แอปริคอต
แอพริคอต หรือ แอปริคอต (Apricot) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus armeniaca L. เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน และภายหลังได้แพร่ขยายไปยังประเทศอิตาลีและอังกฤษ โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของแอปริคอตก็คือประเทศจีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แอฟริกา
ลักษณะของแอปริคอต
- ต้นแอปริคอต เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของดอกมีสีขาว
- ดอกแอปริคอต
- ผลแอปริคอต ผลมีลักษณะกลม มีขนาดเล็กกว่าลูกท้อ มีร่องกลางผลชัดเจน มีเปลือกบางและมีขนคล้ายกำมะหยี่ปกคลุมอยู่ โดยผลดิบจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลือง เนื้อแห้ง แน่น มีรสเปรี้ยวและหอม และมีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ในผล
สรรพคุณของแอปริคอต
- แอปริคอตเป็นผลไม้ที่มีแคลอรีต่ำ จึงเป็นผลไม้ที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนัก
- การรับประทานแอปริคอตเป็นประจำจะช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย
- ใช้รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยในการฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ป้องกันหวัด
- ช่วยรักษาระดับความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย (โพแทสเซียมและโซเดียม)
- แอปริคอตอุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ และเมล็ดแอปริคอตมีวิตามินบี 17 (Amygdalin) ซึ่งเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง
- ช่วยป้องกันความเสื่อมทางสมอง (เมล็ดแอปริคอต)
- ช่วยรักษาภาวะโลหิตจาง และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง (แอปริคอตอบแห้ง)
- ช่วยบำรุงหัวใจ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยควบคุมความดันโลหิต
- ช่วยลดระดับไขมันเลวหรือ LDL
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืด วัณโรค และโรคหลอดลมอักเสบ
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ชะละความเสื่อมของเลนส์ตา และช่วยป้องกันโรคต้อกระจก
- แอปริคอตอบแห้ง จะมีลักษณะเหนียวและมีคุณสมบัติช่วยบำรุงฟันให้แข็งแรง
- ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
ประโยชน์ของแอปริคอต
- แอปริคอตสดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในสบู่ เจลขัดผิว หรือผงมาส์กพอกหน้า ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิวและทำความสะอาดผิว
- สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น น้ำเชื่อม ฟรุตสลัด โยเกิร์ต แยม เบเกอรี่ เค้ก ไอศกรีม น้ำผลไม้ แอปริคอตอบแห้ง
- ทรีตเม้นต์แอปริคอตช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ด้วยการใช้เนื้อแอปริคอตสุกนำมาบดให้ละเอียดแล้วนำมาทาให้ทั่วบริเวณใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก
คุณค่าทางโภชนาการของแอปริคอตดิบ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 48 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 11 กรัม
- น้ำตาล 9 กรัม
- เส้นใย 2 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- โปรตีน 1.4 กรัม
- วิตามินเอ 96 ไมโครกรัม 12%
- เบตาแคโรทีน 1,094 ไมโครกรัม 10%
- ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 5 0.24 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 6 0.054 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 9 9 ไมโครกรัม 2%
- วิตามินซี 10 มิลลิกรัม 12%
- วิตามินอี 0.89 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินเค 3.3 ไมโครกรัม 3%
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.077 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุฟอสฟอรัส 23 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุโพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม 2%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คุณค่าทางโภชนาการของแอปริคอตอบแห้ง ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 241 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 63 กรัม
- น้ำตาล 53 กรัม
- เส้นใย 7 กรัม
- ไขมัน 0.5 กรัม
- โปรตีน 3.4 กรัม
- วิตามินเอ 180 ไมโครกรัม 23%
- เบตาแคโรทีน 2.163 ไมโครกรัม 20%
- วิตามินบี 1 0.015 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 3 2.589 มิลลิกรัม 17%
- วิตามินบี 5 0.516 มิลลิกรัม 10%
- วิตามินบี 6 0.143 มิลลิกรัม 11%
- วิตามินบี 9 10 ไมโครกรัม 3%
- วิตามินซี 1 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินอี 4.33 มิลลิกรัม 29%
- วิตามินเค 3.1 ไมโครกรัม 3%
- ธาตุแคลเซียม 55 มิลลิกรัม 6%
- ธาตุเหล็ก 2.66 มิลลิกรัม 20%
- ธาตุแมกนีเซียม 32 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุแมงกานีส 0.235 มิลลิกรัม 11%
- ธาตุฟอสฟอรัส 71 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุโพแทสเซียม 1,162 มิลลิกรัม 25%
- ธาตุโซเดียม 10 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุสังกะสี 0.29 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : หนังสือผลไม้ 111 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, นิดดา หงษ์วิวัฒน์), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), www.healthyeating.sfgate.com, www.wiki-fitness.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)