ข้าวต้ม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นข้าวต้ม (จั่นนก, มะกล่องข้าวตัวผู้)

ข้าวต้ม

ข้าวต้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Wissadula periplocifolia (L.) Thwaites จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE)[1]

ต้นข้าวต้ม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จั่นนก มะกล่องข้าวตัวผู้ (ภาคเหนือ), ข้าวเหนียวหมา (ภาคใต้) เป็นต้น[1]

ลักษณะของต้นข้าวต้ม

  • ต้นข้าวต้ม จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 0.5-2 เมตร[1]

ต้นข้าวต้ม

  • ใบข้าวต้ม ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใบโพ ปลายใบแหลม โคนใบป้าน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-15 เซนติเมตร ท้องใบมีขนขึ้นหนาแน่นเป็นรูปดาว มีหูใบลักษณะเป็นเส้นยาว[1]

ใบข้าวต้ม

  • ดอกข้าวต้ม ออกบริเวณปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยประมาณ 2-3 ดอก มีกลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อน[1]

ดอกข้าวต้ม

  • ผลข้าวต้ม ผลเป็นผลแห้งแตกได้ ที่ปลายเป็นฝา ฝาละ 2 แฉก ผลมีพู 5 พู เมื่อแก่พูจะแยกออกจากกัน[1]

ผลข้าวต้ม

สรรพคุณของข้าวต้ม

  • ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ลำต้นแห้งของต้นข้าวต้มนำมาผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ อีกหลายชนิด ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ดีซ่าน (ลำต้นแห้ง)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ข้าวต้ม”.  หน้า 227.

ภาพประกอบ : www.planta.cn, ecflora.cavehill.uwi.edu

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด