กระเทียม สรรพคุณและประโยชน์ของกระเทียม 49 ข้อ !

กระเทียม

กระเทียม ชื่อสามัญ Garlic

กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ คือคำว่า Allium sativum L. จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง (AMARYLLIDACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย ALLIOIDEAE (ALLIACEAE)

สำหรับในประเทศไทยนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่สำหรับกระเทียมที่ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดี กลิ่นฉุนคงหนีไม่พ้นจังหวัดศรีสะเกษ

สรรพคุณของกระเทียม

  1. ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
  2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
  4. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
  5. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
  6. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
  7. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
  8. ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
  9. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
  10. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
  1. ช่วยต่อต้านเนื้องอก
  2. ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
  3. ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
  4. ช่วยในการขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
  5. ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
  6. สารสกัดน้ำมันกระเทียมมีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
  7. ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  8. มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
  9. ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
  10. ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
  11. ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและไซนัส
  12. ช่วยรักษาโรคไอกรน
  13. ช่วยแก้อาการหอบ หืด
  14. ช่วยรักษาโรคหลอดลม
  15. ช่วยระงับกลิ่นปากกระเทียม
  16. ช่วยในการขับเหงื่อ
  17. ช่วยในการขับเสมหะ
  18. ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
  19. ช่วยในการขับลม
  20. ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
  21. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  22. ช่วยรักษาโรคบิด
  23. ช่วยในการขับปัสสาวะ
  24. ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
  25. ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
  26. ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
  27. ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
  28. ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
  29. ช่วยกำจัดพิษจากสารตะกั่วกระเทียมสรรพคุณ
  30. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
  31. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
  32. บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
  33. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยาได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
  34. มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสซั่ม
  35. กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี
  36. ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร

ประโยชน์ของกระเทียม

  • ประโยชน์หลัก ๆ ของกระเทียมคงหนีไม่พ้นการนำมาใช้เพื่อช่วยปรุงรสชาติของอาหาร ไม่ว่าจะใช้ผัด แกง ทอด ยำ ต้มยำ หรือน้ำพริกต่าง ๆ อีกสารพัด
  • กระเทียมเป็นเครื่องสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด และยังเป็นพืชที่ธาตุซีลีเนียมสูงกว่าพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังมีสารอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิกที่เป็นตัวสร้าง DNA และ RNA ของเซลล์ในร่างกาย
  • นอกจากนี้ยังมีการนำกระเทียมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น กระเทียมเสริมอาหาร กระเทียมสกัดผง สารสกัดน้ำมันกระเทียม กระเทียมดอง เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมดิบ ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 149 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม
  • น้ำตาล 1 กรัม
  • เส้นใยอาหาร 2.1 กรัม
  • ไขมัน 0.5 กรัม
  • โปรตีน 6.36 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม 17%
  • วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม 12%
  • วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม 95%
  • วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม 1%
  • วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม 38%
  • ธาตุแคลเซียม 181 มิลลิกรัม 18%
  • ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุแมงกานีส 1.672 มิลลิกรัม 80%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม 22%
  • ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม 9%
  • ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (แหล่งที่มา : USDA Nutrient database)

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้กระเทียม

  • กระเทียมยิ่งสดเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสรรพคุณที่ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่สำหรับกระเทียมที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการต่าง ๆ หรือผ่านการหมักดอง จะทำให้วิตามินและสารอัลลิซินที่มีอยู่ในกระเทียมนั้นสลายตัวไป
  • วิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในกระเทียมนั้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศที่ใช้ในการเพาะปลูกอีกด้วย
  • สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ มีระดับความดันโลหิตเป็นปกติ ผู้ที่มีอาการของเลือดหยุดไหลช้า รวมไปถึงผู้ที่ใช้ยาอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบ ยาต้านไวรัส คุณไม่ควรรับประทานกระเทียมหรือผลิตภัณฑ์กระเทียมเสริมในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เป็นโทษต่อร่างกายได้
  • สำหรับผู้ที่ได้รับกลิ่นของกระเทียมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดอาการแพ้กระเทียมเมื่อรับประทานได้ โดยอาจจะมีอาการคลื่นไส้ และมีอาหารหัวใจที่เต้นแรงผิดปกติ แต่อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ หายไปเองภายในเวลา 3-4 ชั่วโมง ซึ่งกระเทียมที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารมักจะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่ากระเทียมแบบสด ๆ
  • สำหรับผู้ที่อยู่ในครัวหรือผู้ต้องใช้มือสัมผัสกับกระเทียมเป็นประจำและเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ มีตุ่มน้ำได้ ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกระเทียมโดยตรงเป็นประจำด้วยการสวมถึงมือทุกครั้งในขณะที่จะใช้กระเทียม
  • แม้ว่ากระเทียมจะเป็นพืชที่มีสรรพคุณอยู่มากมาย แต่คุณก็ไม่ควรที่จะเลือกใช้กระเทียมเพื่อหวังผลในการรักษาอาการหรือโรคใดโรคหนึ่ง อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละบุคคลก็อาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรเลือกรับประทานให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะพืชผักสมุนไพรทั่ว ๆ ไป ถ้าศึกษากันจริง ๆ แล้ว มันก็มีประโยชน์ไม่น้อยไปกว่ากันเลย
  • ปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีการรับรองว่ากระเทียมนั้นจะสามารถรักษาโรคได้จริง คงเป็นได้เพียงแต่สมุนไพรทางเลือกในการรักษาและสมุนไพรเสริมสุขภาพเท่านั้น

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด