มะหิ่งแพะ
มะหิ่งแพะ ชื่อวิทยาศาสตร์ Crotalaria chinensis L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Crotalaria akoensis Hayata, Crotalaria kawakamii Hayata, Crotalaria sinensis J.F.Gmel.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2]
สมุนไพรมะหิ่งแพะ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักฮงหาย (นครราชสีมา), ดอกคอน (เลย) ส่วนที่ลำพูนเรียก “มะหิ่งแพะ“[1]
ลักษณะของมะหิ่งแพะ
- ต้นมะหิ่งแพะ จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุเพียงฤดูเดียว ลำต้นมีลักษณะต้นตั้ง สูงได้ประมาณ 15-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านมีขนสีน้ำตาลแดง[1]
- ใบมะหิ่งแพะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน รูปขอบขนานแกมใบหอก รูปขอบขนานแกมไข่กลับ หรือเป็นรูปใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน[1]
- ดอกมะหิ่งแพะ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกที่บริเวณซอกใบหรือที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยประมาณ 2-5 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลือง ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว[1]
- ผลมะหิ่งแพะ ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 15-20 เมล็ด[1]
สรรพคุณของมะหิ่งแพะ
- ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้พิษไข้เนื่องจากการอักเสบ ใช้ดับพิษร้อน (ราก)[1]
- รากใช้กินเป็นยาถอนพิษยาเบื่อเมา (ราก)[1]
- ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้มะหิ่งแพะทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำอาบ เป็นยาแก้ฟกบวม (ทั้งต้น)[1]
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “มะหิ่งแพะ”. หน้า 82.
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by 翁明毅)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)