ตะค้านเล็ก สรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะค้านเล็ก 10 ข้อ !

ตะค้านเล็ก สรรพคุณและประโยชน์ของต้นตะค้านเล็ก 10 ข้อ !

ตะค้านเล็ก

ตะค้านเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper ribesioides Wall.[1] จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)[1]

สมุนไพรตะค้านเล็ก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตะค้านหยวก (นครราชสีมา), จะขัด, จะค้าน, จัดค่าน, จั๊กค่าน, ตะค้าน, สะค้าน, หนาม, หนามแน เป็นต้น[1],[3]

ลักษณะของตะค้านเล็ก

  • ต้นตะค้านเล็ก จัดเป็นไม้เถาขนาดกลางเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น มีรากงอกออกตามข้อ ไม่มีเนื้อไม้ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เถายาวประมาณ 5-6 เมตร เนื้อเถามีหน้าตัดเป็นรัศมี ส่วนเปลือกเถาค่อนข้างอ่อนเนื้อสีขาว[1],[2]

ต้นตะค้านเล็ก

  • ใบตะค้านเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน[1]

ใบตะค้านเล็ก

  • ดอกตะค้านเล็ก ออกดอกเป็นช่อยาวห้อยลงตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กมาก เรียงอัดกันแน่นบนแกนช่อดอก[1]

ดอกตะค้านเล็ก

  • ผลตะค้านเล็ก ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก มีลักษณะกลม[1]

ผลตะค้านเล็ก

สรรพคุณของตะค้านเล็ก

  1. เถาตะค้านเล็กมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (เถา)[2],[3]
  2. เถาใช้ปรุงร่วมกับยาธาตุ เป็นยาแก้บำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ เป็นยาประจำธาตุลม ส่วนผลก็มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุเช่นกัน (เถา, ผล)[1],[2]
  1. ใบมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ (ใบ)[1],[2]
  2. ใช้เป็นยาแก้ลมในกองเสมหะโลหิต (ใบ)[1]
  3. ดอกมีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมอัมพฤกษ์ ลมปัตคาดที่เกิดจากพิษพรรดึก (ดอก)[1],[2]
  4. ผลมีรสร้อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ลมแน่นในทรวงอก (ผล)[1],[2]
  5. เถาและใบมีสรรพคุณเป็นยาขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้แน่นจุกเสียด (เถา, ใบ)[1],[2]
  6. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ราก)[1],[2]
  7. รากใช้เป็นยาแก้หืด (ราก)[1],[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะค้านเล็ก

  • (+)-3,7-dimethyl-3-hydroxy-4-( P-coumaryloxy)-1,6-octadiene, beta-sitosterol, lignans (-)-hinokinin and (-)-cubebin, methyl piperate, methyl 2 E,4 E,6 E-7-phenyl-2,4,6-heptatrienoate, N-isobutyl-2 E,4 E-dace-2,4-dienamide, palmitic acid, stearic acid[2]

ประโยชน์ของตะค้านเล็ก

  • เถาหรือลำต้นใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหารประเภทแกงเผ็ด ช่วยเพิ่มรสเผ็ดให้กับอาหาร ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม และมีรสชาติกลมกล่อมมากขึ้น อีกทั้งยังใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวได้อีกด้วย

เถาตะค้านเล็ก

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  “ตะค้านเล็ก”.  หน้า 113.
  2. การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชสมุนไพรและพืชมีพิษในอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “ตะค้านเล็ก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : pirun.kps.ku.ac.th/~b4916098/.  [20 ธ.ค. 2014].
  3. มุมสมุนไพร, ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดลำพูน.  “สะค้าน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.haec05.doae.go.th.  [20 ธ.ค. 2014].

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by VanLap Hoàng), www.natureloveyou.sg

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด