สะตอ สรรพคุณและประโยชน์ของสะตอ 20 ข้อ !

สะตอ

สะตอ ชื่อสามัญ Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean

สะตอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia speciosa Hassk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Parkia macropoda Miq.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)

เมล็ดสะตอจะมีกลิ่นเหม็นเขียวรุนแรงมาก นิยมใช้ประกอบอาหารในแถบภาคใต้ และในประเทศอื่น ๆ อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว พม่า และสิงคโปร์ ก็นิยมนำสะตอมาทำเป็นอาหารรับประทานเช่นกัน

วิธีดับกลิ่นสะตอ เมื่อรับประทานสะตอเข้าไปแล้ว หลังรับประทานเข้าไปจะมีกลิ่นปาก ซึ่งเราสามารถกำจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นี้ได้ด้วยการรับประทานมะเขือเปราะตามไปประมาณ 2-3 ลูก ก็จะช่วยดับกลิ่นเหม็นเขียวของสะตอได้ดีในระดับหนึ่ง

แต่สำหรับผู้ที่รับประทานสะตอเป็นประจำอยู่แล้ว คุณเคยรู้หรือไม่ว่าสะตอมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง สะตออุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี 1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 และวิตามินซีอีกด้วย ซึ่งวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น คราวนี้เรามาดูประโยชน์และสรรพคุณของสะตอกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ?

ฝักสะตอ

สรรพคุณของสะตอ

  1. สะตอมีส่วนช่วยบำรุงสายตา
  2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  3. ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
  4. ช่วยลดความดันโลหิต
  5. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น
  6. มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
  7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  8. เชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
  9. ช่วยขับลมในลำไส้
  10. ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
  11. ช่วยในการขับปัสสาวะ
  12. สะตอมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
  13. แก้ปัสสาวะพิการ
  14. ช่วยแก้ไตพิการ
  15. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
  16. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

ประโยชน์ของสะตอ

  • ใช้ประกอบอาหาร เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด เป็นต้น
  • ใช้แปรรูปเป็นสะตอดองได้อีกด้วย ส่วนยอดสะตอนำมารับประทานเป็นผักเหนาะ
  • ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
  • ลำต้นของสะตอใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน

ข้อควรระวัง ! : เนื่องจากสะตอมีกรดยูริกสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายสูงเกินค่ามาตรฐานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสะตอ เพราะอาจจะทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ และกรดยูริกในร่างกายที่สูงก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และมีอาการหูอื้ออีกด้วย

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด