พริก
พริก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L.
พริก ภาษาอังกฤษ : Chili, Chilli Pepper แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ ๆ ที่มีรสอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว
พลูคาว (Plu Kaow) ชื่อ
ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งจะมีอยู่มากใยบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว (คือส่วนเผ็ดมากที่สุด) ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้นจะมีสารนี้น้อย ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด และสารชนิดนี้จะทนทานต่อความร้อนและความเย็นอย่างมาก แม้จะนำมาต้มให้สุดหรือแช่แข็งก็ไม่ได้ทำให้สูญเสียความเผ็ดไปแต่อย่างใด โดยเราสามารถเรียงลำดับความเผ็ดของพริกจากมากไปหาน้อยได้ คือ พริกขี้หนู > พริกเหลือง > พริกชี้ฟ้า > พริกหยวก > พริกหวาน เป็นต้น
หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ สโควิลล์ (Scoville) (เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน) โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่ 50,000-100,000 สโควิลล์ ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ พริกฮาบาเนโร วัดค่าได้ถึง 350,000 สโควิลล์หรือมากกว่า
พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เป็นต้น โดยในพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัมเลยทีเดียว !
หากต้องการลดความเผ็ดร้อนของพริกคุณควรรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่าที่จะดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำจะมีผลเพียงแค่ช่วยให้บรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดยังคงอยู่ สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพริกเพราะอาจจะทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหารได้ และสำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่มักจะสำลักง่ายก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเช่นกัน และควรจะระวังพริกป่นตามร้านอาหาร พริกซองที่อาจจะมีสารอะฟลาทอกซินปนอยู่ ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องอาจจะเกิดการสะสมจนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ดังนั้นควรเลือกรับประทานพริกป่นที่สะอาด ไม่มีเชื้อราและเปลี่ยนบ่อย ๆ ทุก ๆ 3 วันพร้อมทั้งการจัดเก็บในภาชนะที่แห้งและสะอาด
ประโยชน์ของพริก
- พริกมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
- ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
- วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
- ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
- ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
- สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
- ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
- พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
- ช่วยบรรเทาอาการไอ
- ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
- ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
- ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
- ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลง
- ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
- ช่วยในการสลายลิ่มเลือด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
- ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
- สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
- ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
- ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
- มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
- ช่วยไม่ให้เมือกเสีย ๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
- ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
- พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
- ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
- นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
- รวมไปถึงอาวุธป้องกันตัวอย่างสเปรย์พริกไทย (ไม่ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรง)
- ในด้านการแพทย์แผนจีนนำสารนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงพลังหยาง
- ในด้านการแพทย์ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น
- ในด้านความงามจะใช้สารสกัดจากแคปไซซินมาสกัดเป็นเจลเพื่อใช้ในการนวดลดเซลลูไลต์ สลายไขมัน
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)