เข็มแดง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเข็มแดง 5 ข้อ !

เข็มแดง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเข็มแดง 5 ข้อ  !

เข็มแดง

เข็มแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora lobbii Loudon (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ixora lobbii var. angustifolia King & Gamble) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

สมุนไพรเข็มแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เงาะ (สุราษฎร์ธานี), จะปูโย (มลายู-นราธิวาส), ตุโดบุโยบูเก๊ะ (มลายู), เข็มดอกแดง เป็นต้น[1]

ลักษณะของเข็มแดง

  • ต้นเข็มแดง จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะต้นนั้นจะคล้ายกับเข็มขาว ถ้ามีอายุหลายปีอาจมีขนาดของต้นเท่ากับต้นมะม่วงได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง ทาบกิ่ง หรือปักชำ เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในจังหวัดสระบุรี และมีขึ้นปรปรายในจังหวัดต่าง ๆ โดยนิยมนำมาปลูกกันตามชนบท ชอบขึ้นเองตามป่าราบและป่าเบญจพรรณ[1]

ต้นเข็มแดง

  • ใบเข็มแดง ใบมีลักษณะหนายาวและแข็งเป็นสีเขียวสด ปลายใบแหลม[1]

ใบเข็มแดง

  • ดอกเข็มแดง ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่มีสีแดงเข้ม ดอกจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเข็มขาวมาก แต่จะไม่มีกลิ่นหอม[1]

ดอกเข็มแดง

  • ผลเข็มแดง ผลมีลักษณะกลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ

ลูกเข็มแดง

ผลเข็มแดง

หมายเหตุ : รูปที่ใช้ประกอบเป็นรูปจากต้นเข็มแดงที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora Lobbii

สรรพคุณของเข็มแดง

  • รากใช้ปรุงเป็นยาบำรุงไฟธาตุ (ราก)[1]
  • รากใช้เป็นยารักษาตาพิการ (ราก)[1]
  • รากใช้เป็นยาแก้เสมหะและกำเดา (ราก)[1]
  • รากใช้เป็นยาบรรเทาอาการบวม (ราก)[1]

ประโยชน์ของเข็มแดง

  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามชนบท[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “เข็มแดง”.  หน้า 150.

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Cerlin Ng, techieoldfox, Yeoh Yi Shuen, loupok)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด