โกงกางบก
โกงกางบก ชื่อวิทยาศาสตร์ Planchonella obovata (R.Br.) Pierre (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pouteria obovata (R.Br.) Baehni, Pouteria obovata var. dubia (Koidz. ex Nakai) H.Hara) จัดอยู่ในวงศ์พิกุล (SAPOTACEAE)[1]
สมุนไพรโกงกางบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สันขวาน (ลำปาง), อุ้งไก่ (สมุทรปราการ), โกงกางบก (ชลบุรี), โพอาศัย (ระนอง), งาไซ มะดินทราย (สงขลา), งาไซ (สุราษฎร์ธานี), มะดินทราย (สงขลา), ทีไร (ปัตตานี), พังกาบก (ภาคใต้), จันทิตสอ (ทั่วไป) เป็นต้น[1]
ลักษณะของโกงกางบก
- ต้นโกงกางบก จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ทรงพุ่ม มีลักษณะเป็นทรงกรวย เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแดง พบขึ้นในป่าชายเลน ในบริเวณติดต่อกับป่าชายหาด[2]
- ใบโกงกางบก ใบเป็นใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียว ส่วนก้านใบเป็นสีน้ำตาลอมแดง[2]
- ดอกโกงกางบก ออกดอกเป็นช่อกระจุก โดยจะออกตามง่ามใบ ฐานรองดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย ดอกมีขนาดเล็ก[2]
- ผลโกงกางบก ผลเป็นผลเดี่ยว ลักษณะกลมรี มีขั้วเล็กน้อย ผิวผลเรียบ ผลเป็นสีเขียวและเป็นมัน กลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผล ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด[2]
สรรพคุณของโกงกางบก
- ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะนำใบมาบดใช้พอกรักษาอาการปวดศีรษะ (ใบ)[2]
ประโยชน์ของโกงกางบก
- เนื้อไม้มีความแข็ง สามารถนำมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เช่น ด้ามขวาน ด้ามจอบ และใช้ทำเครื่องเรือนทั่วไป[2]
เอกสารอ้างอิง
- ชื่อพรรณไม้ในเมืองไทย, เครือข่ายการวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้แห่งประเทศไทย, สำนักงานเครือข่ายการวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “งาไซ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : t-fern.forest.ku.ac.th. [06 ส.ค. 2015].
- มัณฑนา นวลเจริญ. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เล่ม 10. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2552.
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Russell Cumming, Wee Foong Ang, 潘立傑 LiChieh Pan)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)