แม่กลอน สรรพคุณและประโยชน์ของต้นแม่กลอน (มังแข็ง)

แม่กลอน

แม่กลอน ชื่อวิทยาศาสตร์ Lasianthus verticillatus (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lasianthus andamanicus Hook.f.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรแม่กลอน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะทาดง (เพชรบูรณ์), ปล้องต้น มังแข็ง (ภาคใต้), ส่วนประจวบคีรีขันธ์เรียก “แม่กลอน” เป็นต้น

ลักษณะของต้นแม่กลอน

  • ต้นแม่กลอน จัดเป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นได้ถึง 3 เมตร ตามกิ่งก้านมีขน
  • ใบแม่กลอน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนานแคบหรือเป็นรูปใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 12-18 เซนติเมตร มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
  • ดอกแม่กลอน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีหลายดอก ก้านดอกสั้น กลีบดอกเป็นสีขาวแกมชมพูและมีขน
  • ผลแม่กลอน ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีสันมน ๆ และมีขนปกคุลม

แม่กลอน

สรรพคุณของแม่กลอน

  • ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นและรากแม่กลอน นำมาผสมกับหัวยาข้าวเย็น (ไม่ได้ระบุว่าข้าวเย็นเหนือหรือข้าวเย็นใต้) ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย (ลำต้น, ราก)
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “แม่กลอน”.  หน้า 140.

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด