ตะไคร้
ตะไคร้ ชื่อสามัญ Lemongrass
ตะไคร้ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)
ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ
สรรพคุณของตะไคร้
- มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
- เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
- มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
- ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
- สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
- ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
- ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
- น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
- ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
- ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
- รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
- ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
- ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
- ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
- ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
- ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
- น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
- มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการและรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
- ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
- ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
- ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
- ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
- ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
- น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
- ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
ประโยชน์ของตะไคร้
- นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
- ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
- มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
- สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
- ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
- มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
- การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ จะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี
- นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง ๆ
- ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี
- กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี
- เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม
- สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
- มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ
วิธีทําน้ําตะไคร้หอม
- เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 1 ต้น / น้ำเชื่อม 15 กรัม / น้ำเปล่า 240 กรัม
- ล้างตะไคร้ให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ทุบให้แตก
- ใส่ลงหม้อต้มกับน้ำให้เดือด จนกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว
- รอสักครู่แล้วยกลง หลังจากนั้นกรองเอาตะไคร้ออกแล้วเติมน้ำเชื่อมให้ได้รสตามพอใจ
เสร็จแล้ววิธีทำน้ำตะไคร้
วิธีทําน้ําตะไคร้ใบเตย
- การทําน้ําตะไคร้ใบเตยนั้นอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 2 ต้น / ใบเตย 3 ใบ / น้ำ 1-2 ลิตร / น้ำตาลแดง 2 ช้อนชา (จะใส่หรือไม่ก็ได้)
- นำตะไคร้มาทุบให้แหลกพอประมาณ แล้วใช้ใบเตยมัดตะไคร้ไว้ให้เป็นก้อน
- ใส่ตะไคร้และใบเตยลงไปในหม้อแล้วเติมน้ำ 1 ถึง 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือดสักประมาณ 5 นาที เป็นอันเสร็จสำหรับวิธีการทําน้ํา ตะไคร้
- โดยตะไคร้และใบเตยชุดเดียวกัน สามารถเติมน้ำต้มใหม่ได้ 2-3 รอบ แต่รสอาจจืดจางลงไปบ้าง นำมาดื่มแทนน้ำช่วยเพิ่มความสดชื่น แถมช่วยบำรุงสุขภาพอีกด้วย
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, กระทรวงสาธารณสุข
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)