ชอบกินรสจัดระวัง ! ความอร่อยนั้นอาจกำลังทำร้ายร่างกาย

สายเผ็ดจี๊ดจ๊าดทั้งหลาย ทราบกันไหมว่า “อาหารรสจัด” ทุกชนิด จะกระตุ้นให้เกิดการพลังงานความร้อนขึ้นในร่างกาย และอาจมากจนไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายของเราได้ และหากกินแบบนี้เป็นประจำไม่นานวันคุณก็จะป่วย เพราะการกินของคุณเอง

รสเผ็ด

รสเผ็ดเกิดจากพริก และในพริกมีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งสารชนิดนี้จะเข้าไปสร้างความระคายเคืองให้เนื้อเยื่อที่ลิ้นของเราทำให้เรารู้สึกว่า “เผ็ด” ทั้งที่ความจริงแล้วลิ้นไม่มีต่อมรับรสเผ็ด ลองสังเกตดูเวลาเรากินเผ็ดมากๆ จะรู้สึกร้อนวูบวาบ ความร้อนนี้อยู่ยาวตั้งแต่ตอนเรากินเข้าปาก ยาวไปถึงตอนล่างของกระเพาะอาหาร และจนถึงตอนขับถ่ายเลยทีเดียว ระหว่างที่เดินทางนั้น ความเผ็ดก็จะทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอ อักเสบ บวมแดง ถ้าเผ็ดจัดๆ อาจทำให้เซลล์ตายและหลุดลอกออกมาได้เลย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุของลำไส้แปรปรวนและกรดไหลย้อนได้

รสเปรี้ยว

รสเปรี้ยวจะเข้าไปเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้สูงขึ้น ทั้งที่มีกรดสูงมากอยู่แล้ว กรดของรสเปรี้ยวจะไปกัดเคลือบฟันให้บางลงทำให้เสียวฟันหรือฟันผุ แล้วยังเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้แปรปรวนและภาวะกรดไหลย้อนอีกด้วย

รสหวาน

รสหวานที่เราได้จากทั้งน้ำตาล ข้าว แป้ง รวมถึงอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งต่างๆ ร่างกายจะสามารถดูดซึมมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าได้รับมากไปจนระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเสียสมดุล ตับอ่อนก็ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตอินซูลินมากขึ้น เมื่อตับอ่อนทำงานหนักขึ้นจนเสื่อมก็จะผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ จนคุณอาจป่วยเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

รสเค็ม

ความน่ากลัวต้นๆ ของคนกินเค็มคืออาการบวมน้ำ เพราะถ้ากินเค็มมาก.. ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมมากเกินพอดี ไตของเราก็จะขับเกลือออกไม่ทัน และหากดื่มน้ำน้อยด้วยแล้ว ความเข้มข้นของเกลือในเลือดจะยิ่งมากขึ้น เลือดจึงมีความหนืดมาก ทำให้หัวใจต้องเหนื่อยออกแรงบีบตัวมากขึ้นเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย “การกินเค็ม” จึงไม่ได้ทำลายแค่ “ไต” แต่ยังลามไปถึง “หัวใจและหลอดเลือด” ด้วย

goodlifeforyou.com
IMAGE SOURCE : goodlifeforyou.com

หลายคนอยากสุขภาพดี จบปัญหารสจัดนี้ด้วยการกินจืด แต่ก็ลืมไปว่าบางอย่างนั้นไม่ง่ายหากคุณไม่ได้ควบคุมการทำอาหารเองทุกขั้นตอน เพราะอาหารที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันมักมีเกลือโซเดียมและน้ำตาลแฝงอยู่ให้เรากินเข้าไปโดยไม่ตั้งใจ คุณจึงต้องระวังมากเป็นพิเศษ แต่สิ่งหนึ่งที่เริ่มต้นเองได้ และไม่ต้องบอกลาความอร่อยของอาหารรสจัด คือ เปลี่ยนเครื่องปรุงในบ้าน เลือกใช้เครื่องปรุงรส ที่ลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน ความดัน ที่นอกจะคงรสชาติอร่อยปรุงได้กลมกล่อมตามใจ ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กู๊ดไรฟ์ ที่คิดค้นโดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาเครื่องปรุงสูตรลดเกลือโซเดียมและน้ำตาล ที่ใช้เกลือโพแทสเซียมแทนเกลือโซเดียม และใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล สามารถลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลได้ถึง 40-60% เป็นเครื่องปรุงที่ควรมีคู่ครัวคนชอบปรุงจัด แต่ก็ยังรักสุขภาพ ซึ่งร้านอาหารคลีนรุ่นใหม่ๆ ก็นิยมนำมาใช้เพื่อปรับรสชาติให้ถูกปากลูกค้า แต่ยังคงความเป็นอาหารคลีนที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยที่ต้องระวังเรื่องรสชาติของอาหารมาตลอด อย่างผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด ก็สามารถทานอาหารรสชาติดีถูกปากไปพร้อมกับดูแลสุขภาพได้เหมือนเดิมด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา น้ำตาล ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ซอสหอยนางรม น้ำจิ้มไก่และซอสบ๊วยเจี่ย เรียกว่าครบทุกความต้องการของคนรักรสจัดจริงๆ หากยังติดรสชาติ แต่ไม่อยากเสียสุขภาพ สามารถสั่งซื้อเครื่องปรุงลดโซเดียมและน้ำตาลได้ที่ goodlifeforyou.com

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด