35 สรรพคุณและประโยชน์ของว่านชักมดลูก !

35 สรรพคุณและประโยชน์ของว่านชักมดลูก !

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินและมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูกที่พบได้ตามท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ว่านชักมดลูกตัวเมีย (Curcuma comosa Roxb.) ซึ่งจะมีลักษณะของหัวกลมรีตามแนวตั้ง มีแขนงสั้น (ตามภาพแรก) และว่านชักมดลูกตัวผู้ (Curcuma latifolia Roscoe) จะมีลักษณะต่างจากตัวเมียตรงที่ หัวใต้ดินจะกลมแป้นมากกว่า และแขนงจะยาวมากกว่า (ตามภาพที่สอง) ทำให้การซื้อมาใช้บางครั้งอาจจะจำแนกลำบาก เพราะบางครั้งเมื่อนำมาเทียบกันทั้งตัวเมียและตัวผู้จะคล้ายกันมาก โดยจะปลูกมากในจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์

ทั้งนี้ยังได้พบว่ามีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับว่านชักมดลูกของไทยมาก และมีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกัน โดยเป็นว่านชัดมดลูกที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma zanthorrhiza Roxb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Curcuma xanthorrhiza Roxb.)

สมุนไพรว่านชักมดลูก ตามสรรพคุณตำรายาไทยนั้น จะใช้ว่านชักมดลูกตัวเมียเป็นหลัก เพราะมีสรรพคุณรักษาอาการต่าง ๆ ของสตรี ไม่ว่าจะเป็นอาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น จากสรรพคุณดังกล่าวนักวิจัยก็ได้ตีความว่า ว่านชักมดลูกน่าจะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน ซึ่งมีงานวิจัยพบว่าว่านชักมดลูกตัวเมียจะออกฤทธิ์ได้เป็นอย่างดีเพราะมีสารออกฤทธิ์ในกลุ่มไดแอริลเฮปตานอยด์ แม้จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกับฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ตาม และเรียกสารชนิดนี้ว่า ไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งวงการแพทย์ต่างก็ยอมรับว่าสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจนมีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพต่าง ๆ ของสตรีวัยทองได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นการเลือกว่านชักมดลูกมาเป็นวัตถุดิบให้ถูกต้องเพื่อใช้ทำยาสมุนไพรจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสรรพคุณที่ต้องการ

สำหรับวิธีกินว่านชักมดลูกหัวสด ๆ ให้เอาหัวว่านชักมดลูกมาปอกเปลือกล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำมาต้มน้ำดื่ม แต่ถ้าเป็นชนิดสำเร็จรูปก็ให้รับประทานตามที่ระบุไว้ข้างขวดได้เลย

ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูก สรรพคุณ

ผลข้างเคียงของยาว่านชักมดลูก

  • มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ก็มีคำแนะนำว่าสามารถรับประทานต่อไปได้เลย
  • มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน มีอาการไอเหมือนจะเป็นไข้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้สตรีที่ร่างไม่แข็งแรง และมีคำแนะนำว่าให้หยุดรับประทานสักพักจนกว่าอาการไข้จะหายไป แล้วให้รับประทานต่อในปริมาณที่ลดลงครึ่งหนึ่ง หรือสำหรับผู้ไม่ได้มีอาการไข้ให้เริ่มรับประทานในปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณในการรับประทานตามฉลากสมุนไพร
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังและตามลำตัว ซึ่งเป็นอาการที่พบได้น้อย มีคำแนะนำว่าถ้าหากอาการไม่รุนแรงมากจนเกินให้รับประทานต่อได้ แต่ถ้าผื่นมากก็ให้ลดปริมาณลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้นค่อยกลับมารับประทานในปริมาณที่กำหนด
  • มีอาการปวดหน้าอก ตึงหน้าอก หรือปวดมดลูก ช่องคลอด แนะนำว่าหากมีอาการดังกล่าวให้ลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หลังจากอาการดีขึ้นค่อยรับประทานในปริมาณที่กำหนด
  • สำหรับสตรีวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานอาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้นได้ โดยคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ประจำเดือนก็จะค่อย ๆหมดไปเอง

ผลข้างเคียงดังกล่าวเป็นผลมาจากกลไกการทำงานของว่านชักมดลูกและไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด

สรรพคุณของยาว่านชักมดลูก

  1. ว่านชักมดลูกมีความปลอดภัยมากกว่า กวาวเครือขาว และยังช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  2. ว่านชักมดลูก ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว หรือมดลูกต่ำไม่เข้าที่
  3. มีส่วนช่วยเสริมหรือขยายหน้าอก
  4. ช่วยทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ขาวนวล และมีเลือดฝาด
  5. มีส่วนช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ฝ้า และรอยดำ
  6. ช่วยแก้อารมณ์แปรปรวนต่าง ๆของสตรี เช่น อารมณ์ฉุนเฉียว จิตใจห่อเหี่ยว โกรธง่าย อ่อนไหวง่าย ให้หายไป
  7. ช่วยกระชับหน้าท้องที่หย่อนคล้อยหลังคลอดบุตร
  8. ช่วยกระชับช่องคลอดภายในของสตรี ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
  9. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดหรือในมดลูก
  10. ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  11. ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอดของสตรีให้ลดลงหรือหายไป
  12. ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของสตรี
  13. ช่วยรักษาอาการหน่วงเสียวของมดลูกหรืออาการเจ็บท้องน้อยเป็นประจำให้ดีขึ้น
  14. ช่วยแก้ปัญหาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  15. ช่วยรักษาอาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรงให้มีอาการดีขึ้น
  1. ช่วยแก้อาการตกขาวในสตรี ทำให้อาการดีขึ้น
  2. ช่วยทำให้สตรีมีอารมณ์ทางเพศที่สมบูรณ์ ทำให้อารมณ์ทางเพศที่ขาดหายไปกลับมาเหมือนเดิม
  3. ว่านชักมดลูกมีสรรพคุณช่วยขับน้ำคาวปลา
  4. ช่วยแก้พิษอาหารไม่ย่อย
  5. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
  6. ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน
  7. ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในสตรีวัยทอง
  8. ช่วยดับกลิ่นปาก และกลิ่นตามตัว
  9. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมและความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
  10. ช่วยปกป้องเซลล์เรตินาของตาจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมของคนวัยทอง
  11. ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน โดยช่วยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
  12. ช่วยรักษาซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  13. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ช่วยป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น
  14. ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (P388 leukemic cell) ด้วยการไปทำลายดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง
  15. ช่วยในการลำเลียงไขมันออกจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ เข้าไปในตับและช่วยเสริมให้เกิดการขับคอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีสู่ทางเดินอาหารและออกจากร่างกายพร้อมกับอุจจาระ
  16. ว่านชักมดลูกมีประโยชน์ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และช่วยเสริมให้มีการหลั่งกรดน้ำดีมากยิ่งขึ้น จึงช่วยลดการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
  17. มีฤทธิ์ปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษคาร์บอนเตตระคลอไรด์ โดยไปช่วยกระตุ้นกลไกการล้างพิษและลดการสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย
  18. ช่วยปกป้องตับและไต
  19. มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลดีกับโรคในระบบประสาท
  20. นำมาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตยาสมุนไพรยี่ห้อต่าง ๆ ทั้งชนิดแคปซูล ชนิดผง เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี en.wikipedia.org/wiki/Curcuma_comosa, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด