หนามไข่กุ้ง
หนามไข่กุ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Rubus ellipticus Sm. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rubus ellipticus var. ellipticus) จัดอยู่ในวงศ์กุหลาบ (ROSACEAE)
สมุนไพรหนามไข่กุ้ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ไข่กุ้ง ไข่ปู บ่าฮู้ดอย มะฮู้หลวง (เชียงใหม่), กูวาซาฅตาซู ยะโพบิ้ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ลำโง้น (ลั้วะ), ไข่กุ้งพู เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของหนามไข่กุ้ง
- ต้นหนามไข่กุ้ง จัดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงของต้นได้ถึง 10 เมตร กิ่งก้านและเส้นใบรวมทั้งช่อดอกมีหนามยาวสีแดงหนาแน่น[1]
- ใบหนามไข่กุ้ง ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ รูปวงรีกว้าง หรือรูปไข่กลับ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร ท้องใบมีขนละเอียดสีขาวหนาแน่น[1]
- ดอกหนามไข่กุ้ง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาว[1]
- ผลหนามไข่กุ้ง ผลเป็นกลุ่มประกอบด้วยผลย่อยซึ่งเป็นผลสดขนาดเล็กจำนวนมากสีเหลือง[1]
สรรพคุณของหนามไข่กุ้ง
- ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากหนามไข่กุ้งนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงตับสำหรับผู้ที่ดื่มสุรา (ราก)[1]
- รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (ราก)[2]
ประโยชน์ของหนามไข่กุ้ง
- ผลสุกสามารถนำมารับประทานได้ โดยจะมีรสหวานอมเปรี้ยว[2]
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนามไข่กุ้ง”. หน้า 186.
- โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ไข่กุ้งพู, หนามไข่กุ้ง”. อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [29 ก.ย. 2014].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Dinesh Valk, AnitaWPANewDelhi, Forest and Kim Starr)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)