เชอร์รี่
เชอรี่ หรือ เชอร์รี่ (Cherry) จัดอยู่ในวงศ์ ROSACEAE ในตระกูลพรุน เช่นเดียวกับ พลัม ลูกท้อ บ๊วย อัลมอนด์ และนางพญาเสือโคร่ง
เชอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว ลักษณะของผลมีลักษณะกลม ขนาดเล็ก เปลือกมีทั้งสีแดงเข้ม สีแดง สีส้ม และสีเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
โดยทั่วไปแล้วเราจะแบ่งเชอร์รี่ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเชอร์รี่หวาน และกลุ่มเชอร์รี่หวานอมเปรี้ยว โดยแหล่งที่เพาะปลูกเชอร์รี่มากที่สุดก็คือทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย รวมไปถึงญี่ปุ่น เพราะเชอร์รี่เป็นผลไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น
เชอร์รี่ เป็นผลไม้ที่นิยมซื้อมารับประทานสด ๆ หรือจะนำไปคั้นเป็นน้ำเชอร์รี่ก็ได้ หรือจะนำไปทำขนมต่าง ๆ เช่น แยมเชอร์รี่ พายเชอร์รี่ เชอร์รี่เชื่อม โดยสายพันธุ์เชอร์รี่ที่นิยมนำมารับประทานมากที่สุดก็คือ เชอร์รี่ป่า (Prunus avium)
เชอร์รี่เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ แต่ก็มีพิษซ่อนอยู่ในเมล็ดด้วย นั่นก็คือ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ โดยเฉพาะเวลาที่เคี้ยว หรือบดผลเล็ก ๆของเชอร์รี่ เชอร์รี่จะผลิตสารนี้โดยอัตโนมัติ แต่เป็นพิษที่ค่อนข้างอ่อน อย่างมากก็แค่ทำให้มีอาการปวดศีรษะ เวียนหัว อาเจียน แต่หากได้รับมากจนเกินไปก็อาจจะเป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต อาจทำให้ไตวายหรือเกิดอาการชักจนเสียชีวิตได้ !
และสิ่งที่จะต้องระวังอีกเรื่องก็คือ เชอร์รี่ที่เราเห็นอยู่บนขนมเค้กตามท้องตลาด ที่มีสีแดงดูน่ารับประทานส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการย้อมสี การเลือกรับประทานก็ควรดูให้ดี ๆ เพราะอาจจะเสี่ยงทำให้เกิดภาวะเสื่อมในไตได้
สรรพคุณของเชอร์รี่
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
- ประโยชน์ของเชอรี่ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน
- ช่วยลดการผลิตเมลานิน จึงมีส่วนช่วยทำให้ผิวคุณขาวขึ้นได้
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยและความแก่
- สารโพลีฟีนอล (Pholyphenol) ในผลเชอร์รี่ช่วยป้องกันเซลล์ดีเอ็นเอถูกทำลายได้
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
- สารไลโคปีน (Lycopene) ในผลเชอร์รี่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งมดลูก มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึงร้อยละ 20
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้
- สารแอนโทไซยานิน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน (รับประทานแต่พอเหมาะ ไม่งั้นจะเป็นเบาหวานซะเอง)
- ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อหวัดและช่วยรักษาโรคหวัด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
- มีส่วนช่วยลดปริมาณไขมันในเลือด (Lycopene)
- ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดีกว่าการรับประทานยา ทำให้อารมณ์ดีมีความสุข เพราะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
- ช่วยลดระดับของไขมันเลวหรือไขมันชนิดร้าย (LDL)
- เชอร์รี่มีสรรพคุณช่วยระบายและยังช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยบรรเทาอาการปวด แพทย์ตะวันตกเรียกเชอร์รี่ว่า “แอสไพรินธรรมชาติ”
- ช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการเจ็บปวด อันเนื่องมาจากการออกกำลังกายหรือกิจกรรมหนัก ๆ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคเกาต์ อาการข้ออักเสบ ปวดบวมตามข้อ ได้มากถึง 37% หากรับประทานต่อเนื่องเป็นประจำ
- ช่วยลดอาการแพ้ต่าง ๆ รวมไปถึงโรคภูมิแพ้อีกด้วย
- ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดความอ่อนล้าจากการออกกำลังกาย
ประโยชน์ของเชอร์รี่
- การรับประทานเชอร์รี่จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกชดชื่นและเพิ่มความกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น
- นอกจากจะรับประทานเป็นผลไม้สดแล้ว สามารถนำไปคั้นเป็นน้ำเชอร์รี่ก็ได้ หรือจะนำไปทำขนมต่าง ๆ เช่น แยมเชอร์รี่ พายเชอร์รี่ เชอร์รี่เชื่อม
คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่หวาน (สีแดง) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 63 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 16 กรัม
- น้ำ 82.25 กรัม
- น้ำตาล 12.8 กรัม
- เส้นใย 2.1 กรัม
- ไขมัน 0.2 กรัม
- โปรตีน 1.06 กรัม
- วิตามินเอ 3 ไมโครกรัม 0%
- เบตาแคโรทีน 38 ไมโครกรัม 0%
- ลูทีนและซีแซนทีน 85 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.027 มิลลิกรัม 2%
- วิตามินบี 2 0.033 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 3 0.154 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินบี 5 0.199 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 6 0.049 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 9 4 ไมโครกรัม 1%
- โคลีน 6.1 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินซี 7 มิลลิกรัม 8%
- วิตามินเค 2.1 ไมโครกรัม 2%
- ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม 1%
- ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.07 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุโพแทสเซียม 222 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุโซเดียม 0 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.07 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คุณค่าทางโภชนาการของเชอร์รี่เปรี้ยว (สีแดง) ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 50 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 12.2 กรัม
- น้ำตาล 8.5 กรัม
- เส้นใย 1.6 กรัม
- ไขมัน 0.3 กรัม
- โปรตีน 1 กรัม
- วิตามินเอ 64 ไมโครกรัม 8%
- เบตาแคโรทีน 770 ไมโครกรัม 7%
- ลูทีนและซีแซนทีน 85 ไมโครกรัม
- วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 3 0.4 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 6 0.044 มิลลิกรัม 3%
- วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม 2%
- โคลีน 6.1 มิลลิกรัม 1%
- วิตามินซี 10 มิลลิกรัม 12%
- วิตามินเค 2.1 ไมโครกรัม 2%
- ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุเหล็ก 0.32 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุแมกนีเซียม 9 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมงกานีส 0.112 มิลลิกรัม 5%
- ธาตุฟอสฟอรัส 15 มิลลิกรัม 2%
- ธาตุโพแทสเซียม 173 มิลลิกรัม 4%
- ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม 0%
- ธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม 1%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (En), หนังสือพิมพ์สยามดารา, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)