เนียมอ้ม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเนียมอ้ม 4 ข้อ !

เนียมอ้ม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเนียมอ้ม 4 ข้อ !

เนียมอ้ม

เนียมอ้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Chloranthus spicatus (Thunb.) Makino (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Chloranthus inconspicuus Sw.) จัดอยู่ในวงศ์กระดูกไก่ (CHLORANTHACEAE)[1]

สมุนไพรเนียมอ้ม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ต๋านม่วง ม่วงต๋าน (เชียงใหม่), พังกะ (เลย), เนียม, ฝอยฝา เกดเมือง เนียมสวน (กรุงเทพฯ), กระดูกกบ (สุราษฎร์ธานี), ราก ราม (ปัตตานี), เนียมอ้ม (ภาคเหนือ), เนียม เนียมจีน เนียมบ้าน (ไทย), กกฟ้า เล่งม้ง (จีน) เป็นต้น[1]

ลักษณะของเนียมอ้ม

  • ต้นเนียมอ้ม จัดเป็นพรรณไม้ล้มพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้น ต้นเป็นสีเขียว มีความสูงได้ประมาณ 1-3 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่พบขึ้นตามป่าชื้นทั่วไป[1]
  • ใบเนียมอ้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลมหรือมนก็มี โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ ๆ ทู่ ๆ แผ่นใบเป็นสีเขียว ผิวใบเป็นปุ่ม ๆ ก้านใบยาวประมาณ 0.5 นิ้ว[1]
  • ดอกเนียมอ้ม ออกดอกเป็นช่อยาวบริเวณส่วนยอดของก้าน ก้านหนึ่งจะมีช่อดอกประมาณ 5-7 ช่อ ส่วนตัวดอกนั้นมีขนาดเล็ก จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ กลางดอกมีเกสร 3 อัน[1]
  • ผลเนียมอ้ม ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ก้านผลนั้นจะค่อย ๆ เรียวไปหาโคน[1]

สรรพคุณของเนียมอ้ม

  1. ชาวจีนจะใช้รากเนียมอ้มปรุงเป็นยาแก้โรคมาลาเรีย (ราก)[1]
  2. ดอกนำมาชงเป็นยาดื่มแต่น้ำเป็นยาแก้ไอ (ดอก)[1]
  3. รากมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (ราก)[1]
  4. รากใช้เป็นยาพอกหัวฝีหรือสิว (ราก)[1]

ข้อควรระวัง : สำหรับการใช้รากนั้น อย่าใช้มากจนเกินไปหรือเกินกว่าขนาดที่กำหนด เพราะจะทำให้เป็นพิษได้[1]

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “เนียมอ้ม”.  หน้า 403-404.

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Michael Thomas)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด