แฟรงกูล่า สรรพคุณของต้นแฟรงกูล่า ! (Alder Buckthorn)

แฟรงกูล่า

แฟรงกูล่า ชื่อสามัญ Alder Buckthorn, Buckthorn Bark[1]

แฟรงกูล่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Frangula alnus Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Rhamnus frangula L.) จัดอยู่ในวงศ์พุทรา (RHAMNACEAE)[1]

ลักษณะของแฟรงกูล่า

  • ต้นแฟรงกูล่า จัดเป็นพรรณไม้พุ่มที่แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบ ๆ ต้น ตามลำต้นไม่มีหนาม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เปลือกต้นใช้เป็นยา[1]

ต้นแฟรงกูล่า

รูปแฟรงกูล่า

  • ใบแฟรงกูล่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ กว้าง แผ่นใบเป็นสีเขียว[1]

ใบแฟรงกูล่า

  • ดอกแฟรงกูล่า ออกดอกรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ และจะออกเฉพาะทางด้านข้างเท่านั้น โดยกลุ่มหนึ่งจะมีดอกประมาณ 2-3 ดอก[1]

ดอกแฟรงกูล่า

  • ผลแฟรงกูล่า ผลมีทั้งเนื้อและน้ำ เมื่อแก่จะเป็นสีม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ด 2 เมล็ด[1]

ดอกแฟรงกูล่า

เมล็ดแฟรงกูล่า

สรรพคุณของแฟรงกูล่า

  1. เปลือกสดรับประทานเข้าไปจะทำให้อาเจียน (เปลือกต้นสด)[1]
  2. สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ให้นำเปลือกต้นที่แห้งแล้วและเก็บไว้อย่างน้อย 1 ปี ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ (เปลือกต้นแห้ง)[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของแฟรงกูล่า

  • สารสำคัญที่พบ ได้แก่ gluco-flangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside-8-gulcoside) และ frangulin (frangula-emodin-6-rhamnoside)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “แฟรงกูล่า”.  หน้า 588.

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by annemiel, L’herbier en photos, Xavier Béjar, Alain Maire, Michael Huf, Alain Maire)

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด