ถั่วราชมาด
ถั่วราชมาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Phaseolus lunatus L. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1]
สมุนไพรถั่วราชมาด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บ่าบอย (เชียงใหม่) ส่วนที่กรุงเทพฯ เรียก “ถั่วราชมาด”[1]
หมายเหตุ : ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ จะเรียกถั่วชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Phaseolus lunatus L. ว่า “ถั่วราชมาส” หรือ “ถั่วราชมาษ” (อ่านว่า “ราดชะมาด”) ส่วน “มาส” ก็เรียก
ลักษณะของถั่วราชมาด
- ต้นถั่วราชมาด จัดเป็นพรรณไม้เลื้อย ชอบเลื้อยพันไม้ค้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน ในปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น[1]
- ใบถั่วราชมาด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ
- ดอกถั่วราชมาด ออกดอกเป็นช่อไม่แตกแขนง ดอกเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน
- ผลถั่วราชมาด ผลมีลักษณะฝัก ภายในฝักมีเมล็ดสีขาว และมีบางชนิดที่เมล็ดเป็นลายสีต่าง ๆ แต่ส่วนมากจะนิยมใช้ชนิดเมล็ดสีขาว เพราะเป็นชนิดที่ดีสุด[1]
สรรพคุณของถั่วราชมาด
- เมล็ดใช้เป็นยารักษาอาการปวดตามข้อ และรักษาอาการปวดเมื่อยขบ (เมล็ด)[1]
ประโยชน์ของถั่วราชมาด
- เมล็ดใช้เป็นอาหาร แต่บางครั้งก็เป็นพิษ แต่ชนิดที่เมล็ดเป็นลายสีต่าง ๆ นั้น จะต้องนำมาลวกน้ำทิ้งหลาย ๆ ครั้งก่อนจึงจะใช้เป็นอาหารได้ เมล็ดจะประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีนในปริมาณสูง มีธาตุเหล็กในปริมาณปานกลาง ส่วนแคลเซียมมีเล็กน้อย[1]
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ถั่วราชมาด”. หน้า 330-331.
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Scamperdale, Forest and Kim Starr, 阿橋, Søren Holt)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)