กระเทียม
กระเทียม ชื่อสามัญ Garlic
กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ คือคำว่า Allium sativum L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)
สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี กลิ่นฉุนคงหนีไม่พ้นจังหวัดศรีสะเกษ
สรรพคุณของกระเทียม
- ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
- ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
- ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
- ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
- ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
- ช่วยต่อต้านเนื้องอก
- ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
- ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
- ช่วยในการขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
- ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
- สารสกัดน้ำมันกระเทียมมีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
- ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
- มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
- ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
- ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
- ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและไซนัส
- ช่วยรักษาโรคไอกรน
- ช่วยแก้อาการหอบ หืด
- ช่วยรักษาโรคหลอดลม
- ช่วยระงับกลิ่นปาก
- ช่วยในการขับเหงื่อ
- ช่วยในการขับเสมหะ
- ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
- ช่วยในการขับลม
- ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
- ช่วยรักษาโรคบิด
- ช่วยในการขับปัสสาวะ
- ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
- ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
- ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
- ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
- ช่วยกำจัดพิษจากสารตะกั่ว
- ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
- บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
- ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยาได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
- มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสซั่ม
- กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี
- ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร
ประโยชน์ของกระเทียม
- ประโยชน์หลัก ๆ ของกระเทียมคงหนีไม่พ้นการนำมาใช้เพื่อช่วยปรุงรสชาติของอาหาร ไม่ว่าจะใช้ผัด แกง ทอด ยำ ต้มยำ หรือน้ำพริกต่าง ๆ อีกสารพัด
- กระเทียมเป็นเครื่องสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด และยังเป็นพืชที่ธาตุซีลีเนียมสูงกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย
- นอกจากนี้ยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น กระเทียมเสริมอาหาร กระเทียมสกัดผง สารสกัดน้ำมันกระเทียม กระเทียมดอง เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมดิบ ต่อ 100 กรัม
- พลังงาน 149 กิโลแคลอรี
- คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม
- น้ำตาล 1 กรัม
- เส้นใยอาหาร 2.1 กรัม
- ไขมัน 0.5 กรัม
- โปรตีน 6.36 กรัม
- วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม 17%
- วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม 9%
- วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม 5%
- วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม 12%
- วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม 95%
- วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม 1%
- วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม 38%
- ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม 18%
- ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม 13%
- ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
- ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม 80%
- ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม 22%
- ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม 9%
- ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม 12%
- ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (แหล่งที่มา : USDA Nutrient database)
คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้กระเทียม
- กระเทียมยิ่งสดเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสรรพคุณที่ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่สำหรับกระเทียมที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการต่าง ๆ หรือผ่านการหมักดอง จะทำให้วิตามินและสารอัลลิซินที่มีอยู่ในกระเทียมนั้นสลายตัวไป
- วิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในกระเทียมนั้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศที่ใช้ในการเพาะปลูกอีกด้วย
- สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ มีระดับความดันโลหิตเป็นปกติ ผู้ที่มีอาการของเลือดหยุดไหลช้า รวมไปถึงผู้ที่ใช้ยาอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบ ยาต้านไวรัส คุณไม่ควรรับประทานกระเทียมหรือผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริมในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เป็นโทษต่อร่างกายได้
- สำหรับผู้ที่ได้รับกลิ่นของกระเทียมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการแพ้กระเทียมเมื่อรับประทานได้ โดยอาจจะมีอาการคลื่นไส้ และมีอาหารหัวใจที่เต้นแรงผิดปกติ แต่อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ หายไปเองภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง ซึ่งกระเทียมที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารมักจะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่ากระเทียมแบบสด ๆ
- สำหรับผู้ที่อยู่ในครัวหรือผู้ต้องใช้มือสัมผัสกับกระเทียมเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ มีตุ่มน้ำได้ ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกระเทียมโดยตรงเป็นประจำด้วยการสวมถึงมือทุกครั้งในขณะที่จะใช้กระเทียม
- แม้ว่ากระเทียมจะเป็นพืชที่มีสรรพคุณอยู่มากมาย แต่คุณก็ไม่ควรที่จะเลือกใช้กระเทียมเพื่อหวังผลในการรักษาอาการหรือโรคใดโรคหนึ่ง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละบุคคลก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรเลือกรับประทานให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะพืชผักสมุนไพรทั่ว ๆ ไป ถ้าศึกษากันจริง ๆ แล้ว มันก็มีประโยชน์ไม่น้อยไปกว่ากันเลย
- ปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีการรับรองว่ากระเทียมนั้นจะสามารถรักษาโรคได้จริง คงเป็นได้เพียงแต่สมุนไพรทางเลือกในการรักษาและสมุนไพรเสริมสุขภาพเท่านั้น
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)