากว่า 40 ปี ซึ่งจากประสบการณ์นี้ ทำให้ค้นพบเทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันและรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับเต้านม นั่นคือ “การดูแลรักษาแบบเฉพาะบุคคล” เพราะผู้ป่วยแต่ละคนย่อมมีอาการแตกต่างกัน โดยทีมแพทย์สามารถดูแลได้ทั้งการป้องกันโรค การค้นหาความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยที่แม่นยำ และการรักษาที่รวดเร็ว ด้วยแนวทางการรักษาผ่าน 3 หัวใจหลัก ได้แก่
- วินิจฉัยเร็ว (Fast Diagnosis) ทันทีที่สงสัยว่าคนไข้มีความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม แพทย์จะทำการวินิจฉัยผ่านการซักประวัติ ตรวจคัดกรอง และส่งเจาะชิ้นเนื้อ ซึ่งกระบวนการทั้งหมด สามารถทราบผลว่าเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งได้ภายใน 72 ชั่วโมง
(ประเมินจาก 98% ของผู้ป่วย) - รักษาไว (Fast Treatment) เมื่อทราบผลตรวจไว ก็สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดได้ภายใน 1 สัปดาห์ (โดยทั่วไปคือภายใน 6 สัปดาห์) ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพิ่มโอกาสหายขาดมากขึ้น
- ผลลัพธ์เป็นเลิศ (Excellent Outcome) มั่นใจได้ในผลการรักษา จากข้อมูลสถิติตัววัดชี้ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ปี 2023 พบว่า อัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดมะเร็งเต้านมเป็น 0%, อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องผ่าตัดซ้ำภายใน 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 1% และอัตราที่ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่/หัวไหล่ผลังผ่าตัดได้มากกว่า 90 องศา ที่ 100% (ภายหลังการทำกายบำบัดก่อน หลัง และติดตามผลการรักษาหลังผ่าตัด) เป็นเครื่องยืนยันถึงผลลัพธ์การรักษาที่เป็นเลิศ
ความลับของการรักษาที่ประสบความสำเร็จของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ก็คือการประชุม Multidisciplinary Team Breast Conference ของทีมแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น ศัลยแพทย์ด้านเต้านม อายุรแพทย์ด้านโรคมะเร็ง รังสีแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคมะเร็ง พยาธิแพทย์ นักรังสีเทคนิค นักกายภาพบำบัด พยาบาลวิชาชีพ นักโภชนาการ และเภสัชกร เพื่อการรักษาที่ตรงจุด แม่นยำ เกิดผลข้างเคียงน้อย เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด เมื่อเข้ารับการรักษาที่ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
นอกจากนี้ ยังมีศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านเต้านม และมีประสบการณ์ในการผ่าตัดโรคที่เกี่ยวกับเต้านมทั้งที่เป็นมะเร็งและกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับเต้านมทั้งหมด รวมถึงการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม เพื่อคงคุณลักษณะของความเป็นผู้หญิงและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยไว้
สอบถามข้อมูลหรือเข้ารับการตรวจได้ที่ศูนย์เต้านม รพ.บำรุงราษฎร์ (อาคาร A ชั้น 16) โทร 02 011 3680 หรือ คลิก www.bumrungrad.com/th/centers/breast-center-bangkok-thailand
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลแหล่งที่มาจากเว็บไซต์บำรุงราษฎร์
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)