ย่านาง
ย่านาง ชื่อสามัญ Bai-ya-nang (ตรงตัว)
ย่านาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Limacia triandra Miers (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cocculus triandrus Colebr., Menispermum triandrum Roxb., Tiliacora triandra Diels) จัดอยู่ในวงศ์บอระเพ็ด (MENISPERMACEAE)
ทางภาคกลางจะเรียกย่านางว่า “เถาย่านาง” เนื่องจากพรรณไม้ชนิดนี้เป็นเถาไม้เลื้อยเกี่ยวพันกับต้นไม้อื่น
ใบย่านาง สรรพคุณนั้นมีหลากหลาย เพราะเป็นสมุนไพรเย็น มีคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ และยังมีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีนในปริมาณค่อนข้างสูง โดยเป็นสมุนไพรที่ใครหลาย ๆ คนต่างก็คุ้นเคยกันดี เพราะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสช่วยเพิ่มความกลมกล่อมของอาหาร เช่น แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ แกงเลียง แกงหวาน เป็นต้น
สรรพคุณใบย่านาง
- ใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
- ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
- ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
- เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
- ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
- ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ
- เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
- หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยในการบำรุงรักษาตับและไต
- ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
- ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกายที่แม้นอนพักก็ไม่หาย
- ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
- ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อต หรือมีเข็มแทง หรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
- ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
- ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
- ช่วยรักษาเนื้องอก
- ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
- ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูก และเสมหะ
- รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิดและลดความร้อนในร่างกาย
- รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้งไข้พิษ ไข้หัด ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
- เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
- มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
- ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
- ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
- มีส่วนช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
- ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
- รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
- ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
- ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
- ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
- ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตา ตาลาย เป็นต้น
- ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียว หรืออาการเสมหะพันคอ
- ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
- ช่วยลดอาการนอนกรน
- ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
- ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
- ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
- ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
- ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องเฉียบพลัน
- ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
- ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
- ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
- ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
- ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี
- ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
- ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
- ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
- ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
- ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยรักษาอาการตกขาว
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
- น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
- ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
- ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
- สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ใบย่านางแคปซูล สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น
- แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกดำ ชะลอการเกิดผมหงอก
วิธีทำน้ำใบย่านาง
- อย่างแรกคือการเตรียมส่วนประกอบ คือ ใบย่านาง 10-20 ใบ (ตามความเข้มข้นที่ต้องการ) / ใบเตย 3 ใบ / บัวบก 1 กำมือ / หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น / ใบอ่อนเบญจรงค์ 1 กำมือ / ใบเสลดพังพอน 1 กำมือ / ว่านกาบหอย 5 ใบ (จะใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้หรือจะแค่ใบย่านางอย่างเดียวก็ได้ตามแต่สะดวก)
- นำใบสมุนไพรต่าง ๆ ที่เตรียมมาตัดให้เป็นชิ้นเล็ก
- นำใบไปโขลกหรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดจนเป็นน้ำ (ปั่นประมาณ 30 วินาทีเพื่อคงคุณค่าของสมุนไพรให้มากที่สุด)
- เสร็จแล้วนำมากรองผ่านผ้าขาวบางหรือกระชอนอีกที
- เสร็จแล้วน้ำย่านาง
คำแนะนำ
- สำหรับบางคนที่รู้สึกว่ากินยาก เหม็นเขียว กินแล้วรู้สึกไม่สบายก็สามารถนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดแล้วนำมาดื่มหรือจะผสมกับน้ำสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ก็ได้ เช่น ขิง ตะไคร้ ขมิ้น หรือจะผสมกับน้ำมะพร้าว น้ำมะนาว น้ำตาล หรือแม้แต่น้ำเฮลส์บลูบอยก็ได้เช่นกัน
- ควรดื่มน้ำย่านางสด ๆ ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างประมาณครึ่งแก้ว 3 ครั้งต่อวัน
- ควรดื่มแต่พอดี หากดื่มแล้วรู้สึกแพ้ พะอืดพะอม ก็ควรลดความเข้มข้นของสมุนไพรที่ใส่ลงไปให้น้อยลงอีกจนเหมาะสมกับเรา
- เมื่อทำเสร็จแล้วควรดื่มทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจะเกิดกลิ่นเหม็นเปรี้ยวได้ แต่สามารถนำมาแช่ตู้เย็นได้ และควรดื่มภายใน 3 วัน
- การพึ่งแต่สมุนไพรอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ดังนั้นควรทำอย่างอื่นเสริมไปด้วยจะช่วยให้มีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิง : หมอเขียว ใจเพชร กล้าจน
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)