มะหิ่งดง สรรพคุณของต้นมะหิ่งดง 3 ข้อ ! (หิ่งนก)

มะหิ่งดง สรรพคุณของต้นมะหิ่งดง 3 ข้อ ! (หิ่งนก)

มะหิ่งดง

มะหิ่งดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria bracteata Roxb. ex DC. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1]

สมุนไพรมะหิ่งดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หิ่งนก (เชียงใหม่), หิ่งกระจ้อน, หญ้าหิ่งเม่น เป็นต้น[1]

ลักษณะของมะหิ่งดง

  • ต้นมะหิ่งดง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นได้ถึง 1.5 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งชูขึ้นและมีขนสีขาว[1]
  • ใบมะหิ่งดง ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ท้องใบด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน[1]
  • ดอกมะหิ่งดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเหลือง ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว[1]
  • ผลมะหิ่งดง ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปไข่ ผิวฝักมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น[1]


ผลมะหิ่งดงต้นมะหิ่งดงดอกมะหิ่งดง

สรรพคุณของมะหิ่งดง

  1. รากใช้กินเป็นยาถอนพิษยาเบื่อเมา (ราก)[1]
  2. ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้พิษไข้เนื่องจากการอักเสบ ใช้ดับพิษร้อน (ราก)[1]
  3. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้มะหิ่งดงทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำอาบเป็นยาแก้ฟกบวม (ทั้งต้น)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “มะหิ่งดง”.  หน้า 81.

ภาพประกอบ : pharmacy.mahidol.ac.th/siri/

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด