จำปา สรรพคุณและประโยชน์ของจำปา 42 ข้อ ! (ดอกจำปา)

จำปา สรรพคุณและประโยชน์ของจำปา 42 ข้อ ! (ดอกจำปา)

จำปา

จำปา ชื่อสามัญ Champaca, Champak, Orange chempaka, Golden champa, Sonchampa

จำปา ชื่อวิทยาศาสตร์ Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Michelia champaca L.) จัดอยู่ในวงศ์จำปา (MAGNOLIACEAE)

สมุนไพรจำปา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จำปาเขา จำปาทอง (นครศรีธรรมราช), จำปาป่า (สุราษฎร์ธานี), จุมปา จุ๋มป๋า (ภาคเหนือ), จำปากอ (มลายู-ภาคใต้), มณฑาดอย เป็นต้น

ลักษณะของจำปา

  • ต้นจำปา มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของจีน ไทย อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะเป็นทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด ที่เปลือกมีสีเทาอมขาวและมีกลิ่นฉุน โดยต้นจำปาจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การทาบกิ่ง และการตอนกิ่ง

ต้นจำปา

  • ใบจำปา ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบใหญ่สีเขียวเป็นมัน ลักษณะคล้ายรูปรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม เนื้อใบบาง ใบอ่อนจะมีขน ส่วนใบแก่จะเกลี้ยง ใบมีเส้นใบประมาณ 16-20 คู่ และก้านใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร โคนก้านใบป่อง

ใบจำปา

  • ดอกจำปา ลักษณะเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองอมแสด ดอกมีกลิ่นหอมแรง ออกดอกตามซอกใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง ดอกตั้งขึ้น ดอกตูมเป็นรูปกระสวย มีแผ่นสีเขียวคลุมอยู่และจะหลุดไปเมื่อดอกบาน ที่กลีบดอกและกลีบเลี้ยงจะมีลักษณะเหมือนกัน มีจำนวน 12-15 กลีบ แต่ละกลีบรูปยาวรีแกมรูปหอก กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 4-4.5 เซนติเมตร ดอกจะเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมในช่วงพลบค่ำ และในเช้าวันถัดมากลีบดอกก็จะกางออกจากกัน และร่วงหล่นในช่วงเย็น ดอกจำปาสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีมากหน่อยในช่วงต้นฤดูฝน แต่ต้องใช้เวลาปลูกนานกว่า 3 ปีจึงจะออกดอก

จำปา

  • ผลจำปา จะออกเป็นกลุ่ม มีความยาวประมาณ 6-9 เซนติเมตร ผลย่อยค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร สามารถติดผลได้ดี มีเมล็ดหลายเมล็ด มีสีดำ เมล็ดค่อนข้างกลม เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดงแสด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร

ผลจำปา

สรรพคุณของจำปา

  1. ช่วยบำรุงธาตุ (ดอก, ผล, เมล็ด)
  2. จำปามีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
  3. ช่วยบำรุงประสาท (ดอก)
  4. ช่วยกระจายโลหิต (ดอก)
  5. ดอกจำปามีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, เนื้อไม้)
  6. ช่วยทำให้เลือดเย็น (ดอก)
  7. ช่วยแก้โรคเส้นประสาทพิการ (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (น้ำมันกลั่นจากดอก)
  9. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หน้ามืดตาลาย (ดอก)
  10. ช่วยแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ดอก, ผล, เมล็ด)
  1. ช่วยแก้อาการไข้ (เปลือกต้น, ผล)
  2. ช่วยแก้ไข้อภิญญาณ (ใบ)
  3. ช่วยแก้พิษสำแลง (ไข้ซ้ำ) (กระพี้)
  4. ช่วยระงับอาการไอ (ใบ)
  5. ช่วยแก้อาการคอแห้ง (เปลือก)
  6. ช่วยแก้อาการตาบวม (น้ำมันกลั่นจากดอก)
  7. ช่วยขับเสมหะ (ใบ)
  8. ช่วยทำให้เสมหะในลำคอเกิด (เปลือกต้น)
  9. ช่วยแก้ป่วงของทารก (ใบ)
  10. เปลือกรากใช้เป็นยาถ่าย (เปลือกราก, เปลือกต้น)
  11. ใบนำมาตำคั้นเอาแต่น้ำ ใช้รักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้ (ใบ)
  12. ช่วยขับลม (ดอก)
  13. ช่วยขับพยาธิ (เปลือกราก)
  14. ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก, ผล, เมล็ด)
  15. ยางช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ยาง)
  16. ช่วยบำรุงน้ำดี (ดอก)
  17. ช่วยแก้โรคไต (ดอก)
  18. ช่วยฝาดสมาน (เปลือกต้น)
  19. ช่วยถอนพิษสำแดง (กระพี้)
  20. ช่วยรักษาแผลที่เท้าและอาการเท้าแตก (ผล, เมล็ด)
  21. เปลือกหุ้มรากและรากแห้ง ใช้ผสมกับนมสำหรับบ่มฝี (ราก, เปลือกราก)
  22. ช่วยรักษาโรคเรื้อน (ดอก, แก่น)
  23. ช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ (เปลือกราก, น้ำมันจากดอก)
  24. ช่วยระงับอาการเกร็ง (ดอก)
  25. รากช่วยขับเลือดเน่าเสีย (ราก)
  26. ช่วยบำรุงประจำเดือนของสตรี (เนื้อไม้)
  27. ช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (เปลือกราก)
  28. ช่วยขับโลหิตในสตรีที่อยู่ในเรือนไฟให้ตก (ราก)

ประโยชน์ของจำปา

  1. ดอกใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร
  2. นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ให้ความหอมและความสวยงาม และยังเป็นต้นไม้ให้ร่มเงาในสนามได้ดีมากชนิดหนึ่งอีกด้วย
  3. น้ำมันจากดอกจำปา สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
  4. ไม้จากต้นจำปามีสีเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีความเหนียว เป็นมัน ทนปลวกได้ดี เลื่อยไสตกแต่งได้ง่าย จึงนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทำเครื่องมือ เครื่องกลึง หีบใส่ของ เครื่องแกะสลักต่าง ๆ รวมไปถึงของเล่นเด็ก ฯลฯ

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน, เว็บไซต์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพประกอบ : www.wattano.ac.th

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด