ลิ้นจี่ สรรพคุณและประโยชน์ของลิ้นจี่ 27 ข้อ !

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่ ชื่อสามัญ Lychee, Litchi, Lichee, Lichi

ลิ้นจี่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Litchi chinensis Sonn. จัดอยู่ในวงศ์เงาะ (SAPINDACEAE)

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีลักษณะเปลือกสีแดง ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับลำไยและเงาะ มีต้นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ และมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทยแถบภาคเหนือ เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดียตอนเหนือ บังคลาเทศ อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา โดยสายพันธุ์ของลิ้นจี่นั้นมีอยู่หลากหลาย แต่ที่เป็นที่นิยมก็ได้แก่ สายพันธุ์จักรพรรดิ กิมเจ็ง และฮงฮวย เป็นต้น โดยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของผลไม้สดหรือแปรรูปก็ตาม

จากการศึกษาพบว่าในเนื้อลิ้นจี่นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายแล้ว ก็ยังมีกรดไขมันที่สำคัญต่อร่างกายอีกด้วย เช่น กรดปาล์มิติก (Plamitic Acid) 12%, กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) 11%, กรดโอเลอิก (Oleic Acid) 27% ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

ในเนื้อผลลิ้นจี่จะมีสารประกอบชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการร้อนในได้ ดังนั้นการรับประทานลิ้นจี่ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการร้อนในได้ คุณควรเลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลายเพื่อให้เกิดความสมดุลของร่างกายและป้องกันการเกิดอาการดังกล่าว

ลิ้นจี่ประโยชน์ของลิ้นจี่

สรรพคุณของลิ้นจี่

  1. ผลรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย
  2. ช่วยให้พลังชี่ขับเคลื่อน (เมล็ด)
  3. มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระอย่างสูง (สารสกัดจากเปลือก)
  4. ลิ้นจี่ต้านมะเร็ง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม (สารสกัดเพอริคาร์ปของลิ้นจี่)
  5. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ราก, เปลือกลำต้น)
  6. ลิ้นจี่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง
  7. เปลือกของผลใช้ทำเป็นชาชงดื่มแก้อาการหวัด (ชาจากเปลือก)
  8. ช่วยแก้อาการคัดจมูก
  9. ช่วยป้องกันการเกิดและช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  10. ช่วยแก้การติดเชื้อในลำคอ (ชาจากเปลือก)
  1. ช่วยบำรุงระบบการย่อยอาหาร
  2. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
  3. ช่วยบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร
  4. ช่วยรักษาอาการท้องเดิน
  5. ช่วยแก้อาการท้องเสียชนิดไม่รุนแรง (ชาจากเปลือก)
  6. ช่วยปกป้องและรักษาตับ (สารสกัดของผลลิ้นจี่)
  7. มีส่วนช่วยลดขนาดเนื้องอก (งานวิจัยในประเทศจีน แต่ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัดว่าใช้ส่วนใดของลิ้นจี่)
  8. ช่วยรักษาโรคจากการติดเชื้อไวรัส (ชาจากเปลือก)
  9. ช่วยรักษาอาการปวดท้อง (เมล็ด)
  10. ช่วยรักษาอาการปวดไส้เลื่อน (เมล็ด)
  11. ช่วยรักษาอาการปวดบวมอัณฑะ (เมล็ด)
  12. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน อัณฑะหย่อนยาน ด้วยการนำเมล็ดไปตากแห้งแล้วนำไปคั่วกับไฟอ่อน ๆ จนสุกเกรียม แล้วนำมาบดเป็นผง นำเอาผงที่ได้มาประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะต้มกับน้ำ หรือตัก 1 ช้อนแล้วนำมาชงกับน้ำร้อน ดื่มวันละ 3-4 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 20 วัน (เมล็ด)
  13. ลิ้นจี่มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคเหน็บชา (วิตามินบี 1)
  14. รากลิ้นจี่หรือเปลือกของลำต้น ใช้แก้อาการติดเชื้อไวรัสและอีสุกอีใสได้ (ราก, เปลือกลำต้น)
  15. ช่วยลดอาการปวดต่าง ๆ (เมล็ด)

ประโยชน์ของลิ้นจี่

  1. นำมาทำเป็นน้ำผลไม้ดื่มช่วยแก้กระหาย ให้รสชาติหวานชื่นใจ
  2. ลิ้นจี่เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของบ้านเรา โดยมีการนำไปแปรรูปเป็นผลไม้กระป๋องและอบแห้งเพื่อส่งออก

คุณค่าทางโภชนาการของผลลิ้นจี่ (ไร้เปลือก) ต่อ 100 กรัม

สรรพคุณของลิ้นจี่

  • พลังงาน 66 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 16.53 กรัม
  • น้ำตาล 15.23 กรัม
  • เส้นใย 1.3 กรัม
  • ไขมัน 0.44 กรัม
  • โปรตีน 0.83 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.011 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 2 0.065 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 3 0.603 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 6 0.1 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม 4%
  • วิตามินซี 71.5 มิลลิกรัม 86%
  • ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมงกานีส 0.055 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโพแทสเซียม 171 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.07 มิลลิกรัม 1%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด