มารัง ประโยชน์ของมารัง ! (Marang)

มารัง

มารัง ภาษาอังกฤษ Marang หรือ Madang, Timadang, Tarap, Terap, Johey oak, Green pedalai, Breadfruit cousin มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artocarpus odoratissimus

มารัง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มาดัง ตีมาดัง ตารับ เตอรับ เปอดาไลเขียว เป็นต้น โดยจัดเป็นผลไม้พื้นเมืองที่นิยมมากของประเทศฟิลิปปินส์ตอนใต้ รวมไปถึงเกาะบอร์เนียว เกาะมินดาเนา เกาะปาลาวัน ซึ่งลักษณะของผลจะคล้ายกับ ขนุน จำปาดะ และสาเก

มารัง คือไม้ยืนต้นที่สามารถเจริญเติบโตหรือสูงได้ถึง 25 เมตร และจัดเป็นผลไม้ที่สามารถรับประทานได้ โดยลักษณะของผลมีสีเขียว แต่เมื่อสุกแล้วผลจะเป็นสีเหลือง เนื้อมีกลิ่นหอม เนื้อด้านในผลจะคล้ายกับขนุน แต่ยวงจะใหญ่กว่าและเนื้อมีสีขาว เมื่อแกะแล้วต้องรับประทานทันที เพราะหากปล่อยทิ้งไว้รสชาติจะเปลี่ยน ทำให้เสียรสชาติและจะเกิดสีดำเร็วมาก (ว่ากันว่าอร่อยกว่าขนุน และจำปาดะอีกด้วย ! ) นอกจากนี้เมล็ดมารังเพียงแค่นำไปต้มหรือนำไปอบก็สามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน (บ่องตง ! แอดมินไม่เคยเห็น)

ต้นมารัง

ผลมารัง

เนื้อมารัง

ประโยชน์ของมารัง

  • ผลไม้ชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่ดี มันจึงเป็นผลไม้ที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนออกกำลังกายหรือนักกีฬา และเนื่องจากผลไม้ชนิดนี้มีน้ำตาลสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานไม่แนะนำให้รับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของมารัง (เฉพาะส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม

  • น้ำ 65.7 – 84.2 กรัม
  • โปรตีน 0.8 – 1.47 กรัม
  • ไขมัน 0.2 – 0.3 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 32.4 กรัม
  • เส้นใย 0.6 – 0.77 กรัม
  • วิตามินซี 30 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 15 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม

*เมล็ดมารังจะมีโปรตีนสูงกว่าเมล็ดของผลไม้ชนิดอื่น ๆ

ข้อมูลจาก : Philippine Medicinal Plants

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN), www.stuartxchange.com

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด