หญ้าขัดหลวง สรรพคุณและประโยชน์ของหญ้าขัดหลวง 6 ข้อ !

หญ้าขัดหลวง

หญ้าขัด มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ หญ้าขัดใบมน (Sida rhombifolia L.), หญ้าขัดใบยาว (Sida acuta Burm.f.), หญ้าขัดใบป้อม (Sida cordifolia L.) และอีกชนิดก็คือ หญ้าขัดหลวง (Sida subcordata Span.) ซึ่งเป็นชนิดที่จะกล่าวถึงในบทความนี้[1]

หญ้าขัดหลวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Sida subcordata Span. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sida corylifolia Wall. ex Mast.) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)[1],[2]

สมุนไพรหญ้าขัดหลวง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขัดมอนตัวผู้ (กรุงเทพฯ), ขัดมอนหลวง หญ้าขัดหลวง (ภาคกลาง) เป็นต้น[1],[2]

ลักษณะของหญ้าขัดหลวง

  • ต้นหญ้าขัดหลวง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นและก้านมีขนาดเล็ก เป็นสีแดงหรือม่วง เปลือกของต้นบางคล้ายปอ มีขนนุ่มขึ้นปกคลุม และต้นขัดมอนหลวงนี้สามารถพบได้ทุกภาคของประเทศไทย ตามชายป่า พื้นที่รกร้าง หรือตามข้างถนนหนทางต่าง ๆ โดยเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นและทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี[2]

หญ้าขัดหลวง

ต้นหญ้าขัดหลวง

  • ใบหญ้าขัดหลวง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ผิวใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบมนหรือเว้า ส่วนขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อย[2]

ใบหญ้าขัดหลวง

  • ดอกหญ้าขัดหลวง ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกบริเวณซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นสีเหลือง มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ มักมีริ้วประดับ ขณะดอกตูมชั้นกลีบเลี้ยงจะหุ้มดอกไว้ ส่วนกลีบดอกสีเหลืองมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกัน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมากอยู่กลางดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอด ๆ[2]

ขัดมอนตัวผู้

  • ผลหญ้าขัดหลวง เป็นผลแห้งและแตกได้ ในผลประกอบไปด้วยซีกผลหลายซีก ในแต่ละซีกผลที่ปลายจะมีหนามแหลม 2 อัน[2]

ผลหญ้าขัดหลวง

สรรพคุณหญ้าขัดหลวง

  1. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ตัวร้อน (ทั้งต้น)[2]
  2. ช่วยดับพิษร้อนภายในร่างกาย (ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม)[2]
  3. ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาเจียน (ทั้งต้น)[2]
  4. ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม)[2]
  5. ช่วยแก้พิษโลหิต (ทั้งต้นต้มกับน้ำดื่ม)[2]
  6. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน (ทั้งต้น)[2]
เอกสารอ้างอิง
  1. รายชื่อพรรณไม้ (ป่า) ในประเทศไทย เครือข่ายการวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “Family : MALVACEAE“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.frcdb.forest.ku.ac.th/Forest/.  [22 ธ.ค. 2013].
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน).  “Sida subcordata Span.“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [22 ธ.ค. 2013].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by rawadaz, 阿橋花譜 KHQ Flowers, ~anup PHOTOGRAPHY~, filibot.web)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด