ชงโคขาว สรรพคุณของต้นชงโคขาว ! (ตะโป)

ชงโค

ชงโค ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia pottsii var. decipiens (Craib) K.Larsen & S.S.Larsen จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

สมุนไพรชงโคขาว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะโป (น่าน)[1],[2]

หมายเหตุ : ชงโคชนิดนี้น่าจะเป็นชนิดย่อยเดียวกันกับชงโคขาว ที่พบขึ้นหนาแน่น โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้[2]

ลักษณะของชงโค

  • ต้นชงโค จัดเป็นไม้พุ่มพาดพันกับต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะ ตามกิ่งอ่อนมีขน ชงโคชนิดนี้เป็นพืชถิ่นเดียวของไทย พบได้เฉพาะที่อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดเพียงครั้งเดียว[1],[2]
  • ใบชงโค ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-14 เซนติเมตร แผ่นใบแยกเป็นสองพู ปลายใบมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ผิวใบด้านบนเรียบ[1]
  • ดอกชงโค ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ชงโคชนิดนี้กลีบดอกจะเป็นสีขาว รังไข่มีขนกำมะหยี่ขึ้นปกคลุม ไม่ใช่ขนแข็งเอน[1],[2]

ดอกชงโคขาว

  • ผลชงโค ผลมีลักษณะเป็นฝักและแตกได้[1]

ฝักชงโคขาว

สรรพคุณของชงโค

  • ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากชงโค นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาเจริญอาหาร (ราก)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ชงโค”.  หน้า 45.
  2. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “ชงโค”.  [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.dnp.go.th/botany/.  [07 ม.ค. 2015].

ภาพประกอบ : pharmacy.mahidol.ac.th/siri/

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด