แปะก๊วย
แปะก๊วย (Ginkgo หรือ Ginkgo biloba) คือ พืชสมุนไพรเก่าแก่ที่มีใช้มาแต่โบราณโดยเฉพาะในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ต้นแปะก๊วยจัดเป็นไม้ผลัดใบที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ลักษณะของใบเป็นรูปพัด เป็นพืชที่จัดในวงศ์ GINKGOACEAE และมีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า Maidenhair, Tanakan, Tebonin, Rökan, Ginkobaum, Bai-guo
สำหรับส่วนที่นำมาใช้ทำยาได้นั้นมีทั้งส่วนของใบและเมล็ด แต่การวิจัยสมัยใหม่มุ่งเน้นไปที่สารสกัดที่ได้มาจากใบแปะก๊วยเป็นหลัก เนื่องจากใบแปะก๊วยประกอบไปด้วยสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์อย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด จึงอาจส่งผลดีต่อสุขภาพสมอง หัวใจ ดวงตา รวมถึงอาการอื่น ๆ อีกหลายประการ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการศึกษาถึงประโยชน์มากมายเกี่ยวกับสารสกัดจากใบแปะก๊วย แต่คนส่วนใหญ่ยังมักเลือกทานเพื่อวัตถุประสงค์ช่วยเสริมการทำงานของสมอง (เช่น ความคิด ความจำ) และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเป็นหลักเป็นหลัก
ประโยชน์ของสารสกัดจากใบแปะก๊วย
ในหัวนี้จะพูดถึงเฉพาะประโยชน์ของแปะก๊วยในรูปของ “สารสกัดจากใบแปะก๊วย” (Ginkgo biloba extract) เท่านั้น เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Ginkgo biloba extract (บางผลิตภัณฑ์อาจใช้ชื่อเรียกอื่นว่า GBE, GBE-761 หรือ EGb-761) และต่อไปนี้คือประโยชน์เด่น ๆ ของแปะก๊วยที่เราได้รวบรวมมา
1. ต้านอนุมูลอิสระ แปะก๊วยเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม (1, 2) เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) ซึ่งมีส่วนช่วยปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทและสมอง ตับ และจอประสาทตาจากการทำลายของอนุมูลอิสระ (3)
2. ลดการอักเสบ การศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ต่างแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (4, 5) จึงอาจส่งผลดีต่อการรักษาโรคหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรคข้ออักเสบ, โรคลำไส้อักเสบ, โรคหัวใจ ฯลฯ แม้ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
4. ลดอาการวิงเวียนศีรษะ/บ้านหมุน (Vertigo) การศึกษาทางคลินิกในผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertiginous syndrome) 70 คนที่รับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย 160 มก. ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าแปะก๊วยมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง ความถี่ และระยะเวลาของอาการได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า 47% หายเป็นปกติ (เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่หายเป็นปกติเพียง 18%) (29) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่พบว่าการเสริมแปะก๊วย 80 มก. วันละ 2 ครั้ง ช่วยลดอาการบ้านหมุนและอาการวิงเวียนศีรษะได้ (30)
- การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการบ้านหมุน (Vertigo) พบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 240 มก. เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ให้ผลดีกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการใช้ยาเบตาฮีสทีน (Betahistine) ขนาด 32 มก. ซึ่งเป็นยารักษาอาการวิงเวียนศีรษะหรือเวียนศีรษะบ้านหมุนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (31)
5. ความคิดความจำ ยังเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแปะก๊วยในด้านนี้ แต่งานวิจัยส่วนใหญ่ระบุว่าแปะก๊วยอาจช่วยเรื่องความคิดความจำได้เล็กน้อยในผู้มีสุขภาพดี โดยเฉพาะในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ แต่ยังไม่ชัดเจนมีผลต่อคนวัยหนุ่มสาวที่มีสุขภาพดีหรือไม่ (11) จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพ
- การศึกษาในผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีสุขภาพดีพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 240 มก. วันละ 1 ครั้ง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกคืนความจำ (เช่น การจดจำจำนวนการนัดหมายได้อย่างถูกต้อง แต่ผลการทดลองนี้ไม่ได้ช่วยเพิ่มความจำเรื่องของเส้นทางการขับขี่) (12) สอดคล้องกับการศึกษาในอาสาสมัครอายุ 30-59 ปีที่พบว่าการเสริมแปะก๊วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านความจำ โดยเฉพาะความจำในด้านการทำงาน โดยผลนี้จะมีแนวโน้มชัดเจนมากขึ้นในกลุ่มคนที่มีอายุ 50-59 ปี (13)
- การเสริมแปะก๊วยขนาด 600 มก. ก่อนเข้าร่วมการทดสอบความจำ (Sternberg memory scanning test) 1 ชั่วโมง ให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกและกลุ่มที่ได้รับแปะก๊วยขนาด 120 และ 240 มก. (14)
- การศึกษาในผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีภาวะสมองเสื่อมหรือเป็นอัลไซเมอร์ การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยดูเหมือนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรู้คิดที่ดีขึ้นในช่วง 12 สัปดาห์ (15) สอดคล้องกับการศึกษาอื่น เช่น การศึกษาในผู้สูงอายุจำนวน 262 คน ที่พบว่าการเสริมแปะก๊วย 180 มก. ทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลของสมอง (16), การศึกษาในผู้สูงอายุที่มีอาการความจำเสื่อม พบว่าการเสริมแปะก๊วย 240 มก. เป็นเวลา 2 เดือน ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางความคิดได้ (17)
- การศึกษาในผู้ที่มีสุขภาพดีที่อายุมากกว่า 60 ปี ที่พบว่าการเสริมแปะก๊วย 40 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 26 เดือน ไม่พบความแตกต่างกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกในเรื่องการช่วยเพิ่มความจำ (18) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่พบว่าแปะก๊วยไม่ได้ช่วยเพิ่มความจำในผู้ที่มีสุขภาพดี (19)
- การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยในขนาด 240 และ 360 มก. ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วของสมาธิในการจดจ่อ (Speed of attention) ที่ดีขึ้นในอาสาสมัครอายุน้อยที่มีสุขภาพดี (20) ในขณะที่การเสริมในขนาด 120 มก. กลับไม่มีผลในเรื่องนี้ แต่ให้ผลดีในเรื่องการเพิ่มขึ้นในด้านคุณภาพของหน่วยความจำ (Quality of memory)
6. ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หรือภาวะการทำงานของสมองเสื่อมถอยลง (Cognitive decline) โดยรวมแล้วผลการวิจัยในเรื่องนี้ไม่สอดคล้องกันและยังเร็วไปที่จะสรุปหรือหักล้างได้ว่าแปะก๊วยช่วยรักษาภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ แต่ในภาพรวมดูเหมือนว่าแปะก๊วยจะให้ประโยชน์เมื่อใช้เป็นการรักษาเสริม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากบทบาทของแปะก๊วยที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง
- การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 240 มก. มีประสิทธิภาพและปลอดภัยในการรักษาภาวะสมองเสื่อม (21)
- การทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการศึกษาทางคลินิกระยะเวลา 6 ปี ในกลุ่มตัวอย่างกว่า 3,000 คนที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป พบว่าแปะก๊วยไม่มีผลต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ (22) สอดคล้องกับการศึกษาในผู้สูงอายุ (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ที่พบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 มก. วันละ 2 ครั้ง ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์เมื่อเทียบกับยาหลอก (23) และไม่มีผลช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมถอย (Cognitive decline) ในผู้สูงอายุที่มีอาการเล็กน้อยเมื่อเทียบกับยาหลอก (24)
- การทบทวนการศึกษา 21 ชิ้น พบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับยารักษาหลัก สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลของสมอง (เช่น การจดจำข้อมูล การเรียนรู้ ความเข้าใจ การตัดสินใจ และความสามารถในการแก้ไขปัญหา) ในผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เล็กน้อย (25)
- การทบทวนการศึกษาพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นเวลา 22-24 สัปดาห์ ช่วยลดอาการ BPSD หรือปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ในผู้ป่วยสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ (26)
7. ลดอาการปวดหัวและไมเกรน ในทางการแพทย์แผนจีน แปะก๊วยเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดหัวและไมเกรนอย่างแพร่หลาย (27) เนื่องจากแปะก๊วยมีฤทธิ์ในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระ (หากอาการปวดหัวเกี่ยวข้องกับความเครียดหรือการไหลเวียนของเลือดที่ลดลง แปะก๊วยอาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ในทางตรงข้ามหากเป็นไมเกรนชนิดที่เกิดจากหลอดเลือดขยายตัวมากเกินไป แปะก๊วยอาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย)
- การศึกษาขนาดเล็กในคนวัยหนุ่มสาวที่เป็นไมเกรน พบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 80 มก. (ร่วมกับคิวเท็น 20 มก. และแมกนีเซียม 300 มก.) วันละ 2 ครั้งพร้อมอาหาร เป็นเวลา 3 เดือน สามารถช่วยป้องกันหรือลดความถี่ในการเกิดไมเกรนได้ (28)
8. ลดความเครียดและความวิตกกังวล (Anxiety) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าแปะก๊วยอาจช่วยลดอาการวิตกกังวลได้เนื่องจากแปะก๊วยเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ (32) โดยการศึกษาในผู้ใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไป (Anxiety disorder) ที่เสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 240-480 มก. ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ได้รับแปะก๊วยมีอาการวิตกกังวลลดลง 39-44% (ขนาดยาที่มากขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเล็กน้อย) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่มีอาการลดลงเพียง 22% (33)
9. ภาวะซึมเศร้า (Depression) การศึกษาบางชิ้นพบว่าการเสริมแปะก๊วยให้ผลลัพธ์ที่ดีในการลดอาการซึมเศร้าเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้า แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
- การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการเสริมแปะก๊วยอาจช่วยรักษาอาการซึมเศร้าได้ เนื่องจากมีต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ที่คล้ายยากล่อมประสาท (36)
- การศึกษาในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 136 คน พบการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับยารักษาหลัก มีผลช่วยลดอาการซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดระดับซีรั่ม S100B ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการบาดเจ็บในสมอง (สารสกัดจากใบแปะก๊วยช่วยฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาทในระหว่างการรักษาภาวะซึมเศร้า เมื่อใช้ร่วมกับยารักษาหลักจะมีบทบาทช่วยเสริมฤทธิ์กัน) (37)
- การศึกษาในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (PSD) เมื่อรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้าเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีผลช่วยให้อาการซึมเศร้าลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาต้านอาการซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (38)
10. โรคจิตเภท (Schizophrenia) การเสริมแปะก๊วยในผู้ที่เป็นโรคจิตเภทดูเหมือนจะมีประโยชน์เมื่อใช้เป็นการรักษาเสริมควบคู่ไปกับการรักษาหลัก เช่น การใช้ร่วมกับยา Haloperidol (39), ยา Clozapine (40) ที่พบว่าแปะก๊วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาของยาดังกล่าวได้
11. โรคออทิสติก (Autistic Disorder) การเสริมสารสกัดแปะก๊วย 100 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาการของผู้ป่วยดีขึ้น โดยเฉพาะอาการสมาธิสั้น หงุดหงิด ไม่สบตา และพูดจาไม่เหมาะสม จึงมีคำแนะนำว่าอาจใช้แปะก๊วยเป็นยาเสริมในการรักษาได้ (แต่ไม่มีศักยภาพเมื่อนำมาใช้เป็นยาหลัก) (41) อย่างไรก็ตาม การทดลองแบบ Double-blind กลับพบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากแปะก๊วยวันละ 80-120 มก. ร่วมกับยาริสเพอริโดน (Risperidone) ซึ่งเป็นยารักษาหลัก ให้ผลลัพธ์ในการรักษาไม่ต่างจากกลุ่มที่ได้รับยาหลอกร่วมกับยาริสเพอริโดน (42) จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
12. โรคสมาธิสั้น (ADHD) การศึกษาพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 240 มก. เป็นเวลา 3-5 สัปดาห์ อาจเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษาเด็กที่มีสมาธิสั้น แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม (43) ส่วนอีกการศึกษาพบว่าเด็กสมาธิสั้นที่เสริมแปะก๊วยวันละ 80-120 มก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพในการรักษา แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับยารักษาหลักอย่างเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) ก็ตาม (44)
13. เพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับ การศึกษาหนึ่งพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 240 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับยา Trimipramine สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับได้โดยการช่วยลดความถี่ของการตื่นนอนตอนกลางคืน และยืดระยะเวลาการนอนหลับที่ไม่ใช่ช่วง REM (Non-REM) (45)
14. ประสิทธิภาพการมองเห็นและสุขภาพดวงตา การศึกษาพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 80 มก. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังดวงตาเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินแบบความดันตาปกติ (Normal Tension Glaucoma) และทำให้ลานสายตาที่ผิดปกติจากต้อหินมีอาการดีขึ้น แต่ไม่ได้แปลว่าจะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น (46, 47) และเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้มีจำนวนน้อย จึงยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
- ส่วนการทบทวนผลการศึกษาอีก 2 ชิ้นในปี 2013 ที่ประเมินผลการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยในขนาดตั้งแต่ 60-240 มก. ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ (AMD : Age-related Macular Degeneration) และพบว่าผู้เข้าร่วมบางคนมีการมองเห็นที่ดีขึ้น แต่ในภาพรวมไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (48) จึงยังไม่ชัดเจนว่าแปะก๊วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นในผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาอยู่แล้วหรือไม่ จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
15. ลดอาการหอบหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง งานวิจัยบางชิ้นระบุว่าแปะก๊วยอาจช่วยให้อาการของโรคหอบหืด (Asthma) และโรคระบบทางเดินหายใจอักเสบอื่น ๆ เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ดีขึ้น โดยเป็นผลมาจากฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ แต่ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
- การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด พบว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยช่วยบรรเทาอาการอักเสบในระบบทางเดินหายใจได้ และอาจใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นส่วนเสริมในการรักษาร่วมกับยาลดการอักเสบกลูโคคอร์ติคอยด์ (49)
- การศึกษาอีกชิ้นที่มีการใช้ส่วนผสมของสมุนไพรจีนรวมถึงแปะก๊วยเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แล้วพบว่าผู้ป่วยมีอาการไอและการอักเสบของหลอดลมลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (50) อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะแปะก๊วยเพียงอย่างเดียวหรือเป็นผลมาจากการเสริมฤทธิ์กันของสมุนไพรอื่น ๆ
16. สมรรถภาพทางเพศ แปะก๊วยอาจทำให้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีผลต่อระบบไนตริกออกไซด์ และช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบ แต่การศึกษาในประเด็นนี้ยังให้ผลลัพธ์ที่ขัดแย้งกันและยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
- การศึกษานำร่องในผู้ที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากการใช้ยาต้านอาการซึมเศร้า (SSRIs) เมื่อใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยขนาดเฉลี่ยวันละ 209 มก. พบว่ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 84% ในการเพิ่มความต้องการทางเพศ (ประสิทธิภาพ 91% ในผู้หญิงและ 76% ในผู้ชาย) (51) แม้ว่าการศึกษาในภายหลังจากการทบทวนอย่างเป็นระบบไม่พบว่าแปะก๊วยมีประสิทธิภาพดีกว่าเมื่อเทียบกับยาหลอก (52)
- การทบทวนการศึกษาอย่างเป็นระบบในปี 2021 พบว่าแปะก๊วยอาจมีผลเชิงบวกต่อสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน แต่ไม่มีผลในผู้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากยาต้านอาการซึมเศร้า (53)
- การศึกษาในผู้หญิงที่มีความผิดปกติทางเพศจำนวน 68 คน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดใบแปะก๊วยในขนาดวันละ 300 มก. ร่วมไปกับการบำบัดทางเพศ สามารถช่วยเพิ่มระดับความต้องการทางเพศและความพึงพอใจได้มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการบำบัดทางเพศเพียงอย่างเดียว ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกและกลุ่มที่ได้รับการเสริมแปะก๊วยเพียงอย่างเดียวไม่ส่งผลใด ๆ (54)
17. ลดอาการก่อนมีประจำเดือน PMS (Premenstrual Syndrome) การศึกษาเบื้องต้นพบว่าแปะก๊วยอาจช่วยลดกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนได้ โดยพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 40 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 รอบก่อนมีประจำเดือน สามารถช่วยลดอาการเจ็บคัดตึงเต้านมและอาการทางประสาทได้ (เช่น กระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย วีนเหวี่ยงผิดปกติ) (55) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่พบว่าการเสริมในขนาดเดียวกันช่วยลดความรุนแรงโดยรวมของอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจลงได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (23.68% ต่อ 8.74%) (56)
18. ภาวะแพ้ที่สูง Acute Mountain Sickness (AMS) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเดินทางขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปต้องมากกว่า 2,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยจะมีอาการปวดศีรษะ แต่ไม่มาก ซึ่งเป็นอาการเด่นของภาวะนี้ และมีอาการร่วมต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อาการ คือ อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ วิ่งเวียน หรือนอนไม่หลับ จากข้อมูลการศึกษาเราพบว่าการเสริมแปะก๊วยวันละ 160-240 มก. เป็นเวลา 1-5 วัน ก่อนเดินทางขึ้นที่สูง สามารถช่วยป้องกันและลดอาการ AMS ลงได้อย่างมาก
- การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย ขนาด 60 มก. สามครั้งต่อวัน ก่อนวันเดินทางขึ้นที่สูง 1 วัน สามารถช่วยลดจำนวนผู้มีอาการ AMS รุนแรงมากพอที่จะต้องลงมาทันที จาก 64% เหลือ 17% (57)
- การศึกษาที่พบว่า การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 มก. สองครั้งต่อวันก่อนวันการเดินทางขึ้นที่สูง 1 วัน ช่วยป้องกันการเกิดและลดความรุนแรงของอาการ AMS เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (58)
- การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 80 มก. 2 ครั้ง (24 และ 12 ชั่วโมงก่อนการขึ้นที่สูง) ตามด้วยการเสริมวันละ 2 ครั้งในระหว่างการเดินทาง สามารถป้องกันการเกิดภาวะ AMS ได้ โดยมีประสิทธิภาพมากกว่ายาอะเซตาโซลาไมด์ (Acetazolamide) ที่ใช้เพื่อป้องกันและลดอาการแพ้ที่สูง อีกทั้งยังพบว่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (59)
- การศึกษาที่พบว่ากลุ่มที่เสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย วันละ 160 มก. ไม่พบอาการ AMS ในขณะที่กลุ่มได้รับยาหลอกพบอาการ AMS ถึง 40.9% และยังพบว่าอาการทางเดินหายใจลดลงเหลือ 13.6% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 81.8% (60)
19. ลดอาการปวดจากภาวะ Diabetic sensorimotor polyneuropathy คือ ?เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่เกิดเนื่องจากการเสื่อมสภาพของเส้นประสาทประเภทหนึ่ง การศึกษาขนาดเล็กใน 134 คนที่มีความเสียหายของเส้นประสาทประเภทหนึ่งเนื่องจากโรคเบาหวาน (diabetic sensorimotor polyneuropathy) แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 มก. วันละครั้งหลังอาหารเช้าเป็นเวลา 6 เดือน ช่วยลดอาการปวดได้ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอกที่มีอาการปวดเพิ่มขึ้น (61) และจากผลการศึกษานี้ แนวทางของ American Academy of Neurology ในปี 2021 ได้ระบุว่าแปะก๊วยอาจมีแนวโน้มที่จะช่วยอาการปวดได้มากกว่ายาหลอก (62)
20. โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral Arterial Disease) โรคที่มักทำให้เกิดอาการปวดน่องเป็นพัก ๆ (Intermittent Claudication) คือ ?อาการปวดน่องเป็นพักๆ (Intermittent Claudication) เป็นอาการของโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบ (PAD) ก่อให้เกิดการกีดขวางการไหลเวียนของเลือดที่ไปแขนขา ทำให้ผู้ป่วยมักมีอาการอึดอัดหรือปวดขาในขณะเดินเนื่องจากเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ โดยเฉพาะตอนเดินที่จะเริ่มอาการปวดเมื่อเดินได้ระยะทางใกล้เคียงกัน
- การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 120 มก. เป็นเวลา 6 เดือน ช่วยลดความถี่ (เพิ่มระยะการเดิน) และลดอาการปวดจากอาการปวดน่องเป็นพัก ๆ (Intermittent claudication) ได้ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีความถี่การเกิดอาการเพิ่มขึ้นอย่างมาก (63) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่พบว่ากลุ่มที่เสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยมีระยะการเดินที่ปราศจากอาการยาวกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (153.2 เมตร ต่อ 126.6 เมตร) (64)
- ความเสี่ยงโดยรวมของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบในผู้สูงอายุดูเหมือนจะลดลงเมื่อเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 240 มก. (การเกิดลดจาก 1.5% เหลือ 0.8%) (65) สอดคล้องกับอีกการศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ที่พบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ช่วยลดภาวะขาดเลือดในสมองได้ 38% (66)
21. อาจช่วยลดความถี่ของอาการปวดจากโรคเรเนาด์ (Raynaud’s disease) ซึ่งอาการมักเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ โดยการศึกษาขนาดเล็กชิ้นหนึ่งในชายและหญิงที่เป็นโรคเรเนาด์ พบว่าการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 มก. วันละ 3 ครั้ง รวม 360 มก. เป็นเวลา 2 เดือน ช่วยลดความถี่ของอาการเกิดอาการนี้ได้ (จาก 13 เป็น 6 ครั้ง) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (จาก 14 เป็น 10 ครั้ง) แต่ไม่ช่วยลดความรุนแรงของอาการและระยะเวลาที่มีอาการปวด (67) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่พบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 120 มก. ช่วยลดความถี่ได้ (68) อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาที่ใหม่กว่ากลับพบว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่ได้ช่วยลดความถี่ ระยะเวลา และความรุนแรงของโรคแต่อย่างใดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (69)
22. ลดอาการของภาวะ Tardive Dyskinesia (TD) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้และมีสาเหตุมาจากการใช้ยาต้านโรคจิตเป็นเวลานาน โดยจากการทดลองพบว่าการเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 240 มก. ทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มระดับความเข้มข้นของ BDNF และช่วยลดหรือบรรเทาอาการของภาวะนี้ได้ (BDNF เป็นโปรตีนที่ผลิตขึ้นในสมองและมีบทบาทสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ประสาทในสมอง ในผู้ที่มีภาวะ TD มักมีระดับ BDNF ที่ต่ำกว่าปกติ นั่นหมายความว่าการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจเกิดจากการทำลายเซลล์ประสาทในสมอง ซึ่งส่งผลต่อระดับ BDNF ในระยะยาว) (70)
23. โรคด่างขาว (Vitiligo) การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วย 40 มก. วันละ 3 ครั้ง (รวม 120 มก.) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ พบว่ามีการสร้างเม็ดสีใหม่และหยุดการแพร่กระจายของโรคด่างขาวได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (71) สอดคล้องกับอีกการศึกษาที่การเสริมสารสกัดจากใบแปะก๊วยวันละ 120 มก. ทุกวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ สัมพันธ์กับอัตราการสร้างเม็ดสีใหม่เพิ่มขึ้น 15% และลดขนาดรอยโรคได้ 0.4% (72)
24. ภาวะสูญเสียการได้ยิน การศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (ISSHL) ที่สูญเสียการได้ยินอย่างน้อย 15 เดซิเบลขึ้นไป จำนวน 106 คน พบว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย 120 มก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มความเร็วในฟื้นตัวของผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ (73)
25. สุขภาพผิว ครีมบำรุงผิวบางผลิตภัณฑ์อาจมีการใช้แปะก๊วยเป็นส่วนผสม เนื่องจากแปะก๊วยมีสารฟลาโวนอยด์และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การศึกษาผลของการใช้ครีมบำรุงผิวหนัง (มีสารฟลาโวนอยด์จากใบแปะก๊วย 0.3%) เป็นเวลา 28 วัน พบว่าความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้น (27.88%), ผิวเรียบเนียนขึ้น (4.32%), ความหยาบกร้านของผิวลดลง (0.4%) และริ้วรอยลดลง (4.63%) (74)
26. สุขภาพผม การศึกษาในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดเอทานอล 70% จากใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของเส้นผม (75)
27. ประสิทธิภาพการออกกำลังกาย การใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับสมุนไพร Rhodiola crenulata ในอัตราส่วน 1:9 (รวม 1,080 มก.) ที่เรียกว่า Rhodiola-Ginkgo Capsule (RGC) ในผู้ชายที่มีสุขภาพดี เป็นเวลา 7 สัปดาห์ ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายแบบใช้ความอดทน โดยเพิ่มการใช้ออกซิเจนและป้องกันความเหนื่อยล้า (VO2 Max เพิ่มขึ้น) (76)
ผลข้างเคียงและความปลอดภัย
โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแปะก๊วยค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่ในบางรายก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ (โดยเฉพาะเมื่อใช้ในขนาดสูงเกินกว่าที่ฉลากแนะนำ) เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง ผื่น เกิดอาการแพ้ หรือระดับโซเดียมต่ำ ส่วนข้อกังวลด้านความปลอดภัยอื่น ๆ นั้นมีคำแนะนำดังนี้
- ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกง่ายหรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง และผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด ควรหลีกเลี่ยงการผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแปะก๊วยเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ผู้ที่มีอาการชัก หากเคยมีอาการชักมาก่อนควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแปะก๊วย เพราะอาจทำให้อาการกำเริบได้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยารักษาเบาหวาน
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ ควรหยุดรับประทานผลิตภัณฑ์แปะก๊วยอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะแปะก๊วยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในระหว่างและหลังการผ่าตัด
- ในผู้หญิงที่พยายามจะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาหรือเคยมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์มาก่อน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแปะก๊วย เนื่องจากแปะก๊วยอาจรบกวนการปฏิสนธิ
- ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแปะก๊วย จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
- ในผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือ ภาวะสมองเสื่อม หรือโรคที่เกี่ยวกับความบกพร่องทางสมอง ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้เป็นโรคที่รุนแรงเกินกว่าจะรักษาได้ด้วยตัวเอง ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาที่ถูกต้อง
- ใบสดและเมล็ดดิบมีพิษไม่ควรนำมารับประทาน อาจทำให้เกิดอาการชักและเสียชีวิต
- ใบและเมล็ดแปะก๊วยมีกรดกิงโกลิก (Ginkgolic acids) ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อกลายพันธุ์ เป็นพิษต่อตับและเซลล์ประสาท และเป็นสารก่อมะเร็งในหลอดทดลอง อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นของกรดกิงโกลิกนั้นจะลดลงอย่างมากจากขั้นตอนการสกัดและทำให้บริสุทธิ์จนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย (ตามประกาศแล้วในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแปะก๊วยจะต้องมีกรดกิงโกลิกต่ำกว่า 5 ppm ซึ่งเป็นปริมาณที่ยอมรับได้) (77)
- อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่ายขึ้น เนื่องจากแปะก๊วยมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
- ผลิตภัณฑ์แปะก๊วยอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่ไม่พึงประสงค์ได้ ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin, Aspirin), ยาต้านอาการซึมเศร้า (Prozac, Zoloft), ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Ibuprofen, Naproxon) จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
คำแนะนำและข้อควรรู้
- เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือยาอื่น ๆ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชก่อนใช้เสมอถึงความจำเป็นในการใช้ ปฏิกิริยาระหว่างยา โรคประจำตัว และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
- ผลิตภัณฑ์แปะก๊วยมีจำหน่ายทั้งในรูปแบบแคปซูล, แบบเม็ด, สารสกัดของเหลว (Liquid extracts) และแบบใบแห้งหรือชา โดยแบบที่นิยมมากที่สุดจะเป็นแบบแคปซูล (มีปริมาณสารสกัดตั้งแต่ 40, 60, 80, 120 มก.)
- สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Biloba Extract) หรือ GBE อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสารสกัด EGb-761 (EGb-761 Extract)
- จากข้อการศึกษา หลักฐานส่วนใหญ่ดูเหมือนจะสนับสนุนการใช้แปะก๊วยที่ขนาดวันละ 120-160 มก. สำหรับอาการส่วนใหญ่ โดยมักแบ่งรับประทานเป็นวันละ 3 มื้อมากกว่ารับประทานเพียงครั้งเดียว เพราะได้ผลดีกว่า
- ยังไม่มีขนาดยาสูงสุดที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่ควรเริ่มรับประทานในขนาดที่ต่ำก่อนคือวันละ 80 มก. แล้วค่อยเพิ่มขนาดในภายหลัง (งานวิจัยส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ในปริมาณที่มากกว่าวันละ 600 มก. ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานเกินจากปริมาณนี้)
- งานวิจัยส่วนใหญ่สะท้อนผลลัพธ์จากการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยที่บริสุทธิ์และมีปริมาณสารสำคัญที่แน่นอนเท่านั้น ดังนั้น หากร่างกายจะได้รับประโยชน์ก็ต้องมาจากการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์แปะก๊วยยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือสูงเท่านั้น (กล่าวต่อในหัวข้อถัดไป*)
- ควรมองหาผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือ มีความเข้มข้นของสารสกัดมากกว่าใบแห้งประมาณ 50 เท่า (50:1) และได้มาตรฐานสแตนดาร์ดไดซ์ (Standardized Extract) คือ ?Standardized Extract เป็นเทคโนโลยีการสกัดเอาสารสำคัญจากสมุนไพร ทำให้ได้สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ได้ตรงตามความต้องการในการรักษาโรค และสามารถกำหนดความเข้มข้นของสารสำคัญได้อย่างแม่นยำ ซึ่งความเข้มข้นของสารสกัดที่มักใช้ในงานวิจัย คือ ฟลาโวนอลไกลโคไซด์ (Flavonglycosides) 24% และเทอร์พีนแลคโตน (Terpene Lactones) 6% (หรือในรูปแบบของมิลลิกรัมสำหรับแปะก๊วยขนาด 40 มก. คือ Flavonglycosides 9.6 มก. และ Terpene Lactones 2.4 มก.)
- สำหรับส่วนผสมที่เฉพาะเจาะจงกว่านี้ (ถ้ามีระบุไว้ในฉลาก) ผลิตภัณฑ์แปะก๊วยที่ใช้ได้ผลในทางคลินิกจะต้องประกอบ Flavonglycosides 24% หรืออย่างน้อย 22% (แบ่งเป็น Quercetin 9.5%, Kaempferol 10.5% และ Isorhamnetin 2% เป็นอย่างต่ำ) ซึ่งตัวนี้หลัก ๆ จะมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และประกอบด้วย Terpene Lactones 6% หรืออย่างน้อย 5% (แบ่งเป็น Bilobalide 2.6% และ Ginkgolides A B C 2.8% เป็นอย่างต่ำ) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและส่งผลดีต่อสมอง (78)
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์แปะก๊วยในรูปของผงที่บดมาจากใบ (สิ่งนี้ตรงข้ามกับ “สารสกัด” ซึ่งมีความบริสุทธิ์และปลอดภัย) เพราะมักมีการตรวจพบการปนเปื้อนของสารตะกั่วในผงแห้งที่ไม่ใช่สารสกัด ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้ความดันโลหิตสูง ส่งผลเสียต่อระบบประสาทและระบบสืบพันธุ์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรมองหาคำว่า “สารสกัดจากใบแปะก๊วย” หรือ “Ginkgo biloba extract” แทนผลิตภัณฑ์ที่ระบุแต่เพียงว่าใช้ส่วนผสม “ใบแปะก๊วย” เฉย ๆ
- ควรรับประทานแปะก๊วยพร้อมมื้ออาหาร
- โปรดทราบว่าอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ (อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์) ก่อนที่จะเห็นผลลัพธ์ใด ๆ จากการรับประทานแปะก๊วย
ขนาดที่แนะนำตามงานวิจัย
ขนาดที่แนะนำต่อไปนี้เป็นขนาดที่ใช้ในงานวิจัยและพบว่าได้ผลดี โดยจากปริมาณต่อวันแนะนำให้แบ่งรับประทานเป็นวันละ 3 ครั้งพร้อมอาหาร เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและเพิ่มการดูดซึมของร่างกาย
- ความคิดความจำ วันละ 120-240 มก.
- ภาวะสมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ วันละ 120-240 มก.
- วิงเวียนศีรษะ/บ้านหมุน วันละ 160-240 มก. เป็นเวลา 3 เดือน
- ลดความเครียด/วิตกกังวล วันละ 120-480 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์
- โรคสมาธิสั้น วันละ 120-240 มก. เป็นเวลา 3-5 สัปดาห์
- ลดความถี่การตื่นนอนตอนกลางคืน วันละ 240 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์
- สุขภาพดวงตา วันละ 80-240 มก.
- อาการก่อนมีประจำเดือน PMS ครั้งละ 40 มก. วันละ 3 ครั้ง รวม 120 มก. (เริ่มในวันที่ 16 ของรอบประจำเดือนปัจจุบันจนถึงวันที่ 5 ของรอบเดือนถัดไป)
- ภาวะแพ้ที่สูง Acute Mountain Sickness ครั้งละ 40-60 มก. วันละ 3 ครั้ง รวม 120-180 มก. ก่อนเดินทางขึ้นที่สูง 1-5 วัน
- โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบและอาการปวดน่องเป็นพัก ๆ ครั้งละ 40 มก. วันละ 3 ครั้ง รวม 120 มก. เป็น 6 เดือน
- โรคเรเนาด์ ครั้งละ 120 มก. วันละ 3 ครั้ง รวม 360 มก. เป็น 2 เดือน
- ภาวะ Tardive Dyskinesia วันละ 240 มก. เป็นเวลา 12 สัปดาห์
- โรคด่างขาว ครั้งละ 40 มก. วันละ 3 ครั้ง รวม 120 มก. เป็น 6 สัปดาห์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแปะก๊วย
แปะก๊วยเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่พบการปลอมปนมากที่สุดในท้องตลาด โดยผลการทดสอบจาก ConsumerLab พบผลิตภัณฑ์แปะก๊วยยอดนิยม (ยี่ห้อชื่อดัง) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบมากถึง 6 จาก 10 รายการ โดยบางผลิตภัณฑ์ตรวจพบว่ามีสารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่ถึง 3% ของปริมาณที่ระบุไว้ในฉลาก แต่ยี่ห้อที่เหลือนั้นดูเหมือนจะตรวจพบการเจือปนของสารประกอบจากพืชชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แปะก๊วย (ตัวอย่างเช่น แม้แปะก๊วยจะมีสาร Quercetin ซึ่งเป็นสารฟลาโวนอลไกลโคไซด์ แต่ส่วนใหญ่แล้วสารนี้จะถูกไฮโดรไลซ์ในระหว่างการสกัด แต่ผลการทดสอบกลับพบว่ามี Quercetin ที่ไม่ผ่านการไฮโดรไลซ์ในปริมาณมากผิดปกติในผลิตภัณฑ์ที่มีเฉพาะส่วนผสมของแปะก๊วยเพียงอย่างเดียว นี่จึงเป็นหลักฐานว่ามีการใช้พืชชนิดอื่นที่มีสาร Quercetin เสริมเข้าไปในแปะก๊วยคุณภาพต่ำเพื่อลดต้นทุน เนื่องจากแปะก๊วยที่มีคุณภาพดีนั้นเป็นวัตถุดิบที่มีราคาแพง เพราะต้องใช้ใบแห้งถึง 50 ปอนด์เพื่อให้ได้สารสกัดที่ออกฤทธิ์ได้เพียง 1 ปอนด์)
ดังนั้นการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปะก๊วย จึงควรเลือกจากยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือสูงและมีมาตรฐานที่ดีในการผลิต ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ GINKGO BILOBA EXTRACT 40 MG (จิงโก บิโลบาสกัด 40 มก.) ของ MEGA We care ที่เราได้นำมาวิเคราะห์ถึงจุดเด่นจุดด้อยให้ผู้อ่านดูเป็นตัวอย่างเพื่อให้เกิดไอเดียในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นี้
อย่างแรกมาเริ่มกันที่ความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิตก่อนครับ แน่นอนว่าหลายคนรู้จักยี่ห้อนี้กันดีอยู่แล้วว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ของผู้ผลิตยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในไทย แต่ทราบหรือไม่ว่า เมก้านั้นเป็นโรงงานผลิตยาเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ผ่านการรับมาตรฐานการผลิต (GMP) ระดับสากลถึง 2 สถาบัน คือ TGA จากประเทศออสเตรเลีย และ BfArM จากประเทศเยอรมนี โดยทุก ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจะต้องผ่านขั้นตอนการวิจัยการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตรวจสอบสารปนเปื้อนและโลหะหนักก่อนเสมอ และในกระบวนการผลิตยังใช้เทคโนโลยีขั้นสูง คือ ?เช่น SOLVENT FREE (เทคโนโลยีขั้นสูงของกระบวนการผลิตแคปซูลนิ่ม เพื่อลดการใช้ตัวทำละลายและทำให้ผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ปราศจากจากสารตกค้างอันไม่จำเป็น), NO ADDED PRESERVATIVES (เทคโนโลยีพิเศษและกระบวนการที่ปราศจากเชื้อ ควบคุมการผลิตโดยไม่ให้ใช้สารกันบูดในแคปซูลนิ่ม) และการควบคุมคุณภาพโดย QUALITY ASSURANCE และ QUALITY CONTROL ภายใต้มาตรฐานการผลิตยา ดังนั้น ในเรื่องมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยจึงนับว่าเชื่อถือได้ครับ
มาที่ตัวผลิตภัณฑ์กันบ้างครับ ตัว GINKGO BILOBA EXTRACT 40 MG นั้นเป็นผลิตภัณฑ์แปะก๊วยที่อยู่ในรูปของแคปซูลนิ่มที่แตกตัวและดูดซึมได้ดีกว่าแบบเม็ดหรือแบบแคปซูลทั่ว ๆ ไป ตัวบรรจุภัณฑ์ภายนอกออกแบบมาดีตามมาตรฐานการผลิตยา ขวดเป็นพลาสติกเกรดยาทึบแสง 100% ฝาขวดเปิดปิดได้แน่นสนิทมาก ส่วนเรื่องปริมาณความเข้มข้นของสารสกัดจากใบแปะก๊วยคือ 40 มิลลิกรัม/แคปซูล ตรงนี้นับว่าเป็นขนาดความเข้มข้นที่เหมาะสม คือ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และสามารถบริหารขนาดยาได้ดีกว่า เพราะถ้าเราอ้างอิงงานวิจัยที่ใช้ในการรักษาหรือบรรเทาอาการต่าง ๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นใช้ในขนาดวันละ 120 มิลลิกรัม ซึ่งการแบ่งรับประทานวันละ 3 ครั้งพร้อมอาหารก็ถือว่าครบพอดีตามงานวิจัย อีกทั้งยังได้ผลดีกว่าในเรื่องการดูดซึม เพราะถ้าเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์แปะก๊วยที่มีความเข้มข้นหรือขนาดสูงกว่านี้ เช่น 80 หรือ 120 มก./แคปซูล แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว จะดูดซึมได้ดีไม่เท่าการแบ่งรับประทานวันละหลายครั้ง นอกจากนี้ ในบางอาการก็แนะนำให้ใช้ในขนาด 40 มก. วันละ 3 ครั้ง มากกว่าการใช้เพียงครั้งเดียว เช่น อาการก่อนมีประจำเดือน PMS ของคุณผู้หญิง ซึ่งจะให้ผลดีกว่า เป็นต้น
สำหรับด้านการวิเคราะห์คุณภาพ ถ้าเราดูจากฉลาก ใน 1 แคปซูล จะมีสารสกัดจากใบแปะก๊วย 40 มก. (เทียบเท่าใบแปะก๊วย 2,000 มก. และให้สารสกัดฟลาโวนอลไกลโคไซด์ 9.6%) ตรงนี้ก็วิเคราะห์ได้ง่าย ๆ ว่าผลิตภัณฑ์นี้มีคุณภาพเดียวกับที่ใช้ในงานวิจัย เนื่องจากมีความเข้มข้นของสารสกัดมากกว่าใบแห้งประมาณ 50 เท่า (ใบแห้ง 2,000 มก. : สารสกัด 40 มก.) และมีสารฟลาโวนอลไกลโคไซด์ (Flavonglycosides) 9.6 มก. หรือคิดเป็น 24% และส่วนที่เหลือจะเป็นเทอร์พีนแลคโตน (Terpene Lactones) 6% ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าผ่านเช่นกันครับ
- ไว้ใจได้ในเรื่องคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย
- เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผลิตภายใต้มาตรฐานการผลิตยาในระดับสากล
- ความเข้นข้นเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
- ออกฤทธิ์ได้ตามงานวิจัย
- ให้ประโยชน์ครอบคลุมเมื่อทานวันละ 3 ครั้ง
- แคปซูลนิ่มที่แตกตัวและดูดซึมได้ดีกว่า
- บรรจุภัณฑ์ได้มาตรฐาน บรรจุในพลาสติกเกรดยา
- ตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแปะก๊วย
- ปริมาณสารสกัดน้อยกว่าบางยี่ห้อ
- อาจต้องทานวันละ 3 ครั้ง
โดยรวมแล้วผลิตภัณฑ์ GINKGO BILOBA EXTRACT 40 MG เป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าเชื่อถือได้สูงและได้มาตรฐานตามงานวิจัย ความเข้มข้นของสารสกัดอยู่ในปริมาณกำลังดีตามงานวิจัย ใช้แคปซูลแบบนิ่มที่แตกตัวและดูดซึมได้ดีกว่าแคปซูลทั่วไป การรับประทานวันละ 3 ครั้ง (120 มก.) ให้ประโยชน์ครอบคลุมเกือบทุกอาการสำคัญโดยเฉพาะประโยชน์ด้านสมองและการไหลเวียนเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังจะเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์จากใบแปะก๊วยที่ควรเริ่มจากปริมาณน้อยก่อนแล้วถ้าอาการไม่ดีขึ้นค่อยเพิ่มปริมาณตามคำแนะนำของแพทย์
สรุป
แปะก๊วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างปลอดภัย มีหลายรูปแบบ และดูหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพเมื่อรับประทานในขนาดวันละ 120-240 มก. โดยเฉพาะการเพื่อวัตถุประสงค์ช่วยเสริมการทำงานของสมองและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าแปะก๊วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่พบการปลอมปนมากที่สุด ดังนั้น จึงควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตที่ไว้ใจได้และมีความน่าเชื่อถือสูงเท่านั้น และเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ก่อนใช้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
งานวิจัยอ้างอิง
- International Journal of Molecular Sciences. “Properties of Ginkgo biloba L.: Antioxidant Characterization, Antimicrobial Activities, and Genomic MicroRNA Based Marker Fingerprints”. (2020)
- Aging and disease. “Advances in the Studies of Ginkgo Biloba Leaves Extract on Aging-Related Diseases”. (2017)
- Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine. “Ginkgo biloba: A Treasure of Functional Phytochemicals with Multimedicinal Applications”. (2022)
- Inflammopharmacology. “Anti-inflammatory effects of Ginkgo biloba extract against trimethyltin-induced hippocampal neuronal injury”. (2018)
- Food & Function journal. “Evaluation of the anti-inflammatory properties of the active constituents in Ginkgo biloba for the treatment of pulmonary diseases”. (2019)
- Planta Medica. “Evidence of the regulatory effect of Ginkgo biloba extract on skin blood flow and study of its effects on urinary metabolites in healthy humans”. (2004)
- Phytotherapy Research. “Ginkgo biloba extract improves coronary artery circulation in patients with coronary artery disease: contribution of plasma nitric oxide and endothelin-1”. (2008)
- Plant Foods for Human Nutrition. “Acute effects of Ginkgo biloba extract on vascular function and blood pressure”. (2011)
- Neuroradiology. “Effects of Ginkgo biloba on cerebral blood flow assessed by quantitative MR perfusion imaging: a pilot study”. (2011)
- Pharmacopsychiatry. “Cognitive performance, SPECT, and blood viscosity in elderly non-demented people using Ginkgo biloba”. (2003)
- Human Psychopharmacology. “Ginkgo biloba is not a smart drug: an updated systematic review of randomised clinical trials testing the nootropic effects of G. biloba extracts in healthy people”. (2007)
- Phytomedicine. “Specific memory effects of Ginkgo biloba extract EGb 761 in middle-aged healthy volunteers”. (2011)
- Phytotherapy Research. “The effects of acute doses of standardized Ginkgo biloba extract on memory and psychomotor performance in volunteers”. (1999)
- International Journal of Clinical Pharmacology Research. “The psychopharmacological effects of Ginkgo biloba extract in normal healthy volunteers”. (1984)
- Human Psychopharmacology: Clinical and Experimental. “A double-blind placebo-controlled trial of tanakan in the treatment of idiopathic cognitive impairment in the elderly”. (1987)
- Human Psychopharmacology: Clinical and Experimental. “A double-blind, placebo-controlled, randomized trial of Ginkgo biloba extract EGb 761 in a sample of cognitively intact older adults: neuropsychological findings”. (2002)
- Human Psychopharmacology: Clinical and Experimental. “Effects of Ginkgo biloba extract EGb 761® on cognitive control functions, mental activity of the prefrontal cortex and stress reactivity in elderly adults with subjective memory impairment – a randomized double-blind placebo-controlled trial”. (2016)
- JAMA. “Ginkgo for memory enhancement: a randomized controlled trial”. (2002)
- Human Psychopharmacology: Clinical and Experimental. “Is Ginkgo biloba a cognitive enhancer in healthy individuals? A meta-analysis”. (2012)
- Psychopharmacology – Berlin. “The dose-dependent cognitive effects of acute administration of Ginkgo biloba to healthy young volunteers”. (2000)
- Journal of Pharmaceutical Health Care and Sciences. “Meta-analysis of the efficacy and safety of Ginkgo biloba extract for the treatment of dementia”. (2015)
- JAMA. “Ginkgo biloba for Prevention of Dementia A Randomized Controlled Trial”. (2008)
- The Lancet Neurology. “Long-term use of standardised ginkgo biloba extract for the prevention of Alzheimer’s disease (GuidAge): a randomised placebo-controlled trial”. (2012)
- JAMA. “Ginkgo biloba for Preventing Cognitive Decline in Older Adults A Randomized Trial”. (2009)
- Current Topics in Medicinal Chemistry. “Ginkgo Biloba for Mild Cognitive Impairment and Alzheimer’s Disease: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials”. (2016)
- International Psychogeriatrics. “Treatment effects of Ginkgo biloba extract EGb 761® on the spectrum of behavioral and psychological symptoms of dementia: meta-analysis of randomized controlled trials”. (2018)
- Journal of Ethnopharmacology. “The traditional Chinese medicine prescription patterns for migraine patients in Taiwan: a population-based study”. (2014)
- Neurological Sciences. “Ginkgolide B as migraine preventive treatment in young age: results at 1-year follow-up”. (2011)
- La Presse Médicale. “Treatment of equilibrium disorders with Ginkgo biloba extract. A multicenter double-blind drug vs. placebo study”. (1986)
- Advances in Therapy. “Ginkgo biloba (EGb 761) in the treatment of equilibrium disorders”. (1998)
- International Journal of Otolaryngology. “Treatment of Vertigo: A Randomized, Double-Blind Trial Comparing Efficacy and Safety of Ginkgo biloba Extract EGb 761 and Betahistine”. (2014)
- CNS & Neurological Disorders – Drug Targets. “Ginkgo biloba Extract 761: A Review of Basic Studies and Potential Clinical Use in Psychiatric Disorders”. (2015)
- Journal of Psychiatric Research. “Ginkgo biloba special extract EGb 761 in generalized anxiety disorder and adjustment disorder with anxious mood: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial”. (2007)
- Pharmacology Biochemistry and Behavior. “Ginkgo biloba extract: cognitive enhancer or antistress buffer”. (2002)
- Journal of Physiology and Pharmacology. “Reduction of rise in blood pressure and cortisol release during stress by Ginkgo biloba extract (EGb 761) in healthy volunteers”. (2002)
- Neurochemistry International. “Antidepressant-like effect of a Ginkgo biloba extract (EGb761) in the mouse forced swimming test: role of oxidative stress”. (2011)
- Medicine (Baltimore). “Role of Ginkgo biloba extract as an adjunctive treatment of elderly patients with depression and on the expression of serum S100B”. (2018)
- Neuropsychiatric Disease and Treatment . “Efficacy of ginkgo biloba extract as augmentation of venlafaxine in treating post-stroke depression”. (2019)
- Journal of Clinical Psychiatry. “A double-blind, placebo-controlled trial of extract of Ginkgo biloba added to haloperidol in treatment-resistant patients with schizophrenia”. (2001)
- International Clinical Psychopharmacology. “A placebo-controlled study of extract of ginkgo biloba added to clozapine in patients with treatment-resistant schizophrenia”. (2008)
- Phytotherapy Research. “First preliminary results of an observation of Ginkgo Biloba treating patients with autistic disorder”. (2009)
- Child Psychiatry & Human Development. “A double-blind placebo controlled trial of Ginkgo biloba added to risperidone in patients with autistic disorders”. (2012)
- Z Kinder Jugendpsychiatr Psychother. “Ginkgo biloba extract EGb 761® in children with ADHD”. (2014)
- Progress in Neuro-Psychopharmacology and Biological Psychiatry. “Ginkgo biloba for attention-deficit/hyperactivity disorder in children and adolescents: a double blind, randomized controlled trial”. (2010)
- Pharmacopsychiatry. “Polysomnographic effects of adjuvant ginkgo biloba therapy in patients with major depression medicated with trimipramine”. (2001)
- Korean Journal of Ophthalmology. “Short-term effects of Ginkgo biloba extract on peripapillary retinal blood flow in normal tension glaucoma”. (2011)
- Current Opinion in Ophthalmology. “Ginkgo biloba and its potential role in glaucoma”. (2018)
- Cochrane Database of Systematic Reviews. “Ginkgo biloba extract for age-related macular degeneration”. (2013)
- Journal of Huazhong University of Science and Technology. “The effect of Ginkgo Biloba extract on the expression of PKCalpha in the inflammatory cells and the level of IL-5 in induced sputum of asthmatic patients”. (2007)
- Nutrition Journal. “Effects of Lung Support Formula on respiratory symptoms among older adults: results of a three-month follow-up study in Shanghai, China”. (2013)
- Journal of Sex & Marital Therapy. “Ginkgo biloba for antidepressant-induced sexual dysfunction”. (1998)
- Human Psychopharmacology. “A placebo-controlled, double-blind trial of Ginkgo biloba for antidepressant-induced sexual dysfunction”. (2002)
- Avicenna Journal of Phytomedicine. “A systematic review of clinical trials on Ginkgo (Ginkgo biloba) effectiveness on sexual function and its safety”. (2021)
- Archives of Sexual Behavior. “Short- and long-term effects of Ginkgo biloba extract on sexual dysfunction in women”. (2008)
- Rev Fr Gynecol Obstet. “Value of standardized Ginkgo biloba extract (EGb 761) in the management of congestive symptoms of premenstrual syndrome”. (1993)
- Journal of Alternative and Complementary Medicine. “A randomized, placebo-controlled trial of Ginkgo biloba L. in treatment of premenstrual syndrome”. (2009)
- High Altitude Medicine & Biology. “Ginkgo biloba for the prevention of severe acute mountain sickness (AMS) starting one day before rapid ascent”. (2002)
- Wilderness & Environmental Medicine. “Ginkgo biloba does–and does not–prevent acute mountain sickness”. (2009)
- Wilderness & Environmental Medicine. “Ginkgo biloba decreases acute mountain sickness in people ascending to high altitude at Ollagüe (3696 m) in northern Chile”. (2007)
- Aviation, Space, and Environmental Medicine. “EGb 761 in control of acute mountain sickness and vascular reactivity to cold exposure”. (1996)
- Tropical Journal of Pharmaceutical Research. “Clinical and electrophysiological efficacy of leaf extract of Ginkgo biloba L (Ginkgoaceae) in subjects with diabetic sensorimotor polyneuropathy”. (2016)
- Neurology. “Oral and Topical Treatment of Painful Diabetic Polyneuropathy: Practice Guideline Update Summary: Report of the AAN Guideline Subcommittee”. (2022)
- International Angiology. “A clinical trial of Gingkco Biloba Extract in patients with intermittent claudication”. (1990)
- Vasa. “Demonstration of the efficacy of ginkgo biloba special extract EGb 761 on intermittent claudication–a placebo-controlled, double-blind multicenter trial”. (1998)
- Circulation: Cardiovascular Quality and Outcomes. “Does Ginkgo biloba reduce the risk of cardiovascular events?”. (2010)
- Angiology. “Study of the antiischemic action of EGb 761 in the treatment of peripheral arterial occlusive disease by TcPo2 determination”. (1994)
- Vascular Medicine. “The use of Ginkgo biloba in Raynaud’s disease: a double-blind placebo-controlled trial”. (2002)
- Clinical Rheumatolog. “To compare the efficacy and safety of nifedipine sustained release with Ginkgo biloba extract to treat patients with primary Raynaud’s phenomenon in South Korea; Korean Raynaud study (KOARA study)”. (2009)
- Journal of Cardiovascular Pharmacology. “No significant effect of ginkgo biloba special extract EGb 761 in the treatment of primary Raynaud phenomenon: a randomized controlled trial”. (2012)
- Biological Psychiatry. “Brain-derived neurotrophic factor levels and its Val66Met gene polymorphism predict tardive dyskinesia treatment response to Ginkgo biloba”. (2012)
- Clinical and Experimental Dermatology. “Effectiveness of oral Ginkgo biloba in treating limited, slowly spreading vitiligo”. (2003)
- BMC Complementary Medicine and Therapies. “Ginkgo biloba for the treatment of vitilgo vulgaris: an open label pilot clinical trial”. (2011)
- European Archives of Oto-Rhino-Laryngology. “Effect of treatment with Ginkgo biloba extract EGb 761 (oral) on unilateral idiopathic sudden hearing loss in a prospective randomized double-blind study of 106 outpatients”. (2001)
- International Journal of Cosmetic Science. “Clinical efficacy comparison of anti-wrinkle cosmetics containing herbal flavonoids”. (2010)
- Yakugaku Zasshi. “Effect of leaves of Ginkgo biloba on hair regrowth in C3H strain mice”. (1993)
- Chinese Journal of Integrative Medicine. “Dietary supplement with a combination of Rhodiola crenulata and Ginkgo biloba enhances the endurance performance in healthy volunteers”. (2009)
- Acta Poloniae Pharmaceutica. “Comparative analysis of pharmaceuticals and dietary supplements containing extracts from the leaves of Ginkgo biloba L”. (2010)
- Pharmacopsychiatry. “Pharmacokinetics of Ginkgo biloba extracts”. (2003)
ตรวจสอบทางการแพทย์ล่าสุดเมื่อวันที่ 05 พ.ค. 2023