สรรพคุณของต้นนิ้วมือพระนารายณ์ ! (เล็บมือนาง)

นิ้วมือพระนารายณ์

นิ้วมือพระนารายณ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera elliptica (Blume) Harms จัดอยู่ในวงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE)[1]

สมุนไพรนิ้วมือพระนารายณ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มือพระนารายณ์ (ตราด, จันทบุรี), อ้อยช้าง (อุตรดิตถ์), เล็บมือนาง (ภาคกลาง) เป็นต้น[1]

ลักษณะของนิ้วมือพระนารายณ์

  • ต้นนิ้วมือพระนารายณ์ จัดเป็นไม้พุ่มที่เกาะอาศัยต้นไม้อื่น ๆ เปลือกต้นเรียบ[1]

ต้นนิ้วมือพระนารายณ์

  • ใบนิ้วมือพระนารายณ์ ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ก้านใบร่วมยาว[1]

ใบนิ้วมือพระนารายณ์

  • ดอกนิ้วมือพระนารายณ์ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลืองขนาดเล็ก ไม่บาน ก้านช่อดอกเป็นสีน้ำตาลแดง[1]

ดอกนิ้วมือพระนารายณ์

ดอกนิ้วมือพระนารายณ์

  • ผลนิ้วมือพระนารายณ์ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก ผลสุกเป็นสีเหลืองถึงสีส้มอมแดง[1]

ผลนิ้วมือพระนารายณ์

รูปนิ้วมือพระนารายณ์

เมล็ดนิ้วมือพระนารายณ์

สรรพคุณของนิ้วมือพระนารายณ์

  • แก่นใช้ฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ท้องร่วง (แก่น)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “นิ้วมือพระนารายณ์”.  หน้า 127.

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Cerlin Ng, Rene van Raders, Yeoh Yi Shuen, Wee Foong Ang, Ahmad Fuad Morad, S. glenum)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด