ต้นทัน
ทัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoebe tavoyana (Meisn.) Hook. f. จัดอยู่ในวงศ์อบเชย (LAURACEAE)[1]
สมุนไพรทัน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กอหิน (เลย), แสนปะซะ (สุโขทัย), ทัน (ทั่วไป) เป็นต้น[1]
ลักษณะของต้นทัน
- ต้นทัน จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร กิ่งยอดมีขนสั้น ๆ[1]
- ใบทัน ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ หรือเป็นรูปวงรีแกมขอบขนาน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 13-20 เซนติเมตร ท้องใบมีขนสั้น ๆ หนาแน่นที่เส้นใบ[1]
- ดอกทัน ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมสีเขียว[1]
- ผลทัน ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระสวย มีส่วนของกลีบรวมติดอยู่ที่โคนผล[1]
สรรพคุณของต้นทัน
- เปลือกต้นทันและใบอ่อนของต้นทันใช้ผสมกับต้นเครืองูเห่า ใบพิมเสนใบมน เหง้าว่านกีบแรด เนระพูสีทั้งต้น (เข้าใจว่าคือเนระพูสีไทย) และท้าวยายม่อมทั้งต้น นำมาบดเป็นยาลูกกลอน ใช้น้ำเกสรบุนนาคเป็นน้ำกระสายยา ใช้กินเป็นยาถอนพิษไข้กาฬ (เปลือกต้น, ใบ)[1]
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ทัน”. หน้า 165.
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)