วิธีรักษาฝ้าแบบไหน ? รักษาฝ้าหายจริงถึงต้นตอ…ไม่เสี่ยงหน้าพัง !

ฝ้า

ฝ้า (Melasma) ฝ้าเป็นปัญหาผิวพรรณที่พบได้มากในผู้หญิง โดยเฉพาะผู้หญิงเอเชียผิวคล้ำในช่วงวัยกลางคน แม้ฝ้าจะไม่ใช่โรคหรือภาวะที่มีอันตราย แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตและทำให้ผู้หญิงหลายคนต่างหมดความมั่นใจได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่จึงใช้วิธีซื้อครีมหรือผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่ารักษาฝ้าได้มาใช้โดยอาจไม่คำนึงถึงอันตรายที่อาจแอบแฝงอยู่ เรียกว่าลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ เป็นเวลานานกว่าฝ้าจะจางลงและผลสุดท้ายก็กลับมาเป็นซ้ำอีก ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาฝ้าอย่างถูกวิธีและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ลดฝ้าที่ดีจะช่วยทำให้ฝ้าของคุณดูจางลงและผิวหน้ากลับมาสู่สภาพใกล้เคียงปกติได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกอีกต่อไป

วิธีรักษาฝ้า

ต้องบอกว่าในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาฝ้าให้หายขาดได้ และฝ้าจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดและยาหรือฮอร์โมน ซึ่งวิธีการรักษาฝ้าที่แพทย์ผิวหนังใช้ก็คือการควบคุมให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานน้อยลงด้วยวิธีการต่าง ๆ และอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าด้วยว่าเป็นฝ้าตื้นหรือฝ้าลึก โดยวิธีลดเลือนและรักษาฝ้านั้นก็จะมีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน แต่หลัก ๆ แล้วจะแบ่งได้เป็น

  1. การรักษาฝ้าด้วยยาทาหรือผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่ง เป็นวิธีการรักษามาตรฐานที่ได้ผลดีและปลอดภัย ใช้ได้ผลดีกับฝ้าตื้นมากกว่าฝ้าลึก แต่เห็นผลได้ช้ากว่าวิธีอื่น ๆ และยาบางตัวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ผลิตภัณฑ์รักษาฝ้าที่แอบใส่ยาอันตรายความเข้มข้นสูงเพื่อให้ได้ผลเร็ว โดยการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเห็นผลว่าฝ้าดูจางลงใน 1-2 เดือน ถ้าใช้ต่อเนื่องเกิน 6 เดือนก็จะเห็นผลอย่างชัดเจน แต่สำหรับฝ้าลึกนั้นจะค่อนข้างรักษาได้ยากหากต้องใช้ยาทาเพียงอย่างเดียว จึงต้องใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยยาทาที่นิยมใช้กันก็ได้แก่
    • ยาทากลุ่มไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เป็นยาตัวหลักที่แพทย์นิยมใช้ในวิธีรักษาฝ้าให้หายขาด เพราะสามารถช่วยลดการสร้างเม็ดสีและทำลายเม็ดสีบางส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังได้ แต่ยานี้ก็มีผลข้างเคียงสูง เพราะมักทำให้เกิดการระคายเคือง แสบร้อน บวม แดง และลอกเป็นขุย ๆ ได้ ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากใช้ยานี้ที่มีความเข้มข้นมากหรือใช้เป็นเวลานานก็อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง สีผิวบริเวณนั้นเข้มขึ้น หรือเกิดฝ้าถาวรที่รักษาไม่หายได้
    • ยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ (Retinoic Acid) เป็นยาทาที่ช่วยเร่งการหลุดลอกของเซลล์ผิวชั้นบน จึงช่วยให้รอยฝ้าดูจางลงได้ แต่ยารักษาฝ้านี้ต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผล และระหว่างใช้ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสง และทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ ผิวหนังแดง คัน ผื่นผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ แห้ง ลอก แสบร้อน ผิวมีสีเข้มขึ้นหรือซีดลง
    • ยาทาผสมไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ และสารสเตียรอยด์ (Kligman’s Formula) เป็นตัวยาอีกตัวที่แพทย์นิยมใช้ เนื่องจากใช้ง่าย และมีสเตียรอยด์อ่อน ๆ เพื่อช่วยลดการระคายเคืองของไฮโดรควิโนนและกรดวิตามินเอ แต่หากใช้วิธีรักษาฝ้านี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดฝ้าจากสเตียรอยด์หรือเกิดฝ้าถาวรจากไฮโดรควิโนนได้ ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ เกิดอาการแดง คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง ลอก ผิวมีสีเข้มขึ้นหรือซีดลง สิว ฯลฯ ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเช่นกัน
    • ยาทากลุ่มอะเซเลอิก (Azelaic Acid) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในลดการสร้างเม็ดสีได้ดีเทียบเท่ากับยาทาไฮโดรควิโนน แต่การใช้ยานี้ช่วงแรกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรือแสบร้อนบริเวณผิวหนังได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังหรืออยู่ในการดูแลของแพทย์
    • การลดเลือนและรักษาฝ้าแดดด้วยผลิตภัณฑ์กลุ่มสารไวท์เทนนิ่งทั่วไป (Whitening Agents) เช่น วิตามินซี, สารสกัดจากชะเอมเทศ, อาร์บูติน, กรดโคจิก, สารสกัดจากถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นการรักษาฝ้าอย่างถูกวิธีและปลอดภัยที่สุด เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่ำ แม้จะได้ผลช้ากว่ายาทาแต่ก็ได้ผลค่อนข้างดีในระยะยาวที่ช่วยทำให้ฝ้ารวมถึงฝ้าแดดจางลงและผิวดูขาวขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดเลือนและรักษาฝ้าให้หายขาดที่ได้ผลค่อนข้างชัดเจน
    • การลดเลือนฝ้าแดดด้วยสารลูมินัส630® หนึ่งในสารที่ได้รับการยอมรับจากแพทย์ผิวหนังระดับโลกว่าสามารถยับยั้งการทำงานของไทโรซิเนสในผิวมนุษย์ได้จริง โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง ผลการทดลองพบว่าสารนี้สามารถช่วยลดฝ้าแดดและจุดด่างดำฝังลึกได้ใน 2 สัปดาห์ แม้เป็นปัญหาฝ้าที่หายยากสะสมสิบปีก็จางลงได้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกและความหวังใหม่ของการลดเลือดฝ้าแดดและจุดด่างดำที่ดีที่สุดในตอนนี้
  2. การลอกผิวด้วยสารเคมีหรือกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี เพื่อกำจัดเม็ดสีที่มีอยู่ออกไป เป็นการรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจก่อให้เกิดแผลเป็นถาวรได้จากการลอกชั้นผิวที่ลึกเกินไป หลังทำต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดอย่างเคร่งครัดและทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นฝ้าจะกลับมาเป็นซ้ำและเข้มขึ้นมากกว่าเดิมจากผิวที่บางลงจากการลอกหรือกรอผิว
    • การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) เป็นการใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงกว่าครีมรักษาฝ้าที่ผสมกรดผลไม้หลายเท่า ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผิวไหม้หรือแผลเป็นถาวร
    • การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion) เพื่อขัดและลอกผิวหนังชั้นหนังกำพร้าด้านบนออก ใช้ได้ผลกับฝ้าตื้น แต่เป็นวิธีรักษาฝ้าที่ก่อให้เกิดการระเคืองสูง และหลังทำต้องระมัดระวังการสัมผัสกับแสงแดดมากเป็นพิเศษ จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการรักษา โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีอากาศร้อนและมีโอกาสสัมผัสแสงแดดได้สูง
  3. การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์/แสง (Laser/Light Therapy) เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะมีความแม่นยำและรักษาได้ตรงจุด แต่การรักษาฝ้านี้ก็เป็นเพียงการรักษาเสริมเท่านั้น ไม่ใช่การรักษาหลัก (ใช้ทำลายเม็ดสีที่ปลายเหตุ ไม่ได้ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่เป็นต้นเหตุ) แถมวิธีนี้ยังเปรียบเสมือนดาบสองคมที่แม้จะทำให้ฝ้าจางลงเร็ว แต่ก็ดูจะเป็นวิธีที่มีข้อเสียอยู่มากที่ต้องคำนึงถึง เนื่องการทำเลเซอร์จะอาศัยหลักการปล่อยพลังงานความร้อนไปยังฝ้าเพื่อทำลายเม็ดสีโดยตรง นั่นจึงเป็นผลทำให้ผิวบริเวณที่ทำเลเซอร์นั้นไวต่อแสง (หลังทำในช่วง 2-4 สัปดาห์ห้ามโดนแดดอย่างเด็ดขาด), ผิวแพ้ง่าย (ต้องงดใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของกรดหรือใช้สครับเพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบได้ง่าย), ผิวแห้ง ขาดน้ำ ตกสะเก็ด และเป็นขุย, เป็นสาเหตุการเกิดฝ้าใหม่และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่าเดิม (เพราะผิวมีสภาพอ่อนแอจากการทำเลเซอร์), ฝ้าอาจเข้มขึ้น หรือเกิดจุดด่างขาว (อาจเกิดจากเครื่องมือที่ไม่มีคุณภาพหรือความไม่ชำนาญของแพทย์), อาจเกิดแผลเป็นจากเลเซอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ การรักษาฝ้าด้วยวิธีนี้ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ต้องทำเป็นประจำ อาศัยเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัย และความชำนาญของแพทย์ (เพราะต้องปรับพลังงานที่ใช้ให้พอดีกับลักษณะของฝ้าที่เป็นไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป) อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ทำเลเซอร์ก็แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มไวท์เทนนิ่งที่ปลอดภัยและมีคุณภาพร่วมด้วยเสมอ อย่างเช่นไวท์เทนนิ่งทรงประสิทธิภาพอย่าง LUMINOUS630® ในผลิตภัณฑ์นีเวีย ลูมินัส 630 สปอตเคลียร์ ทรีทเม้นท์ เซรั่ม (NIVEA LUMINOUS630 SPOTCLEAR TREATMENT SERUM) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาฝ้าที่ช่วยเรื่องลดเลือนฝ้าแดดและจุดด่างดำได้ในระยะยาว เพราะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง
นีเวีย ลูมินัส 630
นีเวีย ลูมินัส 630

LUMINOUS630

ครีมลดฝ้าและจุดด่างดำจากนีเวีย ที่ผสานสารลูมินัส630 (LUMINOUS630®) เป็นสารไวท์เทนนิ่งที่ใช้เวลาคิดค้นมากกว่า 10 ปี โดยผ่านการค้นคว้าจากมากกว่า 50,000 สาร จนเจอโมเลกุลในลำดับที่ 630 ที่สามารถยับยั้งการทำงานของไทโรซิเนสในผิวมนุษย์ ตัวการหลักที่เร่งการผลิตเม็ดสีเมลานิน ได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสาร ลูมินัส630 (Luminous630®) ซึ่งเป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดเลือนฝ้าแดด และจุดด่างดำได้ลึกถึงต้นตอได้จริง แม้สะสมนานกว่า 10 ปี โดยไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง ไม่ทำให้ผิวไวต่อแดดจนกระตุ้นให้ฝ้าเข้มขึ้น เห็นผลจริงใน 2 สัปดาห์ จึงเป็นอีกหนึ่งในการลดเลือนฝ้าแดด และจุดด่างดำ ที่ตรงจุดและถูกวิธี โดยสมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทยได้ทำการทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร LUMINOUS630* กับผู้หญิงชาวไทยกว่า 200 คน และให้ผลการทดสอบเป็นที่พอใจ โดยพบว่าฝ้าดูจางลงภายใน 4 สัปดาห์ และภายใน 8 สัปดาห์สำหรับฝ้าลึกที่สะสมมานานนับสิบปี (จุดนี้ผู้ใช้ 97% ยืนยันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ลดจุดด่างดำที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่เคยใช้มา และทั้ง 100% ยืนยันว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้สีผิวสม่ำเสมอ)

หมายเหตุ : ทดสอบโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ “นีเวีย ลูมินัส 630 ทรีทเม้นท์ เซรั่ม” (NIVEA LUMINOUS630 TREATMENT SERUM) ขนาด 30 มล. ราคา 999 บาท หาซื้อได้ที่ร้านวัตสัน และร้าน NIVEA official store ใน Lazada, Shopee และ Konvy

เอกสารอ้างอิง
  1. Mann T, Gerwat W, Batzer J, Eggers K, Scherner C, Wenck H, Stäb F, Hearing VJ, Röhm KH, Kolbe L. Inhibition of Human Tyrosinase Requires Molecular Motifs Distinctively Different from Mushroom Tyrosinase. Journal of Investigative Dermatology. 2018 Jul;138(7):1601-1608.
  2. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 288 คอลัมน์ : สารานุกรมทันโรค. “ฝ้า…ปัญหาที่ต้องทำความเข้าใจ”. (นพ.ประวิตร พิศาลบุตร, พญ.ณัฏฐา รัชตะนาวิน/หน่วยโรคผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [20 มิ.ย. 2019].
  3. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ฝ่ายเภสัชกรรม. “อันตรายจากสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : med.mahidol.ac.th. [20 มิ.ย. 2019].
  4. เพจหมออุ๋ม – แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง. “เรื่องราวของฝ้าตอนที่ 1-7”. (พญ.ขวัญจิรา วงศ์เกียรติขจร/แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.facebook.com/doctoroum/. [20 มิ.ย. 2019].

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2565

เภสัชกรประจำเว็บเมดไทย
ประวัติผู้เขียน : จบการศึกษาปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ มีประสบการณ์การทำงานร้านยามากกว่า 5 ปี เคยเป็นผู้จัดการร้านขายยา เคยเป็นผู้ฝึกอบรมผลิตภัณฑ์กลุ่มสุขภาพ เช่น วิตามิน อาหารเสริม เครื่องมือแพทย์ และยา ปัจจุบันทำงานเป็นเภสัชกรอยู่โรงพยาบาลเอกชน โดยให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ