มะรุม
มะรุม ชื่อสามัญ Moringa
มะรุมชื่อ วิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์ MORINGACEAE
สมุนไพรมะรุม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น
มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย
มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนี้มะรุมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่ามะรุมเป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค แต่ควรจะมองมันเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย
มะรุมกับความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ มะรุมไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มีอย.ด้วย
มะรุม ในส่วนของใบมะรุมควรรับประทานใบสด ๆ ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และไม่ควรถูกความร้อนนานเกินไป เพื่อให้ได้ประโยชน์ของสารอาหารอย่างเต็มที่ ซึ่งการใช้ใบมาประกอบอาหารสิ่งที่ต้องระวังก็คือ ไม่ควรให้เด็กทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง หรือเด็กที่อายุ 3-4 ขวบควรรับประทานแต่เพียงเล็กน้อย และไม่ว่าจะวัยไหนก็ตามไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ (ไม่ได้เกิดกับทุกคน) ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย
ประโยชน์ของมะรุม
- ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ
- ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย (ฝัก)
- มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง (ใบ, ดอก, ฝัก, เมล็ด, เปลือกของลำต้น)
- ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
- ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
- ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
- มะรุมลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ, ฝัก)
- ใช้รักษาโรคหัวใจ (ราก)
- มะรุมลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล
- ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) (ยาง)
- ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์
- ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ดอก)
- ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ราก)
- ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ (เปลือกของลำต้น)
- แก้ลมอัมพาต (เปลือกของลำต้น)
- ใช้ขับน้ำตา (ดอก)
- ใช้บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตาให้สมบูรณ์
- ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค อย่างเช่น โรคตาต้อ ตามืดมัว เป็นต้น
- ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคโพรงจมูกอักเสบ
- น้ำมันมะรุมใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง (น้ำมันมะรุม)
- ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
- ใช้แก้ไข้และถอนพิษไข้ (ใบ, ยอดอ่อน, ฝัก, เมล็ด)
- ใช้แก้อาการไข้หัวลมหรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู (ดอก)
- ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัด (เมล็ดมะรุม)
- ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น (เมล็ดมะรุม)
- ช่วยบรรเทาอาการและลดสิวบนใบหน้า (น้ำมันมะรุม)
- ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด (น้ำมันมะรุม)
- ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
- ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยาง)
- ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache) (ยาง)
- น้ำมันมะรุมใช้หยอดหูเพื่อป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ
- ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ
- ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
- นำเปลือกของลำต้นมาเคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร (เปลือกของลำต้น)
- ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ (เปลือกของลำต้น)
- เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
- ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
- รับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับถ่ายเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
- ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
- ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
- ช่วยในการขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก)
- ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
- ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
- ช่วยบรรทาอาการของโรคเกาต์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเกาต์ได้
- ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
- ช่วยรักษาโรครูมาติสซั่ม
- ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
- น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
- น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
- ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
- แก้อาการบวม (ราก, เมล็ด)
- ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก (น้ำมันมะรุม)
- ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
- ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำมันมะรุม)
- ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
- ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ, ดอก)
- ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
- น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
- ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
- ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
- ช่วยฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ยาง)
- ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง (ยาง)
- การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารก
- ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
- ใบสดนำมารับประทานได้ ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
- เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
- เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
- น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
- น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
- น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านและช่วยป้องกันสนิม
- นิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่างเช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
- นำมาแปรรูปเป็น “มะรุมแคปซูล” สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
- นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย
คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมสดต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
- ใยอาหาร 3.2 กรัม
- ไขมัน 0.20 กรัม
- โปรตีน 2.10 กรัม
- น้ำ 88.20 กรัม
- วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
- วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม. 6%
- วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
- วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
- วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
- ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
- ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
- ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
- คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
- ใยอาหาร 3.2 กรัม
- ไขมัน 0.20 กรัม
- โปรตีน 2.10 กรัม
- น้ำ 88.20 กรัม
- วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
- วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม 6%
- วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
- วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
- วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
- วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
- ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
- ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
- ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
- ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
- ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ภญ.สุภาพร ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, นายแพทย์สุรวุฒิ ปรีชานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคกระดูกและข้อ