ยาละลายเสมหะ แบบไหนที่เหมาะกับคุณ ?

Acetylcysteine (อะซีทิลซิสเทอีน) หรือ N-acetylcysteine (NAC)

ยาละลายเสมหะ

ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) เป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เสมหะบางลงและขับออกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเสมหะมากหรือเหนียวข้น ซึ่งอาจเกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคปอดอื่น ๆ

กลไกการทำงานของยาละลายเสมหะคือการทำให้เสมหะมีความเหลวและง่ายต่อการขับออกจากระบบทางเดินหายใจ โดยยาละลายเสมหะที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ Acetylcysteine, Ambroxol, และ Carbocisteine ซึ่งแต่ละตัวมีคุณสมบัติและกลไกการทำงานที่แตกต่างกันไป

บทความนี้จะเน้นไปที่ “Acetylcysteine” ซึ่งเป็นยาละลายเสมหะที่มีงานวิจัยพูดถึงประโยชน์ในหลายประเด็นและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในรูปแบบของเม็ดฟู่ละลายน้ำที่เป็นรูปแบบที่ทานได้ง่าย

Acetylcysteine คืออะไร?

Acetylcysteine (อะซีทิลซิสเทอีน) หรือ N-acetylcysteine (NAC) เป็นสารประกอบที่ได้จากการดัดแปลงกรดอะมิโนซิสเทอีน (Cysteine) ทำให้มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดีขึ้นและมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)

โครงสร้างนี้จะทำให้ Acetylcysteine มีคุณสมบัติพิเศษในการกระตุ้นการสร้างกลูตาไธโอน (Glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญในกระบวนการล้างพิษของร่างกาย นอกจากนี้ Acetylcysteine ยังมีคุณสมบัติในการละลายเสมหะ จึงถูกใช้ในยาที่รักษาโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

ในปัจจุบัน Acetylcysteine ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางระบบประสาท ฯลฯ อีกทั้งยังมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประโยชน์เพิ่มเติมของ Acetylcysteine ในการรักษาโรคอื่น ๆ อีกมากมายตามงานวิจัยในหัวข้อด้านล่าง

Acetylcysteine มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอน ซึ่งสำคัญในการล้างพิษของร่างกาย และช่วยในการละลายเสมหะ นอกจากนี้ยังใช้ในการใช้เพื่อรักษาและป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบต่าง ๆ”

หมายเหตุ : Acetylcysteine และ N-Acetylcysteine (NAC) เป็นชื่อที่ใช้เรียกสารตัวเดียวกัน ซึ่งก็คือสารประกอบที่เป็นที่รู้จักในชื่อเต็มว่า N-Acetylcysteine จึงไม่มีความแตกต่างในด้านการใช้งานหรือคุณสมบัติทางเคมี เพียงแต่ต่างกันที่ชื่อที่ใช้เรียกเท่านั้น (สาเหตุที่เรียกว่า N-Acetylcysteine ก็เพื่อต้องการเน้นถึงโครงสร้างทางเคมี)

กลไกการทำงานของ Acetylcysteine

กลไกเหล่านี้ทำให้ Acetylcysteine เป็นสารที่มีความสำคัญในการรักษาและป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดออกซิเดชันและการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาประโยชน์เพิ่มเติมของ Acetylcysteine ในการรักษาโรคอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

  • เสริมสร้างกลูต้าไธโอน (Glutathione) : Acetylcysteine มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการสร้างกลูต้าไธโอน (Glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย กลูต้าไธโอนทำหน้าที่ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระและสารพิษต่าง ๆ NAC จะเข้าสู่ร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนเป็นซิสเทอีน (Cysteine) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่จำเป็นในการสร้างกลูต้าไธโอน ทำให้ระดับของกลูต้าไธโอนในเซลล์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีความสามารถในการล้างพิษและป้องกันการเกิดความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อมากขึ้น
  • ต้านอนุมูลอิสระและการลดการอักเสบ : Acetylcysteine ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระโดยตรงอีกด้วย โดย Acetylcysteine สามารถจับกับอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ และทำให้มันกลายเป็นสารที่ไม่เป็นพิษ ซึ่งช่วยลดการอักเสบและความเครียดออกซิเดชันในร่างกาย นอกจากนี้ การลดการอักเสบนี้ยังมีผลดีต่อโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังหลายโรค เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคทางระบบประสาท ฯลฯ
  • ล้างพิษในตับ : Acetylcysteine เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะยาที่ใช้ในการล้างพิษ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาพาราเซตามอลเกินขนาดซึ่งจะทำให้เกิดสารพิษที่มีชื่อว่า NAPQI ที่สามารถทำลายเซลล์ตับได้ Acetylcysteine จะช่วยเสริมสร้างกลูต้าไธโอนในตับ ซึ่งสามารถจับกับสารพิษชนิดนี้และทำให้มันกลายเป็นสารที่ไม่เป็นพิษได้ ส่งผลให้ลดความเสียหายต่อเซลล์ตับและป้องกันการเกิดภาวะตับล้มเหลว

Acetylcysteine (NAC) vs L-Cysteine ?

ทั้ง Acetylcysteine และ L-Cysteine เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับกรดอะมิโนซิสเทอีน มีบทบาทสำคัญในการสร้างกลูต้าไธโอน (Glutathione) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย แต่ทั้งสองมีคุณสมบัติและการนำไปใช้ที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • โครงสร้างทางเคมี : L-Cysteine เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง ในขณะที่ Acetylcysteine เป็นอนุพันธ์ของ L-Cysteine ที่มีหมู่อะเซทิล (Acetyl) เชื่อมต่ออยู่ การเพิ่มหมู่อะเซทิลนี้ทำให้โครงสร้างของ Acetylcysteine มีความเสถียรมากกว่า L-Cysteine ปกติ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ง่ายกว่า
  • การดูดซึม : Acetylcysteine มีความสามารถในการละลายในน้ำและดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพและกระจายไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย โดยเฉพาะในตับและปอด ส่วน L-Cysteine จะถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารได้น้อยกว่า เนื่องจากมีความเสถียรต่ำ ทำให้มีโอกาสถูกทำลายหรือเปลี่ยนรูปก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และแม้บางส่วนจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด แต่การกระจายและการใช้ประโยชน์ในร่างกายก็ไม่เทียบเท่า Acetylcysteine
  • ประสิทธิภาพ : Acetylcysteine มีประสิทธิภาพสูงในการเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในร่างกาย จึงถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อละลายเสมหะในระบบทางเดินหายใจ ล้างพิษจากการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด และยังมีการศึกษาวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในการรักษาโรคอื่น ๆ อีกมากมาย ในขณะที่ L-Cysteine แม้จะเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูต้าไธโอนเช่นเดียวกับ Acetylcysteine แต่ก็มีประสิทธิภาพต่ำกว่าในการเพิ่มระดับกลูต้าไธโอน เนื่องจากความเสถียรและการดูดซึมของ L-Cysteine นั้นไม่ดีเท่า Acetylcysteine ดังนั้น L-Cysteine จึงมักถูกใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพทั่วไปมากกว่า และไม่ได้รับการยอมรับในการรักษาโรคเช่นเดียวกับ Acetylcysteine
  • ความปลอดภัย : เนื่องจาก Acetylcysteine เป็นยาที่ใช้ในทางการแพทย์ การใช้จึงควรได้รับการแนะนำและควบคุมโดยแพทย์หรือเภสัชกร ส่วน L-Cysteine จะถูกจัดเป็นอาหารเสริมและมีความปลอดภัยมากกว่า จึงมักไม่ต้องการ การดูแลจากแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่ต่ำกว่า
  • การนำไปใช้ : Acetylcysteine เป็นยาที่ใช้ในทางการแพทย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากงานวิจัยมากมาย จึงมีประสิทธิภาพที่ชัดเจนกว่าโดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจและการล้างพิษ ในขณะที่ L-Cysteine มักถูกใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อเสริมสุขภาพทั่วไป เช่น บำรุงสุขภาพ ผิวพรรณ และ เส้นผม แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคและไม่เหมาะสำหรับการรักษาโรคเฉพาะเจาะจง

ยา Acetylcysteine กับ ข้อบ่งใช้

Acetylcysteine เป็นยาที่แพทย์สั่งจ่ายหรือหาซื้อได้ตามร้านขายยา (ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม) มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น เม็ด แคปซูล ยาน้ำเชื่อม แบบผงแห้ง แบบฉีด และ แบบเม็ดฟู่ละลายน้ำขนาด 600 มก. (เป็นที่นิยมมากที่สุด) โดยมีข้อบ่งใช้ทางการแพทย์สำหรับ :

  • ละลายเสมหะ : ช่วยละลายและขับเสมหะในผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียวข้นจากโรคปอดหรือระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น และบรรเทาอาการไอที่เกิดจากเสมหะเหนียวข้น
  • แก้พิษยาพาราเซตามอล : ใช้รักษาผู้ป่วยที่กินยาพาราเซตามอลเกินขนาด

ประโยชน์ Acetylcysteine ตามงานวิจัย

1. ละลายและขับเสมหะ โดย Acetylcysteine จะช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้มูกเหลวและร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจที่มีเสมหะเหนียวข้น เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ ปอดเรื้อรัง ฯลฯ นอกจากนี้ Acetylcysteine ยังช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียและต้านอนุมูลอิสระ ทำลายไบโอฟิล์มที่เชื้อแบคทีเรียสร้างขึ้น ช่วยให้ยาปฏิชีวนะทำงานได้ดีขึ้นและลดปัญหาการดื้อยา นอกจากนี้ยังกระตุ้นการทำงานของขนกวัดในทางเดินหายใจ ช่วยให้เสมหะขับออกได้มากขึ้น

2. บรรเทาอาการไอ โดยเฉพาะอาการไอที่เกิดจากเสมหะเหนียวข้นในโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจาก Acetylcysteine มีฤทธิ์ในการละลายเสมหะ จึงทำให้เสมหะเหลวลงและขับออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการไอที่เกิดจากการระคายเคืองของเสมหะในทางเดินหายใจได้

3. เสริมภูมิคุ้มกัน/ต้านอนุมูลอิสระ Acetylcysteine มีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์กลูต้าไธโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกาย กำจัดสารพิษ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจช่วยรักษาผลกระทบจากอนุมูลอิสระและช่วยให้อายุยืน (อ้างอิง 1) การศึกษาพบว่าการใช้ Acetylcysteine อาจช่วยปรับปรุงและฟื้นฟูการทำงานของระบบภูมิคุ้ม (2,3), ช่วยฟื้นฟูภูมิคุ้มกันในผู้ติดเชื้อ HIV (4,5) เป็นต้น

4. ต้านการอักเสบ จากการที่ Acetylcysteine เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กลูต้าไธโอน จึงมีส่วนช่วยในการลดการอักเสบในโรคในทางเดินหายใจจากทั้งโรคติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ ซึ่งได้รับการยืนยันจากหลายการศึกษา เช่น ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีการอักเสบจากการสูบบุหรี่ การเสริม Acetylcysteine 600 มก. วันละ 2 ครั้ง ช่วยปรับปรุงสมรรถภาพปอดและลดอาการของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า Acetylcysteine สามารถลดโอกาสเกิดโรคปอดบวมในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอีกด้วย (อ้างอิง 6)

5. ต้านเชื้อไวรัส Acetylcysteine มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 จากงานวิจัยพบว่า การให้ Acetylcysteine แบบฉีดในผู้ป่วยปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางช่วยให้ผู้ป่วยหายใจดีขึ้น ลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิตลดลง หรือการให้ร่วมกับยาต้านไวรัสในผู้ป่วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อ พบว่าปอดฟื้นตัวเร็วขึ้น หรือการศึกษาในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่พบว่าการเสริม Acetylcysteine วันละ 1,200 มก. นาน 6 เดือน ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของโรค และระยะเวลานอนโรงพยาบาลลง (อ้างอิง 7) และการศึกษาในผู้ป่วยโควิด-19 Acetylcysteine อาจช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดการเพิ่มจำนวนของไวรัส ลดการอักเสบในปอด และลดอัตราการตายจากภาวะ Cytokine storm ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้ (6) เป็นต้น

6. บรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจาก Acetylcysteine มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และช่วยขับเสมหะ ทำให้อาการของโรคระบบทางเดินหายใจดีขึ้น สมรรถภาพปอดเพิ่มขึ้น และลดการกำเริบของโรค เช่น ในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) การใช้ NAC 1,200 มก. ต่อวันเป็นเวลา 3-6 เดือน ช่วยลดอาการและความถี่ของการกำเริบของโรคได้อย่างมีนัยสำคัญ  (อ้างอิง 8) รวมถึงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังที่ Acetylcysteine ช่วยละลายเสมหะและลดการอักเสบ (9) นอกจากนี้ NAC ยังมีประโยชน์ในโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ เช่น ซิสติกไฟโบรซิส (10) หอบหืด (11) โรคหลอดลมโป่งพอง โรคพังพืดที่ปอด และไข้หวัดใหญ่ (12)

7. อาจช่วยลดพิษต่อเซลล์จากฝุ่น PM 2.5 การศึกษาของ Xiaobei  Deng และคณะในปี 2014 พบว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สามารถกระตุ้นการตายของเซลล์ปอดได้ผ่านหลายช่องทาง โดย PM 2.5 จะทำให้เกิดการเครียดจากออกซิเดชัน (Oxidative stress) ซึ่งนำไปสู่การทำงานผิดปกติของเซลล์และการตายในที่สุด โดยการใช้สารต้านอนุมูลอิสระอย่าง Acetylcysteine สามารถลดผลกระทบของ PM 2.5 ต่อการตายของเซลล์ได้ (กลุ่มที่เสริม Acetylcysteine เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริม 25% และ มีอัตราการตายน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริมอย่างมีนัยสำคัญ) (13)

Acetylcysteine เป็นสารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ช่วยเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนในร่างกาย ช่วยละลายเสมหะ ทำให้มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ นอกจากนี้ NAC ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสต่าง ๆ มีศักยภาพในการลดความเสียหายต่อตับและไตจากสารพิษและยาบางชนิด จึงถือเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อการรักษาและป้องกันหลากหลายโรค”

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยา

  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงความจำเป็นในการใช้ยานี้เสมอ เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพโรคของคุณ
  • ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี, ผู้ที่แพ้ยา Acetylcysteine และ ในผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria)
  • หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก และ ผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เพื่อความปลอดภัย
  • ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นหรือเคยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร เพราะยานี้อาจทำให้แผลในกระเพาะกำเริบและกระตุ้นให้เกิดอาการอาเจียนได้ (หากเกิดผลข้างเคียงดังกล่าว แนะนำให้ทานยานี้หลังอาหาร หรือหลีกเลี่ยงช่วงเวลากำเริบ หรือให้ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนใช้)
  • ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นหรือเคยเป็นโรคหอบหืด เพราะยานี้อาจทำให้อาการหอบหืดแย่ลง หากมีอาการกำเริบ ควรหยุดยาและปรึกษาแพทย์ทันที
  • ก่อนใช้ยาใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ เพราะการใช้ยานี้ร่วมกับยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น
    • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น เตตราไซคลีน (Tetracycline) ควรรับประทานให้ห่างจากยา Acetylcysteine อย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อหลีกเลี่ยงการลดประสิทธิภาพของยา
    • ยาถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal) อาจลดการดูดซึมของยา Acetylcysteine ทำให้ยาได้ผลไม่เต็มที่
    • ยาลดความดันโลหิตสูง เช่น ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) และยาอื่นที่เกี่ยวข้องในกลุ่ม Nitrates อาจเสริมฤทธิ์ยาเหล่านี้ ทำให้ความดันโลหิตลดลงมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนหัว และอาจเป็นลม
    • ยาขยายหลอดเลือดกลุ่มไนเตรตและยากันชัก (เช่น Carbamazepine) การใช้ร่วมกันอาจลดประสิทธิภาพของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง
    • ยาอื่น ๆ เช่น ยารักษาเบาหวาน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์เสมอ
  • เก็บยานี้ให้พ้นมือเด็ก อ่านฉลากยาให้ละเอียด และตรวจสอบวันหมดอายุและวิธีการใช้ยาให้ถูกต้อง
  • หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา หรือใช้แล้วไม่ได้ผลหรืออาการไม่ดีขึ้น รวมถึงเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทันที

วิธีใช้ยา Acetylcysteine

Acetylcysteine เป็นยาที่มีหลายรูปแบบและมีคำแนะนำในการใช้แตกต่างกันไปตามสาเหตุที่ใช้ สำหรับการใช้ยา Acetylcysteine ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ให้ละลายเม็ดยาลงในน้ำเปล่าประมาณครึ่งแก้ว รอให้ยาละลายจนหมดก่อนดื่ม (เพื่อลดการระคายเคืองต่อทางเดินอาหารและลดกลิ่นฉุนของยา)

ตัวอย่างขนาดการใช้ยา Acetylcysteine ในแต่ละโรค:

  • ใช้ละลายเสมหะ (ในโรคระบบทางเดินหายใจทั่วไป) : สำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 14 ปีขึ้นไป ใช้ Acetylcysteine 600 มก. ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ ครั้งละ 1 เม็ด ละลายในน้ำครึ่งแก้ว รับประทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร
  • ไข้หวัดใหญ่ / โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง / ประสาทหูเสื่อม / ป้องกันพิษต่อตับจากยารักษาวัณโรค : ใช้ Acetylcysteine 600 มก. วันละ 2 ครั้ง (รวม 1,200 มก./วัน)
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ : ใช้ตามคำสั่งแพทย์โดย รับประทาน Acetylcysteine 600 มก. วันละ 3 ครั้ง (รวม 1,800 มก./วัน)
  • การถอนพิษยาพาราเซตามอลเกินขนาด : ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • ภาวะไตวายจากการฉีดสารทึบรังสี : ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • ลดความเป็นพิษของเซลล์จากฝุ่น PM2.5 : ใช้ภายใต้การแนะนำของแพทย์ สำหรับคำแนะนำโดยทั่วไปคือใช้ Acetylcysteine 600 มก. วันละ 2-3 ครั้ง

วิธีเลือกซื้อ Acetylcysteine ฉบับผู้บริโภค

หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยในการละลายเสมหะและทำให้การหายใจสะดวกขึ้น “NAC” หรือ Acetylcysteine คือตัวเลือกที่ผู้คนไว้วางใจและนิยมใช้มากที่สุด หนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือเม็ดฟู่ละลายน้ำขนาด 600 มก. ซึ่งไม่เพียงแต่ใช้ง่าย แต่ยังมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตัวคุณนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากการรักษาอย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้น ต่อไปนี้คือคำแนะนำในการเลือกซื้อ NAC ที่เราแนะนำ

  1. ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร : ก่อนตัดสินใจซื้อยาละลายเสมหะ Acetylcysteine ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมกับอาการและความจำเป็นของคุณ รวมถึงขนาดยาที่เหมาะสมและวิธีการใช้ที่ถูกต้อง หรือหากมีข้อสงสัยอื่น ๆ หรือ มีโรคประจำตัว หรือแพ้อาหาร ก็ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเพื่อขอรับคำแนะนำได้โดยตรง
  2. ตรวจสอบความเข้มข้น/รูปแบบของตัวยา : ยาเม็ดฟู่ Acetylcysteine มีหลายขนาดความเข้มข้น เช่น 200 มก., 600 มก. เป็นต้น นอกจากเม็ดฟู่แล้ว อาจมีรูปแบบอื่น ๆ เช่น ผงชง โดยควรเลือกให้เหมาะสมกับความสะดวกในการใช้หรือเลือกตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  3. ตรวจสอบยี่ห้อ/แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ : ควรเลือกซื้อจากบริษัทยาที่มีชื่อเสียงและได้รับการรับรองคุณภาพ เพื่อความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของยา และควรตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.)
  4. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันความชื้น : เนื่องจากเม็ดฟู่ Acetylcysteine จะมีความไวต่อความชื้นค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีการปิดผนึกอย่างดีและเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้ยาเสื่อมสภาพจากความชื้นในอากาศได้หลังเปิดใช้ครั้งแรก
  5. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติดี/ทานง่าย : เนื่องจากเม็ดฟู่ Acetylcysteine หรือ NAC บางยี่ห้อมักมีรสชาติเปรี้ยวมากหรือมีกลิ่นกำมะถันโดด หากคุณไม่ชอบ อาจเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับปรุงรสชาติ เพื่อความสะดวกในการรับประทานอย่างต่อเนื่อง
  6. ตรวจสอบวันหมดอายุ/ราคา/แหล่งซื้อที่ : ควรตรวจสอบวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อและเปรียบเทียบราคาจากหลายร้านหรือผู้ขาย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าจากแหล่งที่ไม่ชัดเจนหรือมีราคาต่ำเกินไป เพราะอาจเป็นของปลอมหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
  7. อ่านฉลากอย่างละเอียด : ควรอ่านฉลากเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนประกอบ (ตรวจสอบว่ามีส่วนประกอบหลักคือ Acetylcysteine หรือไม่ และไม่มีส่วนผสมที่คุณอานแพ้), ขนาดยา (ตามที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ), วิธีใช้ (โดยเฉพาะปริมาณน้ำที่ใช้ในการละลายและช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับประทาน) และข้อควรระวังต่าง ๆ

ตัวอย่างยา Acetylcysteine ที่แนะนำ

สำหรับผู้ที่กำลังมองหายาละลายเสมหะ ผลิตภัณฑ์ยา “MUCLEAR” (มิวเคลียร์) นับเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ ด้วยรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำที่ละลายง่าย รสชาติดี ช่วยให้การรับประทานยาเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมียี่ห้ออื่น ๆ ที่มีตัวยา Acetylcysteine 600 มก. ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำเช่นกัน เช่น ซิสทาลีน (Cystaline) และแนคลอง (NAC Long) แต่สำหรับยี่ห้อ MUCLEAR แล้วจะมีรายละเอียดและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ดังนี้

#ทำไมต้อง MUCLEAR
MUCLEAR เป็นผลิตภัณฑ์ยาในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ (ใน 1 หลอดบรรจุ 10 เม็ด แต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยา Acetylcysteine 600 มิลลิกรัม) ซึ่งออกแบบมาเพื่อความสะดวกในการใช้งาน เพียงแค่ละลายเม็ดยาลงในน้ำเปล่าและดื่มได้ทันที ทำให้ลดความเสี่ยงในการระคายเคืองกระเพาะอาหารที่อาจเกิดจากการรับประทานยารูปแบบอื่น ๆ และทำให้การรักษากลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นในชีวิตประจำวัน

#ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ
MUCLEAR ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ด้วยเลขทะเบียนตำรับยา 1C 29/54 และเลขที่ ฆท. 834/2567 ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ยานี้ผลิตโดยบริษัท MEGA We care ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับความเชื่อถือในวงการผลิตยามาอย่างยาวนาน

#จุดเด่นที่แตกต่าง!
MUCLEAR โดดเด่นด้วยการออกแบบหลอดบรรจุภัณฑ์ที่มีตัวป้องกันความชื้นที่หนาแน่น ช่วยให้เม็ดยาชื้นยาก ยังคงคุณภาพของยาได้นานขึ้น อีกทั้งยังมีรสชาติที่ดี รสโซดามะนาวที่หอมสดชื่น ไม่มีน้ำตาล และไม่มีกลิ่นกำมะถันที่อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายขณะรับประทาน ทำให้การดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น

MUCLEAR ผลิตภัณฑ์ยา Acetylcysteine 600 มิลลิกรัม ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ (ใน 1 หลอดบรรจุ 10 เม็ด)
MUCLEAR ผลิตภัณฑ์ยา Acetylcysteine 600 มิลลิกรัม ในรูปแบบเม็ดฟู่ละลายน้ำ (ใน 1 หลอดบรรจุ 10 เม็ด)

“สรุปแล้ว มิวเคลียร์ (MUCLEAR) เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังมองหายาละลายเสมหะที่ไม่เพียงแค่มีคุณภาพสูง แต่ยังใช้งานสะดวกและทานง่าย ด้วยรสชาติหอมสดชื่นของโซดามะนาวที่ทำให้การรับประทานยาเป็นเรื่องง่าย ไม่มีกลิ่นกำมะถันกวนใจ ทำให้ MUCLEAR เป็นทางเลือกที่ช่วยให้การดูแลสุขภาพของคุณเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น”

ข้อควรทราบ : ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลทั่วไป ไม่ควรถือเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคุณ

การศึกษาอ้างอิง
  1. Free Radical Biology and Medicine. “S-linolenoyl glutathione intake extends life-span and stress resistance via Sir-2.1 upregulation in Caenorhabditis elegans”. (2014)
  2. Frontiers in Immunology. “Glutathione Fine-Tunes the Innate Immune Response toward Antiviral Pathways in a Macrophage Cell Line Independently of Its Antioxidant Properties”. (2017)
  3. Nutrients. “Immunomodulatory Effects of Glutathione, Garlic Derivatives, and Hydrogen Sulfide”. (2019)
  4. Immunology Today. “HIV-induced cysteine deficiency and T-cell dysfunction–a rationale for treatment with N-acetylcysteine”. (1992)
  5. AIDS. “Glutathione depletion in HIV-infected patients: role of cysteine deficiency and effect of oral N-acetylcysteine”. (1992)
  6. Therapeutics and Clinical Risk Management. “N-Acetylcysteine to Combat COVID-19: An Evidence Review”. (2020)
  7. European Respiratory Journal. “Attenuation of influenza-like symptomatology and improvement of cell-mediated immunity with long-term N-acetylcysteine treatment”. (1997)
  8. European Respiratory Journal. “The effect of oral N-acetylcysteine in chronic bronchitis: a quantitative systematic review”. (2000)
  9. Drug Safety. “Safety of N-Acetylcysteine at High Doses in Chronic Respiratory Diseases: A Review”. (2021)
  10. Journal of Cystic Fibrosis. “Long-term treatment with oral N-acetylcysteine: affects lung function but not sputum inflammation in cystic fibrosis subjects. A phase II randomized placebo-controlled trial”. (2015)
  11. Pharmacological Research. “Effectiveness of oral N -acetylcysteine in a rat experimental model of asthma”. (2002)
  12. Drug Safety. “Safety of N-Acetylcysteine at High Doses in Chronic Respiratory Diseases: A Review”. (2021)
  13. Apoptosis. “Airborne fine particulate matter induces multiple cell death pathways in human lung epithelial cells”. (2014)

ตรวจสอบทางการแพทย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2024

เภสัชกรประจำเว็บเมดไทย
ประวัติผู้เขียน : จบการศึกษาปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มีประสบการณ์การทำงานร้านยามากกว่า 5 ปี เคยเป็นผู้จัดการร้านขายยา เคยเป็นผู้ฝึกอบรมผลิตภัณฑ์กลุ่มสุขภาพ เช่น วิตามิน อาหารเสริม เครื่องมือแพทย์ และยา ปัจจุบันทำงานเป็นเภสัชกรอยู่โรงพยาบาลเอกชน โดยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ