งาดำ
งาดำ ชื่อสามัญ Black Sesame Seeds
งาดำ ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Sesamum indicum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Sesamum orientale L.)จัดอยู่ในวงศ์งา (PEDALIACEAE)
งาดำ จัดเป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย การรับประทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของคุณจะแข็งแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทานอย่างแน่นอน และเป็นยาที่รักษาได้ทุกโรค ในหะดีษหนึ่งท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า إن في الحبة السوداء شفاء من كل داء إلا السأم ความว่า แท้จริงในงาดำนั้นสามารถรักษาได้ทุกโรค ยกเว้นความตาย
งาดำอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอย่างวิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 9 แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส สังกะสี เหล็ก เป็นต้น โดยสามารถช่วยบำรุงร่างกายเกือบทุกสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็น ผม ผิวพรรณ กระดูก เล็บ ระบบขับถ่าย การบำรุงหัวใจ จึงเหมาะกับทุกวัย แม้กระทั่งเด็กที่มีอาการป่วยอยู่แล้ว หรือผู้หญิงที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยทอง งาดำจะจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยป้องกันโรคภาวะกระดูกพรุนอย่างได้ผล
ประโยชน์ของงาดำ
- งาดำมีความสำคัญอย่างมากต่อความสมบูรณ์ของร่างกาย
- ช่วยชะลอความแก่ คงความอ่อนเยาว์
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ชุ่มชื้น ช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
- ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนังของคุณ
- ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง และช่วยให้ผมดกเงางาม
- ช่วยป้องกันผมหงอก
- ช่วยเพิ่มพลังงานและความแข็งแรงของร่างกาย
- ช่วยในการเผาผลาญและสลายไขมัน ลดความอ้วน
- ช่วยลดการดูดซึมและการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล
- ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ทำให้ระบบหัวใจแข็งแรงยิ่งขึ้น
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยลดความเครียด
- ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในระบบประสาท
- งาดำมีธาตุเหล็กซึ่งช่วยบำรุงโลหิต
- ช่วยลดความดันโลหิต ขยายหลอดเลือด ป้องกันเกล็ดเลือดที่จะเกาะตัวกันเป็นลิ่ม
- ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
- การรับประทานงาดำพร้อมกันถั่วจะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนอย่างครบถ้วน ซึ่งบางตัวเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
- ช่วยให้นอนหลับสบาย ร่างกายกระปรี้กระเปร่า
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเหน็บชา และตะคริว
- ช่วยบำรุงกระดูกและป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
- ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยต้านการอักเสบจากโรคข้อเสื่อม ยับยั้งการเสื่อมสลาย
- น้ำมันงาสามารถนำมาใช้เป็นยานวดร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เพื่อช่วยรักษาเส้นเอ็นอักเสบ
- น้ำมันงาช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการปวดเข่า เคล็ดขัดยอก
- ผู้รับประทานมังสวิรัตินิยมใส่งาลงในอาหารถั่วเหลืองที่ปรุง เพื่อให้อาหารมีโปรตีนสมบูรณ์มากขึ้น
- ประโยชน์งาดำในการนำมาแปรรูปเป็นงาดำแคปซูล
(ผู้รับประทานบางรายอาจมีอาการแพ้ได้ เช่น ลมพิษ ริมฝีเปลือกตาปากบวมแดง คันจมูก หายใจลำบาก ความดันโลหิตลดลงจนช็อกหมดสติ โดยอาการเหล่านี้อาจ เกิดขั้นทันทีหลังจากรับประทานจนถึง 90 นาที)
คุณค่าทางโภชนาการของงาดำต่อ 100 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 23.45 กรัม
- พลังงาน 573 กิโลแคลอรี่ 2397 กิโลจูล
- เส้นใยอาหาร 11.8 กรัม
- โปรตีน 17.73 กรัม
- น้ำ 4.69 กรัม
- น้ำตาล 0.30 กรัม
- ไขมันรวม 49.67 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 18.759 กรัม
- กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 21.773 กรัม
- กรดไขมันอิ่มตัว 6.957 กรัม
- กรดกลูตามิก 3.955 กรัม
- กรดแอสพาร์ติก 1.646 กรัม
- เมไธโอนีน 0.586 กรัม
- ทรีโอนีน 0.736 กรัม
- ซีสทีอีน 0.358 กรัม
- ซีรีน 0.967 กรัม
- ฟีนิลอะลานีน 0.940 กรัม
- อะลานีน 0.927 กรัม
- อาร์จินีน 2.630 กรัม
- โปรลีน 0.810 กรัม
- ไกลซีน 1.215 กรัม
- ฮิสทิดีน 0.522 กรัม
- ทริปโตเฟน 0.388 กรัม
- ไทโรซีน 0.743 กรัม
- วาลีน 0.990 กรัม
- ไอโซลิวซีน 0.763 กรัม
- ลิวซีน 1.358 กรัม
- ไลซีน 0.569 กรัม
- ไฟโตสเตอรอล 714 มิลลิกรัม
- เบต้าแคโรทีน 5 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 9 หน่วยสากล
- วิตามินอี 0.25 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 1 0.791 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.247 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 4.515 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 5 0.050 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 0.790 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 97 ไมโครกรัม
- ธาตุแคลเซียม 975 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 14.55 มิลลิกรัม
- ธาตุซีลีเนียม 5.7 ไมโครกรัม
- ธาตุโซเดียม 11 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 629 มิลลิกรัม
- ธาตุสังกะสี 7.75 มิลลิกรัม
- ธาตุโพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม
- ธาตุแมกนีเซียม 351 มิลลิกรัม
- ธาตุแมงกานีส 2.460 มิลลิกรัม
- ธาตุทองแดง 4.082 มิลลิกรัม
(ข้อมูลจาก : www.black-sesame-seeds.com)
การรับประทานงาดำเพื่อให้มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุดก็คือการรับประทานงาดำเป็นอาหาร แทนที่จะรับประทานงาดำที่เป็นสารสกัด โดยวิธีที่ดีที่สุดก็คือการรับประทานด้วยวิธีการเคี้ยวจะได้ประโยชน์มากที่สุด แต่หากเรานำมาโรยใส่ข้าวหรือใส่เครื่องดื่ม ในบางครั้งเราอาจจะไม่ได้เคี้ยวด้วยซ้ำ จึงทำให้ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดีเท่าที่ควรหรือดูดซึมไม่ได้เลย ซึ่งวิธีการรับประทานก็ง่าย ๆ ด้วยการนำงาดำมาใส่กับขนมปังโฮลวีตรับประทานทุกเช้าวันละ 10 ช้อนสำหรับผู้สูงอายุ แต่สำหรับคนวัยทำงานก็วันละ 3-4 ช้อนก็เพียงพอแล้ว หรือจะอยู่ในรูปของน้ำเต้าหู้งาดำก็ได้เช่นกัน แต่การรับประทานที่ดีนั้นควรรับประทานอย่างเหมาะสมพร้อมรับประทานให้ครบ 5 หมู่เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดและหลากหลาย นอกจากการรับประทานแล้วสามารถนำเอาน้ำมันงามาใช้นวดทาบริเวณที่มีอาการปวดและรักษาเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ เพราะน้ำมันงามีสรรพคุณที่ช่วยนำพาสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ถูกนำมาผสมดูดซึมเข้าไปได้ดีขึ้น
สำหรับการเลือกซื้อเมล็ดงาดำควรเลือกซื้องาดำที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน ไม่ควรซื้อที่ที่แบ่งขายตามร้านขายของชำ เพราะอาจจะเสี่ยงกับมูลแมลงสาบและแมลงอื่น ๆ และไม่ควรซื้อแบบที่บดสำเร็จมาแล้วเนื่องจากอาจมีเชื้อราติดมาด้วย เมื่อซื้อมาใช้แล้วควรเก็บใส่ขวดปิดฝาให้มิดชิด เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานโดยไม่ปิดฝาให้มิดชิดจะทำให้มีกลิ่นเหม็นหืนได้
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)