รู้ก่อนดีกว่า ! สมุนไพรแคปซูล…ใช่ว่ายี่ห้ออะไรก็ทานได้ ?

การรักษาภาวะเจ็บป่วย และโรคภัยต่าง ๆ ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น เราจะคุ้นเคยกันดี คือ การเลือกใช้ยาเป็นตัวหลักในการรักษา แต่ก็ยังมี “การรักษาแบบทางเลือกใหม่” เข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งจะมีการเลือกใช้สารที่พบอยู่ในธรรมชาติมาใช้ในการรักษาทดแทน เรียกว่า Biologically Based Therapies หรือวิธีการบำบัดรักษาด้วยการใช้สารชีวภาพ หรือสารเคมีต่าง ๆ เช่น สมุนไพร วิตามิน Chelation Therapy, Ozone Therapy ไปจนถึงอาหารสุขภาพ เป็นต้น

การใช้สมุนไพรจึงเป็นทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรการแพทย์ หรือประชาชนทั่วไปก็สามารถมีความรู้ที่เข้าถึงได้ง่ายกว่าที่เคย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นตัวช่วยให้ผู้คนหันมาเลือกใช้ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ทั้งการนำมารักษาหรือใช้เป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคในอนาคต

นอกจากนี้ผลลัพธ์และสรรพคุณของตัวยาสมุนไพรนั้น ๆ ก็มีคุณภาพเทียบเท่ากับยา ซึ่งได้ผลในการรักษาที่ดีไม่ต่างกัน แต่กระนั้นเราก็จำเป็นจะต้องเข้าใจถึงการเลือกซื้อสมุนไพรให้ถูกหลัก โดยการศึกษาความรู้ มีข้อมูลเกี่ยวกับตัวยาสมุนไพรให้ดี ซึ่งจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับตัวผู้ซื้อเองได้มากขึ้น

เพื่อความสะดวกและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน สมุนไพรจึงถูกนำบรรจุลงในแคปซูล เพื่อให้สามารถทานได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ข้อดีของแคปซูล ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ทานยายาก เนื่องจากจะช่วยกลบรสชาติของสมุนไพรที่มีกลิ่นและรสที่ไม่น่าภิรมย์ได้เป็นอย่างดี

ใช่ว่าจะทานแคปซูลอะไรก็ได้

dietary-supplements-587904_1280

ในการผลิตยาสมุนไพรคุณภาพ ตัวแคปซูลภายนอกมีความสำคัญที่ต้องได้รับความใส่ใจ เปรียบเสมือนภาชนะบรรจุที่ต้องสัมผัสกับยาโดยตรง ดังนั้นวัสดุที่ใช้จึงต้องมีมาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

แคปซูลส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน เปลือกด้านนอกมักนิยมทำมาจากเจลาติน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย ดังนั้นแคปซูลที่ดีจะต้องทำมาจากเจลาตินคุณภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปราศจากการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการควบคุมคุณภาพและความสะอาดทุกขั้นตอน

หากแคปซูลที่ผลิตไม่มีการคัดสรรและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบเจลาติน รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่ไม่ดีพอ จำเป็นจะต้องใส่วัตถุกันเสีย (preservatives) เช่น พาราเบน (Parabens), โซเดียมไบซัลไฟต์ (Sodium Bisulfite) ลงในแคปซูล หรืออาจใช้เอทธิลีนออกไซด์ (Ethylene oxide) ในกระบวนการผลิต หากมีการใส่วัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน อาจก่อให้เกิดอันตราย และส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดปริมาณของสารกันเสีย พาราเบน ที่ใช้ในแคปซูลไม่ควรเกิน 1,000 ppm ซึ่งในแต่ละวัน หากเราได้รับสารกันเสียในปริมาณเพียงน้อยนิด ร่างกายก็จะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากทุกวัน จะส่งผลให้ตับและไตทำงานหนัก เกิดความเสื่อมสภาพของอวัยวะดังกล่าว จนตามมาด้วยความเจ็บป่วยได้

แต่จากการตรวจทางห้องปฏิบัติการของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าแคปซูลหลายตัวที่จำหน่ายในท้องตลาดมีการเติมพาราเบน ในสัดส่วนที่คาดว่าจะเกินปริมาณที่กำหนด

เลือกแคปซูลที่ได้มาตรฐานและผลิตจากเจลาตินคุณภาพดีกว่า

 image2 image3

นอกจากความรู้ทางด้านสมุนไพรและการใส่ใจในการผลิตแล้ว เราควรมีความเข้าใจในการอ่านฉลากยาให้ถูกตามหลักของ อย. ด้วย โดยสังเกตข้อมูลต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. ควรเลือกซื้อยาสมุนไพร จากร้านขายยาที่มีใบอนุญาต และ สินค้านั้นต้องมีเลขทะเบียนตำรับยา
  2. ไม่ควรซื้อยาสมุนไพรจากแผงขายตามท้องตลาดหรือแบบแบ่งขาย รวมไปถึงการซื้อจากการบอกเล่าของผู้อื่นแบบปากต่อปาก โดยไม่ใช่หมอหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้โดยตรง เพราะอาจเสี่ยงที่จะเป็นยาสมุนไพรแบบไม่ได้มาตรฐาน มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ตามมาด้วยผลเสียต่อร่างกายในอนาคต
  3. ก่อนซื้อยาสมุนไพร ควรดูฉลากยาทุกครั้งว่ามีข้อความดังต่อไปนี้หรือไม่
    • ชื่อยา
    • เลขที่หรือรหัสใบสำคัญการขึ้นทะเบียนยา ซึ่งก็คือเลขทะเบียนตำรับยา
    • ปริมาณ ของยาสมุนไพรที่บรรจุ
    • เลขที่ หรือ อักษรแสดงครั้งที่ผลิต
    • ชื่อผู้ผลิต และ จังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิตยา
    • วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา
    • มีคำว่า “ยาแผนโบราณ”,”ยาสามัญประจำบ้าน “ หรือ คำว่า “ยาใช้ภายนอก” “ยาใช้เฉพาะที่”  ด้วยตัวอักษรสีแดง ที่เห็นชัดเจน เป็นต้น
  4. ต้องไม่ใส่วัตถุกันเสีย แต่ควรเลือกใช้เจลาตินเกรดดีที่มีคุณภาพ หรือเกรดเภสัชภัณฑ์ ให้ตรงตามมาตรฐานของเภสัชตำรับ (Pharmaceutical grade) เพราะจะช่วยให้ลดการสะสมของเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อรา และแบคทีเรียที่เติบโตอยู่ในแคปซูลเจลาตินให้น้อยลงได้
  5. มีความปลอดภัย ไม่ต้องกังวลถึงเรื่องการตกค้างของสารกันเสียที่จะเข้าไปสะสมอยู่ภายในร่างกาย ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาในระยะยาวได้

สรุปแล้วจะเห็นได้ว่า แคปซูลที่นำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรนั้นจะต้องได้รับการใส่ใจจากผู้ผลิต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคอย่างเราไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด

สนับสนุนการนำเสนอข้อมูลโดย

บริษัทอ้วยอันโอสถ เป็นบริษัทที่ผลิตสมุนไพรมายาวนานกว่า 30 ปี มีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการผลิตสมุนไพรสูงมาก ผลิตสมุนไพรถูกต้องตามหลัก GMP PICS อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อีกทั้งทางบริษัทยังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแคปซูลที่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรหลักของบริษัท ทางบริษัทอ้วยอันโอสถจึงเลือกใช้แคปซูลที่ผลิตจากเจลาติน คุณภาพสูงเกรดเอ ตรงตามหลักของเกรดเภสัชภัณฑ์ ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ จึงมั่นใจได้ว่า ถ้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากบริษัทนี้ ผู้ซื้อจะได้รับความปลอดภัย มั่นใจได้ว่าจะไม่มีสารกันเสีย และมีเชื้อแบคทีเรียเข้ามาปนเปื้อนอย่างแน่นอน

image4 image5

แหล่งอ้างอิง : สำนักการแพทย์ทางเลือก, จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์, สมุนไพรดอทคอม, บริษัทแคพซูลเจล (ประเทศไทย) จำกัด

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด